ความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดค่าเสียหายทางแพ่งตามหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษในปัญหามลพิษจากขยะมูลฝอยชุมชน กรณีศึกษาองค์การบริหาร ส่วนตำบลตาดทอง อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ธรรมเนียบ แก้วหอมคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดค่าเสียหายทางแพ่งตามหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษในปัญหามลพิษจากขยะมูลฝอยชุมชน กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลตาดทอง อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานีกลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลตาดทอง อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 380 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบบังเอิญ ตัวแปรที่ศึกษาแบ่งเป็น ตัวแปรต้นได้แก่ การกำหนดค่าเสียหายทางแพ่งตามหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษ และตัวแปรตามได้แก่ ความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดค่าเสียหายทางแพ่งตามหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลตาดทอง อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการกำหนดให้มีค่าเสียหายทางแพ่งตามหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษในปัญหามลพิษจากขยะมูลฝอยชุมชนโดยมีค่าเฉลี่ย () อยู่ระหว่าง 2.50-2.71โดยเห็นด้วยมากที่สุดกับการกำหนดให้ผู้ก่อมลพิษจ่ายค่าเสียหายเพิ่มเติมจากความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นจริง เพื่อให้บุคคลผู้ก่อมลพิษนั้นได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.71 (SD=0.62) และเห็นด้วยน้อยที่สุดคือการกำหนดให้ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายค่าเสียหาย ควรคำนึงถึงการกระทำของผู้นั้นด้วยว่า ได้มีการพยายามเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วหรือไม่ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.50 (SD= 0.81)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ (2564). ขยะมูลฝอยชุมชน ปัญหาใหญ่ที่ประเทศกำลังเผชิญ (Municipal solid waste : The Significant problem of Thailand) สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564 จาก http://nrei.rmutsv.ac.th/sites/default/files/poprosal8D.PDF
กุลวดี กิตติดุลยการ. (2560). การประยุกต์ใช้ค่าเสียหายเชิงลงโทษในคดีครีมผิวขาว. (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะนิติศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์.
เกรียงศักดิ์ พินทุสรศรี. (2558). ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อการรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. (งานวิจัย). สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564 จาก http://so05.tci- thaijo.org/index.php/pacific/view/203894/142153
งานนโยบายและแผน องค์การบริหารส่วนตำบลตาดทอง อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564).
บัญชา วิทยอนันต์และรัฐชาติ สําฤทธิ์นอก (2558).ปัญหาทางกฎหมายในการฟ้องเรียกค่าเสียหายของผู้ได้รับความ เสียหายจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษ การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 (18-19 มิถุนายน 2558 ณ วิทยาลัย นครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา : ภาคโปสเตอร์ . สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2564 จาก http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2558Vol3No1_74.pdf
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2545). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย : 304-305.
ปริญญาวัน ชมเสวก. (2550). ค่าเสียหายเชิงลงโทษในคดีละเมิด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะนิติศาสตร์.
ปาริชาติ มั่นสกุล (2564). ข้อพิจารณาบางประการเกี่ยวกับค่าเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2564 จากhttp://61.19.244.196/assets/files/environment/
มณิศรา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2553). การกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษในคดีสิ่งแวดล้อม. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะนิติศาสตร์, สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, คณะนิติศาสตร์.
วริทธิ์ สมทรง และมาลี สุรเชษฐ. (2563). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการซากขยะอิเล็กทรอนิกส์: ศึกษากรณี กฎหมายเกี่ยวกับโรงงาน. วารสารรัชตภาคย์. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564 จาก https://so05.tci- thaijo.org/index.php/RJPJ/article/download/247490/168247/
วิเชียร เกตุสิงห์. (2543). คู่มือการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล.
ศักดา ธนิตกุล. (2554). การนำค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้ในกฎหมายไทย. วารสารกฎหมาย, 29(1), 137-173.
อำนาจ ตั้งคีรีพิมาน. (2555). ค่าเสียหายเชิงลงโทษ: ศึกษาเบื้องต้นในเชิงนิติเศรษฐศาสตร์. รวมบทความวิชาการ เนื่องใน โอกาส 60 ปี รองศาสตราจารย์ดร.ดาราพร ถิระวัฒน์ (น. 317-346). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.