ตุง: ความเป็นมงคลและอวมงคล ความหมายที่ทับซ้อน

Main Article Content

เนตรชนก แตงทับทิม

บทคัดย่อ

จากหลักฐานหลายประการที่ปรากฏอยู่ จากการขุดค้นทางโบราณคดี แสดงให้เห็นถึงตุงจำลอง(ตุงเหล็กตุงทอง)ที่ถูกกำหนดอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่20-21 และบางส่วนปรากฎเป็นภาพในผ้าเขียนสี ที่เรียกว่า ผ้าพระบฏ หลักฐานเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็น วัตถุเพื่อการสักการะอย่างชัดเจน ซึ่งสามารถเทียบเคียงได้กับความเป็นวัตถุมงคล ที่ปรากฏหลักฐานมาแล้วในจิตรกรรมฝาผนังและในรูปแบบสถาปัตยกรรมในสมัยเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่า ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่24 เป็นต้นมา วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ได้ระบุถึงการใช้ตุง ที่เกี่ยวข้องกับการอุทิศให้กับผู้ตายและสามารถใช้เป็นวัตถุเพื่อปกป้องจากผลกรรมที่ร้ายแรงได้ การใช้งานตุง จึงปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม จากการเป็นวัตถุเพื่อการสักการะบูชา มาเป็นเครื่องอุทิศ(แด่ตนเองหรือแด่ผู้ตาย)เพื่อประกันชีวิตที่ดีขึ้นในชาติหน้า  อนึ่ง คัมภีร์อานิสงส์นี้ เขียนขึ้นเพื่อฟื้นฟูพิธีกรรม หลังจากขาดการสนับสนุนทางพุทธศาสนาในช่วงที่พม่าปกครองล้านนาในพุทธศตวรรษที่21-23 จากนั้นมาตุงบางประเภท ถูกนำไปใช้ในพิธีกรรมที่ไม่เป็นมงคล  เช่น ตุงสามหาง ในฐานะสิ่งของอุทิศ ทั้งที่ไม่เคยปรากฏหลักฐานในลักษณะเช่นนั้นมาก่อนหน้า ตุงบางชนิดเช่น  ตุงไจย ปรากฏในหลักฐานทางศิลปกรรมจำนวนมาก ที่แสดงให้เห็นว่า ตุงถูกใช้เป็นวัตถุมงคลตลอดหลายศตวรรษ อย่างไรก็ตามผ้าแคบยาวลักษณะนี้ ที่แสดงลวดลายปราสาทยังถูกใช้ในงานศพ  ทั้งงานศพในท้องถิ่นโดยเฉพาะในชุมชนไทลื้อและในงานพระราชพิธี เช่นงานพระศพของพระราชวงศ์บางพระองค์


กล่าวโดยสรุป ตุงที่ถูกใช้ในงานอวมงคล อาจเริ่มต้นตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่24 เป็นต้นมา โดยเป็นผลมาจากคัมภีร์ประเภทอานิสงส์ ที่ถูกเขียนขึ้น เพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนาในล้านนา การใช้งานตุง เปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย จากการเป็นวัตถุสักการะบูชา เพิ่มเติมมาใช้  เป็นสิ่งของเพื่อการอุทิศแด่ผู้วายชนม์และใช้ทั้งในงานมงคลและอวมงคลหาก แต่ยังคงความหมายอันเป็นมงคล แม้ว่าจะถูกนำไปใช้ในงานอวมงคลก็ตาม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สันติ เล็กสุขุม. (2555). ศิลปะภาคเหนือ หริภุญชัย-ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพ: เมืองโบราณ.
กรมศิลปากร. (2515). สมบัติศิลปจากบริเวณเขื่อนภูมิพล. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ท่าพระจันทร์.
กรมศิลปากร. ( 2515). คำให้การชาวกรุงเก่า คำให้การขุนหลวงหาวัดและพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. พระนคร: สำนักพิมพ์คลังวิทยา. อ้างถึงใน สันติ เล็กสุขุม. (2550). ศิลปะอยุธยา: งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. กรุงเทพ: เมืองโบราณ.
สุรพล ดำริห์กุล. (2544). ลายคำล้านนา. กรุงเทพ: เมืองโบราณ.
สันติ เล็กสุขุม และกมล ฉายาวัฒนะ. (2524). จิตรกรรมฝาผนังอยุธยา. กรุงเทพ: ไทยคดีศึกษา.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2556). ศิลปะล้านนา. กรุงเทพ: ศิลปวัฒนธรรม.
Munier Christophe & Aung Myint. Burmese. (2007). Buddhist Murals V1. Bangkok: White Lotus.