การศึกษาศิลปะภาพพิมพ์เทคนิคเพลทแม่พิมพ์เจลลาตินด้วยการใช้สีธรรมชาติ ในท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

Main Article Content

ชญตว์ อินทร์ชา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นกระบวนการค้นพบเทคนิคภาพพิมพ์ ที่พิมพ์ด้วยมือหรือจากน้ำหนักมือ จากการค้นหาเทคนิคลักษณะเฉพาะที่เกิดขึ้นในต่างประเทศและได้ถูกนำมาปรับปรุงให้เกิดความงามทางด้านสุนทรียศาสตร์ที่เหมาะสมกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จากประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ศิลปะภาพพิมพ์เทคนิคแท่นพิมพ์เจลลาติน ด้วยผลปรากฏที่พบนั้นความพิเศษของละเอียดชิ้นงานภาพพิมพ์ มีผลปรากกฎอันเป็นที่น่าประทับใจเปรียบเสมือนเทคนิคที่ใช้แท่นพิมพ์ หรือ การพิมพ์ที่ผ่านกระบวนการกดทับน้ำหนักด้วยเครื่องทุ่นแรง ซึ่งผลจากการพิมพ์มือหรือการใช้น้ำหนักด้วยการกดทับจากแรงข้อมือด้วยกรรมวิธีนี้นั้น มีเอกลักษณ์ความงามของวัสดุที่ชัดเจนจากความพิเศษ รวบรวมเก็บเป็นข้อมูลการใช้วัสดุแสดงให้เห็นถึงทัศนธาตุเรื่องเส้นรูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก พื้นผิว ด้วยลวดลายจากแม่พิมพ์นั้น ๆ ซึ่งเกิดความงามในลักษณะเฉพาะของใบไม้ที่ถูกนำมาทำเป็นแม่พิมพ์ รวมถึงสีจากธรรมชาติที่ใช้ในกระบวนพิมพ์ ผลิตและสร้างสรรค์เป็นชิ้นงานจนเกิดเป็น นิทรรศการ พิ:พิมพ์ การศึกษาเทคนิคภาพพิมพ์ชิ้นเดียวโดยใช้แท่นพิมพ์เจลลาตินด้วยสีและวัสดุธรรมจากชาติ และในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้บันทึกเรื่องราวของกระบวนการรวมทั้งเก็บเกี่ยวข้อมูลการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ตลอดจนประกอบเป็นผลงานสร้างสรรค์ มีความท้าทายในเรื่องการใช้สีจากธรรมชาติจากการใช้วัสดุที่นำมาทำเป็นแม่พิมพ์ และทุกครั้งที่ได้ทดลองสร้างสรรค์ โดยสรุปผลการสร้างสรรค์ด้วยการนำองค์ความรู้เผยแพร่สู่สาธารณะทั้งในและนอกสถานที่ จนเกิดเป็นกิจกรรมที่บุคคลทั่วไปสามารถเรียนรู้วิธีการสร้างสรรค์ได้ตามช่วงวัยอย่างมีความสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล คงทอง. (2543). ศิลปะภาพพิมพ์ในประเทศ. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
Kongthong, K. (2000). Graphic Arts in Thailand. Bangkok: O.S. Printing House. (in Thai).

ชญตว์ อินทร์ชา. (2559). สูจิบัตรนิทรรศการ พิ:พิมพ์. จังหวัดสกลนคร: [ม.ป.พ.].
Inchar, C. (2016). Program of Exhibition.Phi-Phim. Sakon Nakhon Province: [n.p.]. (in Thai).

ชญตว์ อินทร์ชา. (2561). การศึกษาศิลปะภาพพิมพ์เทคนิคเพลทแม่พิมพ์เจลลาตินด้วยการใช้สีธรรมชาติในท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. โครงการวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
Inchar, C. (2561). The study of mono print techniques in printmaking with gelatin plates by using local material and natural colors from plants. Research project, Faculty of Education, Roi-Et Rajabhat University. (in Thai).

สถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2561). เจลาตินคืออะไร นำมาใช้อะไรได้บ้าง. สืบค้นเมื่อ 31 พ.ค. 2561, จาก http://www.halinst.psu.ac.th/th/knowledge-th/knowhalal-th/170-2011-08-29-05-11-27.html
Halal Institute-PSU. (2018). What is gelatin What can be used. Retrieved 31 May 2018, from http://www.halinst.psu.ac.th/th/knowledge-th/knowhalal- th/170-2011-08-29-05-11-27.html. (in Thai).

อัศนีย์ ชูอรุณ. (2519). ทฤษฏีศิลปะภาพพิมพ์. กรุงเทพฯ: ชุติมาการพิมพ์.
Choo-arun, U. (1976). Graphic Art Theory. Bangkok: Chutima Printing. (in Thai).

อัศนีย์ ชูอรุณ. (2524). ความเข้าใจศิลปะภาพพิมพ์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
Choo-arun, U. (1981). Knowledge of graphic arts. Bangkok: Graphic Arts. (in Thai).

Caves, J. (2016). Gelatin plate printing with schmincke aqua linoprint colours. Retrieved May 31, 2018, from www.jacksonsart.com.

Gelli Arts. (2018). Make your Mark on Fabric. Retrieved May 31, 2018, from https://www.gelliarts.com/products/gelli-arts-card-printing-kit.