ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการใช้ประโยชน์และการมีส่วนร่วมในจัดการป่าชุมชน ของประชาชนบ้านเม็กใหม่พัฒนา ตำบลหนองเม็ก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน 2) ระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน และ 3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการป่าชุมชนของประชาชนบ้านเม็กใหม่พัฒนา ตำบลหนองเม็ก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม วิธีดำเนินการวิจัยแบ่ง 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนและระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนของประชาชนบ้านเม็กใหม่พัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านเม็กใหม่พัฒนา จำนวน 50 ครัวเรือน ได้มาโดยการคำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และระยะที่ 2 ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการป่าชุมชนของประชาชนบ้านเม็กใหม่พัฒนา กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้นำชุมชน คณะกรรมการป่าชุมชน และตัวแทนครัวเรือนในชุมชนบ้านเม็กใหม่พัฒนา จำนวน 25 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เป็นการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกต แล้วนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการ วิจัยพบว่า ประชาชนทั้งหมดเคยไปใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน โดยประโยชน์หลัก คือ เป็นแหล่งอาหารโดยเฉพาะเห็ด ส่วนระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนบ้านเม็กใหม่พัฒนา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน ด้านการอนุรักษ์ป่าชุมชน ด้านการพัฒนาป่าชุมชน และด้านการฟื้นฟูป่าชุมชน ตามลำดับ และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการป่าชุมชนของประชาชนบ้านเม็กใหม่พัฒนา ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรม (การบวชป่า การสืบชะตาป่า) การเก็บเห็ด การเก็บไม้ การเก็บพืชสมุนไพร การเข้าหาของป่า และความเชื่อเรื่องป่ามีเจ้าป่า ผี เทวดา ที่ช่วยดูแลรักษาป่าชุมชน
Article Details
References
กรมป่าไม้. (2560). ข้อมูลสารสนเทศกรมป่าไม้. กรุงเทพฯ: กรมป่าไม้.
Royal Forest Department. (2017). Data Information Forest. Bangkok: Royal Forest Department. (in Thai)
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
Srisa-ard, B. (2013). Basic Research. Bangkok: Suweeriyasan Publishing. (in Thai)
พหล ศักดิ์คะทัศน์ และ สุรชัย กังวล. (2556). การคุกคามป่าชุมชนจากมนุษย์และแนวทาง การใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนอย่างยั่งยืน บ้านทุ่งยาว อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Sakkatat, P., & Kungwon, S. (2013). Community Forest Threat from Human and It’s Sustainble Use: Case Study of Ban Tung Yao, Amphoe Doi Saket, Chiang Mai. Chiang Mai: Maejo University. (in Thai)
ยุทธชัย มากผล. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนบ้านเพหลาใต้ ตำบลเพหลา อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่. (วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
Makphon, Y. (2016). People’s Participation in Ban Pha La Tai Community Forest Management, Phe La Sub – district, Klong Thom District, Krabi Province. (Master’s thesis, Sukhothai Thammathirat Open University). (in Thai)
ศูนย์ป่าไม้มหาสารคาม. (2552). เครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: ป่าชุมชนมหาสารคาม.
Maha Sarakham Forest Office. (2009). Community Forest at Maha Sarakham Network. Maha Sarakham: Community Forest at Maha Sarakham. (in Thai)
สุชาติ บุรีรัตน์. (2555). ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการป่าชุมชนบ้านหนองหัวคน ตำบลหนองหมื่นถ่าน อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
Burirut, S. (2012). A Study of Knowledge in Management of the Community Forest in Ban Nong Hua Khon, Tambom Nong Muen Than A: Samat District, Roi Et. (Doctoral dissertation, Maha Sarakham University). (in Thai)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2564). กรุงเทพ ฯ: สำนักนายก รัฐมนตรี.
Office of the National Economics and Social Development Council. (2016). The Twelve National Economic and Social Development Plan (2017 - 2021). Bangkok: The Prime Minister’s Office. (in Thai)