ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในกลุ่มผู้ค้าตลาดเจริญศรี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการเลือก ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในกลุ่มผู้ค้าตลาดเจริญศรี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 295 คน ในเดือนกันยายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ค้าในตลาดเจริญศรี โดยใช้สถิติ Chi-square test และ Fisher exacts test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 69.2 โดยมีความรู้ถูกต้องมากที่สุดเกี่ยวกับกล่องโฟมไม่ใช่บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 94.9 ในด้านพฤติกรรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 21.0 บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่กลุ่มตัวอย่างเลือกใช้มากที่สุด คือ ใบตอง จานกระดาษ และถุงกระดาษ คิดเป็นร้อยละ 20.5, 20.5 และ 17.9 ตามลำดับ ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน การศึกษา รายได้ ระยะเวลาการขาย ประเภทแผงค้า และการได้รับข้อมูลข่าวสาร ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้ค้าตลาดเจริญศรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรส่งเสริมให้กลุ่มผู้ค้าหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นตลาดสีเขียวต่อไปในอนาคต
Article Details
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559–2564). สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2565, จาก https://www.pcd.go.th/ publication/5061/.
กรมควบคุมมลพิษ. (2563). ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของจังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2565, จาก https://thaimsw.pcd.go.th/report_province.php?year=2563&province=23.
ชุลีกร เทพบุรี, ธัญญ์ธิชา ศรีคา, นภัสสร แซ่ลิ้ม, ศุภชัย เหมือนโพธิ์ และ วทัญญู รัศมิทัต. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้ ประกอบการรายย่อย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 3(1), 50-8.
ธงชัย สุธีรศักดิ์, วัชรวดี ลิ่มสกุล, ณัฎฐินี อุทกูล และ ณัฎฐาพร อุทกูล. (2563). พฤติกรรมการใช้บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารที่ใช้แล้วทิ้งของร้านขายอาหาร กรณีศึกษาอำเภอเมืองและอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 2(1), 20-38.
ปฐพี สุทธิวัฒนกุล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์สีเขียวของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กนกอร นิลวรรณจะณกุล และ ปวีณา คำพุกกะ. (2013). ความรู้และทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อ พฤติกรรมการซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2(3), 65-83.
ภัทรวรรณ รามสูต. (2558). พฤติกรรมของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ในการซื้อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริพร เต็งรัง. (2558). รายงานโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ Packaging technology research and development project. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2565, จาก https://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=2229.
เสาวนีย์ ปรีชานฤชิตกุล. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.
Kataria, A., Kataria, A. & Garg, R. (2013). Factors Affecting Green Purchase Behaviour: An In-Depth Study of Indian Consumers. Journal of management research, 1(2), 15-41.
Munamba, R. & Nuangjamnong, C. (2021). The Impact of Green Marketing Mix and Attitude towards the Green Purchase Intention among Generation y Consumers in Bangkok. Retrieved October 1, 2021, from https://ssrn.com/abstract=3968444.