การเปลี่ยนแปลงทางดนตรีในจังหวัดอุดรธานีช่วงยุคสงครามเวียดนาม

Main Article Content

ชนก วรรณกุล

บทคัดย่อ

          บทความนี้มุ่งนำเสนอสภาพและการเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรม และดนตรี ของจังหวัดอุดรธานีในช่วงสงครามเวียดนาม เนื่องจากประเทศไทยอนุญาตให้ประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถตั้งฐานทัพและเคลื่อนย้ายกำลังทหารเพื่อทำสงครามต่อต้านการแผ่อำนาจของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเขตภูมิภาคอินโดจีน จังหวัดอุดรธานีเป็น 1 ใน 7 แห่งของการตั้งฐานทัพฯ ดังกล่าว จากการไหลบ่าเข้ามาของกระแสเงินดอลลาร์และกระแสวัฒนธรรมที่เข้ามาพร้อมทหารสหรัฐอเมริกา ทำให้จังหวัดอุดรธานีเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และดนตรี ในบทความนี้กล่าวถึงทั้งช่วงระยะเวลาที่กองกำลังทหารของสหรัฐอเมริกาอยู่ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี และช่วงระยะเวลาหลังจากการถอนกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ ออกจากจังหวัดอุดรธานีรวมไปถึงออกจากประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิชาการและบทความปริทัศน์

References

บัวพันธ์ พรหมพักพิง. (2560). ความเปราะบางของครัวเรือนในเมืองอุดรธานีภายใต้บริบทการขยายของตัวเมือง. วารสารพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 19(2), 69-92.

พงษ์ศักดิ์ ปัตถา. (2550). ผลกระทบของฐานทัพสหรัฐอเมริกาต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเมืองอุดรธานี พ.ศ. 2505-2520. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พวงทอง ภวัครพันธุ์. (2556). สงครามเวียดนาม: สงครามเวียดนามกับความจริงของ“รัฐไทย”. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ภูริณัฐร์ โชติวรรณ. (2557). “กระเทยโรงงาน” ชีวิตและตัวตนข้ามเพศของแรงงานอพยพจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

ลำเนา เอี่ยมสะอาด. (2539). การวิเคราะห์เพลงไทยสมัยนิยมแนวร็อค. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แวง พลังวรรณ. (2548). ตำนานรำวงกุมภวา คำมา รุ่งนิรันดร์. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท.

ศุภกรณ์ จันทร์ศรีสุริยะวงศ์. (2554). จังหวัดอุดรธานีในฐานะชุมทางยุทธศาสตร์และการค้าของภูมิภาคอินโดจีน (พ.ศ.2507-ปัจจุบัน). ภาคนิพนธ์ สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สาทร ศรีเกตุ. (2551). เศรษฐกิจการเมืองในกระบวนการผลิตเพลงลูกทุ่งไทย. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบันฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุด จอนเจิดสิน. (2544). ประวัติศาสตร์เวียดนามตั้งแต่สมัยอาณานิคมฝรั่งเศสจนถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพงษ์ ลือทองจักร (2564, 9 มกราคม). รองศาสตราจารย์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. สัมภาษณ์.

อธิป จิตตฤกษ์. (2553). จาก ‘เฮฟวี่’ ถึง ‘เมทัล’: นักดนตรีเฮฟวี่เมทัลไทยจาก ‘วัยรุ่นมืออาชีพ’ สู่ ‘ผู้ใหญ่มือสมัครเล่น’, 1970-2010, บทความวิชาการวัยรุ่นกับวัฒนธรรมสมัยนิยม. วารสารทางวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 22(1), 231-274.