การจัดเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บ้านหนองกระดูกเนื้อ ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบททั่วไป และแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชน เพื่อนำไปสู่การจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนบ้านหนองกระดูกเนื้อ ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์และการบันทึกภาคสนาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เลือกแบบเจาะจง โดยเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวในชุมชน จำนวน 39 คน ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนบ้านหนองกระดูกเนื้อเป็นชุมชนชาวชาติพันธุ์ลาวครั่งที่มีระบบการจัดการท่องเที่ยวในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนในชุมชนมีความพยายามเก็บรักษาและเผยแพร่วัฒนธรรมให้คงอยู่ผ่านการท่องเที่ยวในชุมชน จึงก่อให้เกิดการจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนขึ้นเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชนให้เป็นมาตรฐานในการจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชนต่อไป
Article Details
References
ธีระ สินเดชารักษ์ และ นาฬิกอติภัค แสงสนิท. (2563). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: การรับรู้ของ นักท่องเที่ยว ความพร้อมของเจ้าของกิจกรรม และความเป็นไปได้ของการท่องเที่ยวเชิง สร้างสรรค์ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2563, จาก http://www.dasta.or.th/th/theory/1615-การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์-การรับรู้ของนักท่องเที่ยว-html.
ปิรันธ์ ชิณโชติ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(1), 250–268.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. (2563). องค์ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism). สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2563, จากhttp://www.dasta.or.th/creativetourism/attachments/article/112/20 _9271.pdf
วิภวานี เผือกบัวขาว. (2561). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี, 7(พิเศษ), 47–60.
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว. (2562). ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานตำบลหนองนมวัวปี 2562. เอกสารประกอบการประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว, นครสวรรค์.
Richards, G. & Raymond, C. (2000a). Cultural tourism: challenges for management and marketing. In Gartner, W. and Lime, D. (eds) Trends 2000. CAB International, Wallingford pp. 187-195.
Wurzburger, R. (2010). Introduction to the Santa Fe & UNESCO International Conference. A Global Conversation on Best Practices and New Opportunities. In Creative Tourism A Global Conversation how to provide unique creative experiences for travelers worldwide: at present at the 2008 Santa Fe & UNESCO International Conference on Creative Tourism in Santa Fe, (pp. 15–25). New Mexico: USA.