ประสิทธิผลการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการสาธารณสุข สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในประเทศไทย : กรณีศึกษาเขตสุขภาพที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ของสถานบริการสาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 5 เป็นการศึกษาแบบ Mix Model Research เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการ และสร้างข้อเสนอแนะต่อสถานบริการสุขภาพสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยการสำรวจผู้ร่วมรับผิดชอบและเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลและสุ่มสำรวจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพสต.) รวมทั้งสิ้นจำนวน 976 คน ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงพยาบาล 3 คน และรพสต. 1 คน รวม 4 คน ทำการรวบรวม สรุป วิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ ผลการศึกษาพบว่า สถานบริการสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 5 มีรายงานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อได้ครบถ้วนทุกแห่ง มีการจัดระบบ (CUP) และโครงสร้างการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และพบว่าองค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการ ประกอบด้วย นโยบายที่สร้างและขับเคลื่อนลักษณะขององค์กรที่สำคัญเช่น การนำของผู้นำ แผนงาน วัฒนธรรมองค์กร และการใช้ทรัพยากรขององค์กร และการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อขององค์กร ยืนยันตามการวิเคราะห์สมการโครงสร้างเชิงเหตุและผลที่มีประสิทธิผลต่อการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Chi-square=103.51, df=36, CMIN/DF= 2.875, P<0.001, RMR=.008, GFI=.983, CFI=0.992, NFI=.988, RMSEA=.044) ดังนั้นการจะจัดการมูลฝอยติดเชื้อให้มีคุณภาพ ตามกฎหมายและมาตรฐานนั้น องค์กรหรือสถานบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข จะต้องมีและขับเคลื่อนตามนโยบายในทุกระดับ องค์กรจะต้องมีค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร ผ่านการนำองค์กร การวางแผนงาน และการบริหารจัดการทรัพย์ยากร ส่งผ่านไปยังการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อตามมาตรฐาน จึงจะทำให้ สถานบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผล มีคุณภาพ และถูกต้องตามกฎหมาย
Article Details
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 –2564). กรุงเทพฯ: บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด.
กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย. (2556). คู่มือแนวทางการพัฒนาสถานบริการการสาธารณสุขให้ได้มาตรฐานด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ. นนทบุรี: กรมอนามัย.
กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย. (2557). แนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ โดยเทคโนโลยีการทำลายเชื้อด้วยไอน้ำ ณ แหล่งกำเนิด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
รอฮายู ยูโซ๊ะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอนาคต. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ราชภัฏยะลา.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: หจก. ทิพย์วิสุทธิ์.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักตรวจและประเมินผล. (2560). รายงานการตรวจนิเทศราชการปกติเขตสุขภาพที่ 5. นนทบุรี: สำนักตรวจและประเมินผล.
เสนาะ ติเยาว์. (2543). หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัจฉราวรรณ พงศาวลี. (2562). การบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่มีประสิทธิผลของสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข, 42, 82-92.
อำนาจ ยอดนิล. (2553). การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Hambleton, R. K. (1980). Test score validity and standard-setting methods. In Berk, R. A. (Ed.), Criterion-referenced measurement: The state of the art (pp. 80–123). Baltimore, MD: Johns Hopkins University Press.
Van Meter, D. S., & Van Horn, C. E. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration & Society, 6(4), 445-488. https://doi.org/10.1177/009539977500600404.
World Health Organization. (2015). Health-care waste. Retrieved March 2, 2020, from http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs253/en/.