พิธีกรรมและความเชื่อในการสร้างกลองยืนและกลองหลอนของวงมังคละ คณะ ศ.ราชพฤกษ์ศิลป์

Main Article Content

สุวิชา พระยาชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องพิธีกรรมและความเชื่อในการสร้างกลองยืนและกลองหลอนของ วงมังคละ คณะ ศ.ราชพฤกษ์ศิลป์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยมุ่งศึกษาในบริบท ที่เกี่ยวข้องกับกลองยืนและกลองหลอน และศึกษาพิธีกรรมความเชื่อ ในการสร้างกลองยืนกลองหลอน ผลการวิจัยพบว่า วงมังคละ คณะ ศ.ราชพฤกษ์ศิลป์เป็นวงดนตรีมังคละที่มีประวัติ ความเป็นมายาวนานร่วม 100 ปีตั้งอยู่บ้านเลขที่ 35/2 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านหลุม อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ก่อตั้งโดยพ่อแก่ดัด ไกรบุตร ดนตรีมังคละเป็นวงดนตรีพื้นบ้าน ประกอบด้วยเครื่องดนตรีได้แก่ กลองมังคละ (จ๊กโกร๊ด) กลองยืน กลองหลอน ฆ้องโหม่ง ฉาบ ปี่มังคละ โดยกลองยืนมีหน้าที่ยืนจังหวะเพื่อกำหนดหน้าทับหลักให้กับวง และกลองหลอนจะช่วยเพิ่มสีสันและความสนุกสนานให้กับบทเพลงให้น่าฟัง ใช้ในการแสดงทั้งงานมงคลและงานอวมงคล จากการศึกษาเรื่องพิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับวงดนตรี


มังคละคณะ ศ. ราชพฤกษ์ศิลป์ พบว่าได้สืบทอดพิธีกรรมและความเชื่อในด้านต่าง ๆ จากพ่อแก่ดัด ไกรบุตร อาทิ พิธีกรรมการไหว้ครูประจำปี พิธีกรรมไหว้ครูก่อนการแสดง และพิธีกรรมความเชื่อในการสร้างเครื่องดนตรี ซึ่งพิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวข้องในการสร้างกลองยืนและกลองหลอน มี 4 ขั้นตอน คือ 1.พิธีขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนตัดไม้ 2.การเขียนคาถาหน้ากลอง ซึ่งคาถาหน้ากลองที่ใช้ ได้แก่ คาถาหัวใจพระเจ้า 5 พระองค์ และคาถาหัวใจนกการเวกเสียงทอง ซึ่งทั้งสองคาถานี้เป็นคาถาที่มีความเชื่อในเรื่องของคาถามหาเสน่ห์ 3. ขั้นตอนการเจาะรูหูละมาน หรือขั้นตอนของการตอกนำฤกษ์ ซึ่งมีความเชื่อว่าให้นำผู้หญิงที่มีเสียงดังที่สุดในหมู่บ้านมาเป็นผู้เจาะรูเพื่อตอกนำฤกษ์ให้ 3 ครั้ง เพราะถือตามองค์สามของพระรัตนตรัยว่าเป็นฤกษ์ที่ดีและเชื่อว่ากลองที่ทำออกมาจะได้มีเสียงดัง       ใส ก้องกังวาน 4. ขั้นตอนสุดท้ายคือการทำน้ำมนต์ธรณีสารเพื่อประพรมให้กับเครื่องดนตรีก่อนที่จะประกอบเข้าด้วยกันโดยมีความเชื่อว่าน้ำมนต์นี้จะช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่เป็นมงคลให้หมดไป และช่วยเสริมสิริมงคลให้กับการทำเครื่องดนตรีนั้น ๆ การสร้างกลองยืนและกลองหลอนของคณะ ศ.ราชพฤกษ์ศิลป์นั้น เป็นความเชื่อและพิธีกรรมที่ได้รับการสืบทอด มาจากรุ่นสู่รุ่น เพราะมีความเชื่อที่สำคัญว่า ทำแล้วจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง จึงทำให้ คณะ ศ.ราชพฤกษ์ศิลป์ ยังคงยึดถือและปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประทีป นักปี่. (2537). ดนตรีพื้นบ้านไทย. พิษณุโลก : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิทยา เกษรพรหม. (2552). ที่นี่เมืองบางขลัง2(ปาฏิหาริย์แห่งกาลเวลา). สุโขทัย: บ้าน
ช้างโฆษณาการพิมพ์.
จุน คุ้มมี. (2563, 9 พฤศจิกายน). ปราชญ์ชาวบ้านด้านมังคละนักดนตรี และช่างทำกลอง
ของคณะ ศ.ราชพฤกษ์ศิลป์, 35/2 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านหลุม อำเภอเมือง จังหวัด
สุโขทัย. สัมภาษณ์
ทศพล แซ่เตีย. (2563, 6 พฤศจิกายน). ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลบ้านหลุม นักดนตรี
มังคละและหัวหน้าคณะ ศ. ราชพฤกษ์ศิลป์, 35/2 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านหลุม อำเภอ
เมือง จังหวัดสุโขทัย.สัมภาษณ์.