ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID - 19 ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กนกพร อนิรภัย
วิรัญญา ศรีบุญเรือง
ธนรัตน์ นิลวัฒนา
ศิริโสภา สำราญสุข
ศานสันต์ รักแต่งาม
ปวีณา สปิลเลอร์

บทคัดย่อ

            งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID - 19 ของประชาชนในกรุงเทพมหานครโดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ประชาชนในกรุงเทพมหานคร นวน 417 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็นในการสุ่มตัวอย่าง (Nonprobability Sampling) วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random) สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมพันธ์ของเพียรสัน 


            ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID - 19 โดยมีปัจจัยหลัก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้เรื่องเชื้อ COVID - 19 ด้านปัจจัยสนับสนุนทางสังคมด้านการรับข้อมูลและข่าวสารของเชื้อ COVID - 19 ในภาพรวมและรายด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด มีอิทธิพลส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันด้านการต้านทานการเกิดเชื้อ COVID – 19 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.615, 0.484, 0.610 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). รายได้ ไทยเที่ยวไทย. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564, จาก https://www.facebook.com/ETSMOTS/photos/a.268898043815989 /732830347422

กรมควบคุมโรค. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19). สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/

จารุวรรณ แหลมไธสง, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ และ พรนภา หอมสินธุ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ก กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2564, จาก https://nurse.buu.ac.th/rsh/file/journal/0000000334.pdf

จุฬาลักษณ์ แก้วสุก, ยุนี พงศ์จตุรวิทย์ และ นุจรี ไชยมงคล. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(4), 54-64. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564, จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ Nubuu/article/view/82434/65510

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยหลังโควิด 19 : โรคปฏิวัติโลกยกเครื่องสู่อนาคตวิถีชีวิตใหม่. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564, จาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256303_CoverStory.aspx

จักรกฤษณ์ พลราชม, นิรันตา ศรีบุญทิพย์ และ อภิรดี วังคะฮาต. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในประชาชนพื้นที่ ชายแดนไทย – สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 20(1), 46-55. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564, จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/ article/view/181992/128928

นิศาชล รัตนมณี และ ประสพชัย พสุนนท์. (2562). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(3), 181-188. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2564, จาก https://so03.tci-thaijo.org/ index.php/trujournal/article/view/214077/148946

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม สำหรับงานวิจัยสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18, 375-396. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2564, จาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/ 7044/6558

ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.). (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2564, จาก https://media.thaigov.go.th/uploads/publicimg/source/190364.pdf

สมประวิณ มันประเสริฐ. (2563). ผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2564, จาก https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/economic-covidimpact

สุธรรม รัตนโชติ. (2551). การวิจัยเชิงพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.

World Health Organization. (2021). WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard. Retrieved March 19, 2021, form https://covid19.who.int/

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row.