The ความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศทางการบัญชีกับประสิทธิภาพ ในการดำเนินงานของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย

Main Article Content

สายฝน อุไร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชีของนักบัญชี ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการดำเนินงานของนักบัญชี ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชีกับประสิทธิภาพในการดำเนินงานของนักบัญชี และศึกษาผลกระทบระหว่างความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชีกับประสิทธิภาพในการดำเนินงานของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเก็บรวมรวมข้อมูลจากนักบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 108 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ประกอบด้วย ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ (Multiple Correlation Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด อายุต่ำกว่า 25 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประสบการณ์ในการทำงาน ต่ำกว่า 5 ปี และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 15,000 บาท 2) สำนักงานบัญชีคุณภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทุนจดทะเบียนส่วนใหญ่ 1,000,000 - 3,000,000 บาท จำนวนพนักงานต่ำกว่า 20 คน ระยะเวลาในการดำเนินงานมากกว่า 10 ปี และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของสำนักงานบัญชี 400,001 - 500,000 บาท 3) นักบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี โดยรวมในระดับมากที่สุด (  = 4.65, S.D. = 0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความน่าเชื่อถือ (  = 4.63, S.D. = 0.49) ด้านความทันต่อเวลา (  = 4.59, S.D. = 0.51) และด้านการดำเนินงานทางการเงินและบัญชี (  = 4.53, S.D. = 0.47) อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 4) นักบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยรวมในระดับมากที่สุดที่สุด (  = 4.56, S.D. = 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านคุณภาพของงาน (  = 4.60, S.D. = 0.51)  ด้านการตัดสินใจ (  = 4.55, S.D. = 0.52) และด้านความถูกต้อง (  =4.55, S.D. = 0.52) อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 5) ระบบสารสนเทศทางการบัญชีด้านความน่าเชื่อถือ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีคุณภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวม และเมื่อพิจารณาสมการพยากรณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการดำเนินงานเป็นรายด้าน ได้แก่  ด้านการตัดสินใจ ด้านความถูกต้อง และด้านคุณภาพของงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตนา สิงจานุสงค์ และคณะ. (2559). “ผลกระทบของระบบสารสนเทศทางการบัญชีเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรของธุรกิจเครื่องดื่มในประเทศไทย.” วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 8(4) : 170-180
ณัฐณิชา ฉัตรสุวรรณ และคณะ. (2560). “ผลกระทบของบูรณาการระบบสาระสนเทศทางการบัญชีที่เป็นเลิศที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย.” วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9(1) : 135-145
แดน กุลรูป และกาญจนา ธีระรัตนวิเชียร. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษากลุ่มข้าวกล้องงอกเพื่อสุขภาพ ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. รายงานการวิจัย คณะวิทยาการจัดการ. ลำปาง : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ปริศนา พิมมา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์) . มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เปมรินทร์ อ้อปิยะกุล และคณะ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความน่าเชื่อถือของสาระสนเทศทางการบัญชีกับประสิทธิภาพการตัดสินใจของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. รายงานการวิจัย คณะการบัญชีและการจัดการ. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รุ่งรัศมี ดีปราศัย. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะระบบสารสนเทศทางการบัญชีกับคุณ
ภาพกำไรในโรงงานอุตสาหกรรม : กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง. รายงานการวิจัย คณะบริหารธุรกิจ. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วัชธนพงศ์ ยอดราช และคณะ (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีกับผลการดำเนินงาน ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. รายงานการวิจัย สาขาบัญชี คณะบัญชี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วิภาวรรณ สุขสมัย และคณะ. (2556). ผลกระทบของระบบเทคโนโลยีสาระสนเทศทางการบัญชีเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. รายงานการบัญชี คณะการบัญชีและการจัดการ. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศศิทร ราชพิบูลย์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจสารสนเทศ คุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีและประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้บริหารธุรกิจโรงแรมระดับ 4-5 ดาว. วิทยานิพนธ์ บช.ม. (การบัญชี). สงขลา :มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุนิสา รัตน์ประยูร. (2559). การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการจัดทำบัญชีด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตเทศบาล อำเภอเชียง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ บช.ม (การบัญชี). เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
โสภาพรรณ ไชยพัฒน์. (2559). การใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีของผู้บริหารธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. รายงานการวิจัย สาขาการบัญชี. ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. ศูนย์ภูเก็ต.
_______________. (2551). สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www. thaicompanyprofile.com. (สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2561).
อัญชลี จอมคำสิงห์ และธนาชัย สุขวณิช. (2558). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรของเจ้าหน้าที่กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย. รายงานการวิจัย สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุนันทา.
Black, K. Business Statistic for Contemporary Decision Making. (4th ed). USA : John Wiley and Son. 2006.
Ivana, Mamic Sacer & Ana Oluic. (2013). Information Technology and Accounting Information System’s Quality in Croatian Middle and Large Companies. Faculty of Economics and Business. Croatia : University of Zagreb.