การรับรู้ภาวะสุขภาพและความเครียด ที่พยากรณ์การจัดการความเครียด ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เครือมาศ ชาวไร่เงิน
เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์
ชนัดดา เพ็ชรประยูร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ภาวะสุขภาพ ความเครียด และการจัดการความเครียดของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพ ความเครียด และการจัดการความเครียด 3) สร้างสมการพยากรณ์การจัดการความเครียด ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครที่สอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตหนองแขม จำนวน 221 คน แบบสอบถามที่ใช้ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพแบบสอบถามความเครียด และแบบสอบถามการจัดการความเครียด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ


ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้ภาวะสุขภาพมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ความเครียดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ และการจัดการความเครียดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง 2) การรับรู้ภาวะสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.611) ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางลบกับการจัดการความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= -.204) และการรับรู้ภาวะสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 (r= -.197) 3) การรับรู้ภาวะสุขภาพและความเครียดสามารถร่วมกันพยากรณ์การจัดการความเครียดได้ร้อยละ 38.1 เขียนสมการในรูปแบบคะแนนมาตรฐานได้แก่การจัดการความเครียด = .611 (การรับรู้ภาวะสุขภาพ) - .204 (ความเครียด) 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2548). คู่มือคลายความเครียดด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

Department of Mental Health. (2005). Self-relieving stress guide. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand. (in Thai).

กรมสุขภาพจิต. (2564). สลดปี 63 ตัวเลขคนไทยฆ่าตัวตายสูงลิ่ว กรมสุขภาพจิตแนะสำรวจตนเอง. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2564, จาก https://www.dmh.go.th/ news-dmh/view.asp?id=30594

Department of Mental Health. (2021). In 2020, the number of Thai people commits suicide is high, Department of Mental Health recommends a self-survey. Retrieved March 5, 2021, from https://www.dmh.go.th/ news-dmh/view.asp?id= 30594. (in Thai).

ซารีฟะห์ เจ๊ะแว. (2560). ปัจจัยคัดสรรตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยในการป้องกันอุบัติเหตุของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตยะลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.

Cheawae, S. (2020). Selected Factors Affecting Helmet Use Behaviors for Accidental Prevention Following Health Belief Model of Studentsat Yala Institute of Physical Education. Master Thesis in Education, Prince of Songkla University. (in Thai).

ดาวรุ่ง สุภากรณ์. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างความหวัง การรับรู้ กับพฤติกรรมการปฏิบัติตนด้านสุขภาพของผู้ป่วย ไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

Supaporn, D. (1997). Relationship between hope, perception and health behavior of patients. Chronic renal failure undergoing hemodialysis. Master Thesis in Nursing Science, Mahidol University. (in Thai).

นัยนา เหลืองประวัติ. (2547). ผลของการใช้วิธีการจัดการกับความเครียดโดยการฝึกสมาธิการคิดแบบอริยสัจ และการฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ เพื่อการจัดการกับความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Luangprawat, N. (2004). Effects of Stress Management Method by Meditation Practice, the Nobel Truth Thinking and Muscle Relaxation on Stress Management of Students at Srinakharinwirot University. Master Thesis in Science, Srinakharinwirot University. (in Thai).

ปถมาพร พันธุ์อุบล. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของข้าราชการตํารวจวัยทอง ในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Phan-Ubol, P. (2010). A Relationship between Health Perception and Health Self-Caring behavior of Thai Andropause Police Officers in Chonburi Province. Master Thesis in Education, Srinakharinwirot University. (in Thai).

ปิยะฉัตร นาคประสงค์. (2550). ผลของโปรแกรมการใช้อารมณ์ขันเพื่อลดความเครียดของวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Narkpasong, P. (2007). The Effects of Sense of Humor Encouraging Program to Reduce Tension of Teenagers. Master Thesis in Education, Srinakharinwirot University. (in Thai).

พรทิพย์ หนูพระอินทร์, ชญานิศ ลือวานิช และ ประพรศรี นรินทรรักษ์. (2556). การรับรู้สุขภาพพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการณโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 9(1), 63-87.

Nuprain, P., Luewanit, C., & Narinruk P. (2013). The Perception of Health Status and Self-Care Behaviour of the Hypertension Patient at the Vachira Phuket Hospital. Phuket Rajabhat University Academic Journal, 9(1), 63-87. (in Thai).

ภูริทัต ศรมณี. (2561). การจัดการความเครียดอย่างเหมาะสมของนักศึกษาวิชาชีพครูคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์. โครงงานวิจัย ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Sornmanee, P. (2018). Managing stress properly of teacher professional students, Faculty of Education, Silpakorn University, Sanam Chandra Palace. Research Project, Bachelor of Education, Silpakorn University. (in Thai).

รัชนี สรรเสริญ. (2544). การศึกษาการับรู้ภาวะสุขภาพ ความเครียด และการออกกำลังกายของสตรีไทยวัยหมดประจำเดือน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(3), 1-19.

Sunsern, R. (2001). A study of Perceivied Health Status, Stress and Exercise in Thai Menopausal Women. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 9(3), 1-19. (in Thai).

วิไลพร ขำวงษ์, สุดคนึง ปลั่งพงษ์พันธ์ และ ทานตะวัน แย้มบุญเรือง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับสาเหตุของความเครียด และการจัดการความเครียด ของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(1), 78-87.

Khamwong, W., Plangpongpan, P., & Yamboonruang, T. (2016). The relationships between levels of stress, causes of stress and stress management in nursing students of nursing colleges under the jurisdiction of Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development. Journal of Health Science Research, 10(1), 78-87. (in Thai).

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2563). สถิตินักเรียน-ห้องเรียน-ครู 2563 (Excel). สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2564, จากhttp://www.bangkok.go.th/Bangkokeducation/ page/sub/20731/

Department of Education, Bangkok. (2020). Statistics of Student - Classroom - Teacher 2020 (Excel). Retrieved March 24, 2021, from http://www.bangkok.go.th/bangkokeducation/page/sub/20731/. (in Thai).

American Psychological Association. (2020). Stress in the Time of COVID-19. Retrieved March 7, 2021, from https://www.apa.org/news/press/releases /stress/2020/stress-in-america-covid.pdf.

Brook, R. H., Ware Jr, J. E., Davies-Avery, A., Stewart, A. L., Donald, C. A., Rogers, W.H. et al. (1979). Overview of adult health status measures fielded in Rand’s health insurance study. Journal of Medical Care, 17(7), i-131.

Halahan, C. J., Roger, J. D., & Moos, R. H. (2004). Stress, Encyclopedia of Applied Psychology, first edition, Edited by Charles, D. Spielberger, volume 3, pp. 485-495.

Jang, Y., Kim, G., & Chiriboga, D. A. (2006). Health perception and depressive symptoms among older Korean Americans. Journal of cross-cultural gerontology, 21(3-4), 91-102.

Lazarus, R. S. (1976). Patterns of adjustment. 3rd ed. New York: McGraw-Hill.

Lazarus, R. S., & Folkman, S. (1984). Stress appraisal, and coping. New York: Springer Publishing.

Oh, E. J., & Kim, H. Y. (2018). Factors Influencing Unmarried Mothers' Parenting Stress: Based on Depression, Social Support, and Health Perception. Korean Journal of Women Health Nursing, 24(2), 116-125.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory analysis. New York: Harper and Row.