การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาหมู่บ้านกระทม จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

นัขนลิน อินทนุพัฒน์
ธัญญารัตน์ เจนขนบ
ชนิสรา เพชรพิเศษศักดิ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านกระทม หมู่ 8 ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ความพร้อมทางด้านการรองรับ การบริการ และการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จำนวน 25 คน ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของชุมชนบ้านกระทมนั้นมีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว มีบ้านพักรับรองในการให้บริการ มีฐานการเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมถึงปราชญ์ชาวบ้านที่มีศักยภาพในการบรรยาย นำชมหมู่บ้าน ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โบสถ์หินล้านปี ขยำรำมะนา เป็นศิลปะพื้นบ้านที่มีที่เดียวคือหมู่บ้านกระทม และกำลังจะสูญหาย และเปิดโอกาสให้ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการท่องเที่ยว มีโครงสร้างการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน ชุมชนมีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ โดยนุ่งผ้าไหมลายลูกแก้ว โฮล และโสร่งลายโกนกะตุม แสดงให้เห็นว่าชุมชนบ้านกระทม มีศักยภาพความพร้อมด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2562). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561 – 2564. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2563, จาก https://www.dot.go.th/ storage/กลุ่มแผน/5V7jtvCF7hvNiPXPU7MOdT7giHiF1ZbRokN8nBVx.pdf.

กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย. (2556). ศักยภาพและแนวทางการจัดการท่องเที่ยวชุมชนลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 9(2), 1-11.

กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1. (2561). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2563, จาก http://www.buriram.go.th/downloads/yudtasad/plan -g-61-65-re63.pdf.

ชนิษฐา ใจเป็ง และ จุรีรัตน์ ศิตศิรัตน์. (2564). การจัดเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บ้านหนองกระดูกเนื้อตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 10(1), 93-107.

นัขนลิน อินทนุพัฒน์. (2562). ศักยภาพชุมชนเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาชุมชนอ่างเก็บน้ำลำพอกจังหวัดสุรินทร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(2), 61-73.

พิฑูรย์ ทองฉิม. (2558). การจัดการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะลันตา จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปิรันธ์ ชิณโชติ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(1), 250-268.

ปรัชญากรณ์ ไชยคช, ดวงธิดา พัฒโน, ธนกฤช สุวรรณ, นุกูล ชิ้นฟัก และ วรลักษณ์

สลิตศศิวิมล. (2558). ศักยภาพการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านตันหยงลูโละ ตำบลตันหยงลูโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับ ชาติ ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, หน้า 39-51. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ฟองจันทร์ หลวงจันทร์ดวง, สุรชัย กังวล และ วราภรณ์ นันทะเสน. (2561). ศักยภาพชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning, 8(2), 52-83.

วรรณวิมล ภู่นาค. (2558). ศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน: กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 26(1), 63-74.

สุถี เสริฐศรี และ ภูเกริก บัวสอน. (2560). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชนคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 10(2), 109-117.