“ข้าวหลามหนองมน” องค์ความรู้ ภูมิปัญญา และรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นไทยอย่างยั่งยืน

Main Article Content

อัศวลักษ์ ราชพลสิทธิ์
วันชัย ธรรมสัจการ
ปรีดี โชติช่วง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รูปแบบการจัดการองค์ความรู้ และวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นภายหลังการจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำข้าวหลามของชาวบ้านชุมชนหนองมน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี วิธีการศึกษาใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 คน ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ประกอบการข้าวหลาม และผู้นำชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่า การทำข้าวหลามของชาวบ้านชุมชนหนองมน มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมการกินของ 2 กลุ่มชาติพันธุ์ ระหว่างชาวไทยพื้นเมืองและชาวจีนที่เป็นตัวกำหนดสูตรข้าวหลาม ซึ่งจะใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ 
9 อย่าง ส่วนผสม 5 ชนิด ซึ่งมีสูตรในการทำที่ใกล้เคียงกัน มีวิธีการ ขั้นตอน 3 ขั้นตอน คือ
1) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ 2) การผสมวัตถุดิบ และ 3) การเผา โดยจะมีกระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาผ่านวิธีการ 1) การบอกเล่า 2) การสาธิต 3) การปฏิบัติจริง ซึ่งชุมชนจะมีรูปแบบการจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำข้าวหลามจนสามารถสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างอาชีพ สร้างรายได้ จนนำไปสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นไทยได้อย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนัญชิดา มากทรัพย์. (2556). การรีแบรนด์ร้านข้าวหลามแม่นิยม. จุลนิพนธ์หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Makchap, C. (2013). Rebranding for “Kaowlam Mae Niyom”. Thesis Bachelor of Arts Program in Communication Arts, Silpakorn University. (in Thai).

ชัยยศ ปานเพชร. (2559). ข้าวหลามหนองมน. PULINET Journal, 3(3), 70-76.

Parnpad, C. (2016). Bamboo Rice Nongmon. PULINET Journal, 3(3), 70-76. (in Thai).

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2554). ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ:วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.

Chauybumrung, T. (2011). Wisdom for the Creative Local Development. Bangkok: College of Local Administration Development King Prajadhipok's Institute. (in Thai).

นรินทร์ เจริญพันธ์ และ สุธี วังเตือย. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหลามเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตผลเกษตรท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม, 12(1), 48-58.

Charoenphun, N. & Wangtueai, S. (2017). Development of Sticky Rice in Bamboo for Value-added Local Agricultural Product of Sakaeo Province. Journal of Food Technology, Siam University, 12(1), 48-58. (in Thai).

ประเวศ วะสี. (2534). การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

Wasi, P. (1991). Thai Wisdom Creation for Development. Bangkok: Office of the National Culture Commission. (in Thai).

พระธรรมปิฎก. (2549). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

PraDhampidok, P. (2006). Sustainable Development. 10th ed. Bangkok: Komol Kiamthong Foundation. (in Thai).

มูลนิธิภูมิปัญญา. (2536). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท เล่ม 2. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ.

Wisdom Foundation. (1993). Folk Wisdom and Rural Development, Volume 2. Bangkok: Amarin Printing Group. (in Thai).

เสรี พงศ์พิศ. (2533). ภูมิปัญญาชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

Phongpis, S. (1990). Folk wisdom. Bangkok: Office of Cultural Affairs National. (in Thai).

สุมาลี สังข์ศรี. (2550). ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 2(3), 99-100.

Sangsri, S. (2007). Local wisdom and the creation of a learning society. STOU Education Journal, 2(3), 99-100. (in Thai).

อนันตชัย ยูรประถม, จรัสวรรณ กิตติสุนทรากุล, วิชญ์พล บัญชาวชิระชัย และ เสาวพร วิทยะถาวร (2557). ไขความหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

Yoonprathomcharatwan, A., Kittisuntharakun, J., banchawachirachai., V., & Wittavorn, S. (2014). Explore the meaning of sustainable development. Bangkok: Social Responsibility Development Center The Stock Exchange of Thailand. (in Thai).

อัจฉรีย์ มาลีหวล, ฉัตรกมล อินทยุง และ อรวรรณ มิถุนดี. (2553). การศึกษาและพัฒนาการแปรรูปเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มแม่บ้าน บ้านท่าศิลา อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์: ศึกษากรณีการทำข้าวหลาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 16(1), 21-29.

Malihuon, A., Intayung, C., & Mithundee, A. (2010). Local Wisdom in Education and Development in Organic Farm Products of Housewives’ Group, Ban Thasila, Amphur Thatum, Surin: Case study. Humanity and Social Science Journal Kamphaengphet Rajabhat University, 16(1), 21-29. (in Thai).

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2540). ภูมิปัญญาชาวบ้านสี่ภูมิภาค: วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านไทย. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Nathalang, E., (1997). Folk Wisdom of Four Regions: Way of Life and Learning Process. Of Thai villagers. Nonthaburi: Printing press, Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai).

อำพิกา สวัสดิ์วงศ์. (2558). ถนนสุขุมวิทกับการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทย ช่วงทศวรรษ 2480-2520. วารสารประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์, 2(1), 12-63.

Sawatwong, A. (2015). Sukhumvit Road and the expansion of economic activity in Eastern region of Thailand during the decade 1937-1977. Thammasat History Journal, 2(1), 12-63. (in Thai).

Brundage, D. H., & MacKeracher, D. (1980). Adult Learning Principles and Their Application to Program Planning. Toronto: Ontario Ministry of Education.

Creswell, J. W. (2003). Research design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches. Thousand Oaks: SAGE.

Dalkir, K. (2005). Knowledge Management in Theory and Practice. Burlington, MA: Elsevier Butterworth-Heinemann.

Keyser, R. L. (2004). Assessing the Relationship Between Knowledge Management and Plant Performance at the Tennessee Valley Authority. Ph.D. dissertation, The University of Alabama.

Laudon, K. C., & Laudon, J. P. (2002). Management Information Systems: Managing the Digital Firm. 7th ed. Upper Saddle River, N.J: Prentice Hall.

Mertins, K., Heisig, P., & Vorbeck, J. (2003). Knowledge Management: Concepts and Best Practices. 2nd ed. New York: Springer.

Tashakkori, A., & Teddlie, C. (1998). Mixed Methodology: Combining Qualitative and Quantitative Approaches. Thousand Oak, London: SAGE.

Tiwana, A. (2003). The Knowledge Management Toolkit: Practical Techniques for Building a Knowledge Management System. Atlanta: Prentice Hall.