นาฏยประดิษฐ์ ชุด มัทรีทรงเครื่อง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนาฏยประดิษฐ์ ชุด มัทรีทรงเครื่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์และออกแบบการแสดงนาฏศิลป์ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีนาฏยประดิษฐ์ร่วมกับการปฏิบัติการ นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ แล้วนำมาสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า นาฏยประดิษฐ์ ชุด มัทรีทรงเครื่อง ประกอบไปด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวความคิด 2) นักแสดง 3) การประพันธ์บทร้องและบรรจุเพลง 4) การออกแบบกระบวนท่ารำ 5) การออกแบบเครื่องแต่งกาย 6) การออกแบบการใช้พื้นที่เวทีการแสดง 7) อุปกรณ์ประกอบการแสดงและการจัดวางบนเวที การแสดงชุดนี้ สะท้อนรูปแบบของนาฏยประดิษฐ์ลงสรงทรงเครื่องที่มีมาแต่โบราณ โดยผลจากการวิจัยเชิงสร้างสรรค์นี้ได้นำมาซึ่งนาฏยประดิษฐ์ ชุด มัทรีทรงเครื่อง อันจะเป็นการแสดงชุดหนึ่งที่สามารถนำไปต่อยอดในการสอบมาตรฐานศิลปินต่อไป
Article Details
References
Kongthaworn, K. (2015). “Choreography Long Song Thon Suranagong: Royal Conservative Dance Traditions”. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, Year 7, No. 3 (July - December 2015): 32.
ชมนาด กิจขันธ์. (2547). นาฏยลักษณ์ตัวพระละครแบบหลวง. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต นาฏยศิลป์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kitkhan, C. (2004). Traditional dance Male characters in royal style. Doctor of Arts Thesis Thai Dance, Chulalongkorn University. (In Thai).
นิธิอร พรอำไพรสกุล. (2557). จาก "ชาดก" สู่ "เพลง" : การรับรู้ความหมายและบทบาทของสื่อเวชสันดรชาดกในสังคมไทยร่วมสมัย. วารสารไทยศึกษา, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ - กรกฎาคม 2557): 55.
Pornamphairasakul, N. (2014). From “Jataka” to “Songs”: The Semantic Perception and the roles of media in Thai society. Thai Studies Journal, Vol.10 No. 1 (February-July 2014): 55.
ปิยวดี มากพา. (2547). เชิดฉิ่ง: การรำชุดมาตรฐานตัวพระในละครใน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต นาฏยศิลป์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Makpha, P. (2004). Cherdching: The standard Male characters dance in royal drama style. Master of Arts Thesis Thai Dance, Chulalongkorn University.
เปรมใจ เพ็งสุข. (2563). “การสร้างสรรค์การแสดง ชุด รำกินรีทรงเครื่อง”. ศิลปกรรมสาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2563): 71.
Phengsuk, P. (2020). "Creation of the Kinnaree IX Dance Costume". Faculty of Fine and Applied Arts Journal Thammasat University, Year 13, Issue 1 (January - June 2020): 71.
ผุสดี หลิมสกุล. (2549). รำเดี่ยวแบบมาตรฐานตัวนาง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Limsakul, P. (2006). A standard solo female characters dance. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
พัชรินทร์ สันติอัชวรรณ. (2561). “หลักนาฏยประดิษฐ์ไทยจากศิลปินต้นแบบตัวนางสู่นวัตกรรมการสร้างสรรค์รำเดี่ยวมาตรฐาน”. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2561): 83.
Santi Ashwan, P. (2018). "The principles of Thai dance invention from the female model artist to the innovative creation of standard solo dances". Journal of Fine and Applied Arts Chulalongkorn University, Year 5, Issue 2 (July - December 2018): 83.
พระสุกรี ยโสธโร และคณะ. (2563). “การศึกษาวิเคราะห์จริยธรรมของตัวละครในวรรณกรรมพระเวสสันดรชาดก”. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น, ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2563): 1.
Yasotharo, P. et al. (2020). “A study of ethical analysis of characters in Phra Vessantara Chataka literature”. Journal of Pimontham Research Institute Mahachulalongkornrajavidyalaya University Khon Kaen Campus, Year 7, Issue 1 (January - June 2020): 1.
ไพฑูรย์ เข้มแข็ง. (2537). จารีตการฝึกหัดและการแสดงโขนของพระราม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต นาฏยศิลป์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Khemkhang, P. (1994). Rama's tradition, practice and dance performance. Master of Arts Thesis Thai Dance, Chulalongkorn University.