การสร้างตลาดออนไลน์เกษตรกรนาเกลือและนาข้าวเพื่อยกระดับมูลค่า และคุณค่าผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ “วิถีวิธีบ้านดุง”

Main Article Content

อเสข ขันธวิชัย

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยการสร้างตลาดออนไลน์เกษตรกรนาเกลือและนาข้าวเพื่อยกระดับมูลค่าและคุณค่าผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ “วิถีวิธีบ้านดุง” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตลาดออนไลน์ในรูปแบบเว็บไซต์ สำหรับรองรับสินค้าและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของเกษตรกรนาเกลือและนาข้าว อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ที่มีประสิทธิภาพ “ขายได้ ซื้อดี และยั่งยืน” และขยายผลไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ต่อไป 


ทีมวิจัยดำเนินการสร้างเครือข่ายของผู้ขายสินค้า กลุ่มผลิตภัณฑ์ OTOP และ SMEs จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 โหนด ผลการวิเคราะห์หาค่าความเป็นศูนย์กลางของเครือข่าย พบว่า A1 เป็นโหนดที่มีอิทธิพลมากที่สุดในเครือข่าย ซึ่ง A1 แทน นายวิรัตน์ ชีพจำเป็น เจ้าของสวนกำนันพันล้าน และเป็นกำนันตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานีด้วย ทำให้สามารถสรุปออกมาได้ว่า นายวิรัตน์ ชีพจำเป็น เป็นผู้ขายสินค้าและบริการที่ได้รับความไว้ใจและการแนะนำบอกต่อมากที่สุดในเครือข่ายความไว้ใจของผู้ ขายสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ OTOP และ SMEs ในพื้นที่อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี นำผลการวิเคราะห์นี้ไปใช้ในการสร้างเครือข่ายตลาดออนไลน์ “บ้านดุงแบรนด์” ให้มีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


เว็บไซต์ตลาดออนไลน์ “บ้านดุงแบรนด์” มี 2 ส่วนประกอบหลัก ได้แก่ ระบบจัดการเว็บไซต์ และส่วนติดต่อผู้ใช้ ซึ่งผลการประเมินความพึงพอใจได้ข้อสรุปว่าว่า ระบบจัดการเว็บไซต์ที่สำรวจความพึงพอใจจากกลุ่มผู้ขายสินค้าและบริการ จำนวน 30 คน พบว่า การบริหารจัดการร้านค้ามีความง่ายและสะดวกในการใช้งาน (4.32) อยู่ในระดับพึงพอใจมาก เว็บไซต์มีการจัดการการแจ้งเตือนและการจัดส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ (4.48) อยู่ในระดับพึงพอใจมาก และระบบหลังบ้านใช้งานง่ายและมีความปลอดภัยสูง (4.00) อยู่ในระดับพึงพอใจมาก จึงสรุปว่าความพึงพอใจโดยเฉลี่ยของระบบจัดการเว็บไซต์เท่ากับ 4.27 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ส่วนติดต่อผู้ใช้ สำรวจความความพึงพอใจจากกลุ่มผู้ขายสินค้าและบริการ จำนวน 30 คน พบว่า ด้านเนื้อหา มีคะแนนเฉลี่ย 4.34 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก และด้านการออกแบบ มีคะแนนเฉลี่ย 4.43 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก นอกจากนี้ยังสำรวจความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บไซต์จากผู้ซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ จำนวน 50 คน พบว่า ด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ด้านการใช้งานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก และในด้านการออกแบบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีรินทร์ เกตุวิชิต, บุญฑวรรณ วิงวอน และ จงกลบดินทร์ แสงอาสภวิริยะ. (2561). ปัจจัยของผู้ประกอบการ การสนับสนุนของภาครัฐ ประสิทธิผลการบริหารจัดการระบบ และการแข่งขันที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(1), 151-159.

รัฐสุดา สกลกิจติณภากุล และ พีรภาว์ ทวีสุข. (2560). การวิเคราะห์ปัจจัยของการตลาดด้วยเนื้อหาที่มีผลต่อความไว้วางใจของกลุ่มผู้ซื้อเสื้อผ้าในธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(1), 1-12.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2561). อำเภอบ้านดุง. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2561, จากhttps://th.wikipedia.org/ wiki/อำเภอบ้านดุง

สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 จังหวัดขอนแก่น. (2559). ชาวนาเกลือ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี เตรียมเปลี่ยนอาชีพพลิกผืนนาเลี้ยงปลากะพงขาย หลังมีผู้เลี้ยงปลาในพื้นที่น้ำกร่อยจนประสบผลสำเร็จ. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2559, จาก https://ewt.prd .go.th/ ewt/region1/ewt_news.php?nid=46133&filename=index_kk

Lin, X., Shang, T., & Liu, J. (2014). An Estimation Method for Relationship Strength in Weighted Social Network Graphs. Journal of Computer and Communications, 2(4), 82-89.

Mospichit. (2016). What Is The Difference Between Front-End And Back-End Development?. Retrieved March 24, 2021, from https://blog.sogood web.com/Article/Detail/54053