การออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกจากแรงบันดาลใจ ประติมากรรมปูนปั้น ประดับหอแจก วัดโพธาราม ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบสินค้าที่ระลึกจากแรงบันดาลใจปูนปั้นประดับหอแจกวัดโพธาราม โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย ลงพื้นที่ศึกษาเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจที่วัดโพธาราม ต.ดงบัง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม เพื่อวิเคราะห์จำแนกข้อมูลที่ได้ จากนั้นสร้างแนวคิดการออกแบบเพื่อออกแบบของที่ระลึก ผลการศึกษาพบว่า 1) ปูนปั้นสร้างพร้อมกับหอแจกเมื่อ พ.ศ. 2465 พบทั้งหมด 226 รูป จัดกลุ่มได้ 11 กลุ่ม สีที่ปรากฏในปูนปั้นประดับหอแจกวัดโพธาราม ในช่วงเวลาที่ได้ลงพื้นที่ศึกษานั้นพบว่ามี 4 สีหลัก 2) ลวดลายที่ใช้ในของที่ระลึก พบว่าหลังจากใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการถอดแบบแล้วสามารถนำไปใช้กับงานได้หลากหลาย อีกทั้งยังดูร่วมสมัย แบบร่างผลิตภัณฑ์ พบว่าแนวความคิด “เจี๊ยวจ๊าวอย่างสงบ” ต้นแบบมีความสนุกสนาน จากแบบร่างที่ทดลองนำลายบรรจุลงบนผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ พบว่าเหมาะแก่กลุ่มเป้าหมายที่อายุ 20-29 ปีมีความร่าเริงสดใส สนุกสนาน
Article Details
References
กิตติกรณ์ บำรุงบุญ และ ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคามเพื่อยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(2), 7-24.
คำภูเพชร วานิวงศ์. (2552). การศึกษาศิลปะ “ฮูป” ฝาผนังในเขตพื้นที่แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทของที่ระลึก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปประยุกต์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ชวลิต อธิปัตยกุล. (2561). พัฒนาการลวดลายประดับตกแต่งในสิมอีสานก่อน พ.ศ.2583 ในประเทศไทย. อุดรธานี: เต้า-โล้.
ชิงชัย ศิริธร. (2562). การออกแบบผลิตภัณฑ์กราฟิกจากอัตลักษณ์ตัวละครและฉากในฮูปแต้มอีสานเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์และสื่อดิจิทัลเชิงวัฒนธรรม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(1), 286-312.
พรเพ็ญ บัญญาทิพย์. (2556). กระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง วัดโพธารามและวัดป่าเรไรย์ จังหวัดมหาสารคาม. ดำรงวิชาการ, 12(1), 75-107.
วุฒินันท์ ส่งเสริม และ พงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2561). การสร้างรูปแบบค่าสีเพื่อคืนสภาพฮูปแต้ม โดยใช้วิธีดิจิทัล คัลเลอร์ไรเซชัน. วารสารมนุษยศาสต์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 21(2), 101-112.
ศิริณา จิตต์จรัส และคณะ. (2549). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานเพื่อเข้าสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึงผลิตภัณฑ์ (OTOP) กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้ ของตกแต่งของที่ระลึกจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สำนักงานพัฒนาชุมชนจงหวัดพระนครศรีอยุธยา.
สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (ม.ป.ป.). ประวัติวัดโพธาราม. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562, จาก https://shorturl.asia/LnAv3.
สุนทรชัย ชอบยศ. (2562). แนวทางในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมโดยความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ ในท้องถิ่น : กรณีศึกษาการจัดการสิมและฮูปแต้ม ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(3), 55-70.
อำภา บัวระภา. (2564). ความสัมพันธ์ของฮูปแต้มกับภูมิทัศน์ชุมชน. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(1), 29-40.