ฟุตบอลแฟนคลับ: ศึกษากรณี สโมสรฟุตบอลอุดรธานี เอฟซี

Main Article Content

วิรดี เอกรณรงค์ชัย
ปุณรัตน์ พิพิธกุล
กรีฑา พรหมเทพ
จักริน ด้วงคำ
ชัยยุทธ สุทธิดี
วันวิสา ป้อมประสิทธิ์
อภิศิษฏ์ เสน่ห์วงศ์
สหรัฐฯ ศรีพุทธา

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมกับการเข้าเป็นสมาชิกแฟนคลับสโมสรฟุตบอลอุดรธานี เอฟซี ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มคนที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรง มีขอบเขตการวิจัยโดยใช้วิธีการศึกษาผ่านการติดตามและสังเกตปรากฏการณ์จากสนามของสโมสรฟุตบอลอุดรธานี เอฟซี สำหรับการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี ได้แก่ กลุ่มฟุตบอลแฟนคลับของสโมสรฟุตบอลอุดรธานี เอฟซี ที่เป็นปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมและจำเป็นต้องค้นหาข้อมูลพื้นฐานในหลายลักษณะเกี่ยวกับสโมสรฟุตบอลอุดรธานี เอฟซี ข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบการศึกษามี 2 ส่วน คือ 1) การศึกษาเอกสาร เพื่อค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งข้อมูลเชิงปฐมภูมิและข้อมูลเชิงทุติยภูมิ และ 
2) การศึกษาเชิงคุณภาพภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์บุคคล 


ผู้วิจัยเลือกผู้ให้สัมภาษณ์ที่สามารถให้ข้อมูลด้านประโยชน์กับการวิจัยมากที่สุด 
จากสมาชิกกลุ่มฟุตบอลแฟนคลับสโมสรฟุตบอลอุดรธานี เอฟซี และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการศึกษา โดยวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลเชิงคุณภาพจากข้อมูลภาคสนามร่วมการวิเคราะห์สนับสนุน  


ผลการวิจัยในประเด็นปัจจัยที่ส่งเสริมการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มฟุตบอลแฟนคลับ พบว่า บุคคลที่เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มฟุตบอลแฟนคลับสโมสรอุดรธานี เอฟซี มีภูมิหลังของความชื่นชอบกีฬาฟุตบอลเป็นสำคัญ แต่จะมีความแตกต่างในประเด็นของช่วงเวลา ลักษณะความสนใจของการติดตามฟุตบอลไทยฟุตบอลต่างประเทศ โดยมีปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ 1) การติดตามฟุตบอลต่างประเทศมาก่อน กล่าวคือ ผู้ชมกีฬาฟุตบอลในสังคมไทยมีความนิยมในฟุตบอลต่างประเทศ และรับเอาวัฒนธรรมการเชียร์กีฬามาเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง 2) สโมสรฟุตบอลมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถหารายได้ด้วยตัวเอง รวมถึงการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ให้กับกองเชียร์ การจัดกิจกรรมที่นอกเหนือจากฟุตบอล จนสามารถเกิดกลุ่มฟุตบอลแฟนคลับที่ให้การสนับสนุนการแข่งขันของสโมสร 
3) ความชื่นชอบในท้องถิ่นนิยม ประกอบด้วย การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของไทยได้ขยายพื้นที่ออกสู่ภูมิภาคมากขึ้น ทำให้ความตื่นตัวทั้งจากลีกสูงสุด (ไทยพรีเมียร์ลีก) ส่งผลให้คนในท้องถิ่นหรือชุมชนย่านใกล้เคียงกับที่ตั้งสนามแข่งขันได้รวมตัวกันเพื่อเป็นกำลังใจให้กับสโมสรฟุตบอลนั้น ๆ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติวงค์ สาสวด และ ประสาน นันทะเสน. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการฟุตบอลอาชีพเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัย, 13(1), 54-67.

Sasuad, K., & Nuntasen, P. (2019). A model development of professional football management aiming for tourism promotion in Thailand. NRRU Community Research Journal, 13(1), 54-67. (in Thai).

ไทยพับลิก้า. (2561). ฟุตบอลโลก “เจ้าภาพ-FIFA” ใครได้-ใครเสีย. สืบค้นจาก https:// thaipublica.org/2018/06/world-cup-2018-fifa-russia-economic-impact

ThaiPublica. (2018). World Cup "Hosts-FIFA" Who Gets-Who Loses. Retrieved from https://thaipublica.org/2018/06/world-cup-2018-fifa-russia-economic-impact (in Thai).

นภดล ร่มโพธิ์. (2556). ประเด็นด้านการบริหารการปฏิบัติการกับฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 36(139), 8-11.

Rompho, N. (2013). Administrative issues with professional football in Thailand. Journal of Business Administration Thammasat University, 36(139), 8-11. (in Thai).

ปิยะ ลิ้มปิยารักษ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าชมฟุตบอลลีกของสโมสรที่มีการแข่งขันในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Limpiyarak, P. (2015). Factors of Thai football league attendance associated with the football clubs which their stadium located in Bangkok and its suburb. Independent study in Business Administration, Faculty of Commerce and Accountancy, Thammasat University. (in Thai).

รัฐชาติ ทัศนัย. (2559). บทบาทของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ดในการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 77-86.

Tasanai, R. (2016). The roles of Burirum united football club in developing Burirum province. VRU Research and Development Journal, 11(3), 77-86. (in Thai).

วิชิต อู่อ้น. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

U-on, V. (2007). Data analysis in qualitative research. 9th ed. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai).

สายชล ปัญญชิต และ ปรีชา คุวินทร์พันธุ์. (2554). บนเส้นทางของการเป็นฟุตบอลแฟนคลับ: ศึกษากรณีสโมสรเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2), 73-83.

Panyachit, S., & Kuwinpant, P. (2011). On the Way to be a Football Fanclub: A Case Study of MuangThong Nongjorg United. Journal of Social Sciences Srinakharinwirot University, 14(2), 73-83. (in Thai).

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. ฉบับที่ 6 (ตุลาคม-ธันวาคม). กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

Office of the Permanent Secretary for Tourism and Sports. (2016). Tourism Economic Review No.6 (October-December). Bangkok: n.p. (in Thai).

สิทธิ วงศ์ทองคำ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสโมสรฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(99), 160-173.

Vongthongkum, S. (2017). Contributing factors tothe success of football clubs in the Thai league. SUTHIPARITHAT Journal, 31(99), 160-173. (in Thai).

สิทธิโชค แก้วขาว. (2555). ความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเชียร์ฟุตบอลสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส เอฟซี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.

Kaewkhow, S. (2012). The Satisfaction Toward Combination of Market Mix Which Influences the Decision to Support Bangkok Glass FC. Master Thesis in Business Administration, Siam University. (in Thai).

Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning, implementation and control. 9th ed. New Jersey: A simon & Schuster.