USING FLIPPED CLASSROOM TO IMPROVE MATTHAYOMSUKSA 4 STUDENTS’ ENGLISH READING COMPREHENSION ABILITY

Main Article Content

ธัญญาศิริ สิทธิราช
รพีพร สร้อยน้ำ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และศึกษาเจตคติต่อการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคม จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม แบบแผนของการวิจัยเป็นการวิจัยทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 12 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และแบบวัดเจตคติต่อการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ดำเนินการทดลองใช้ระยะเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 24 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่อิสระและการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นักเรียนมีคะแนนความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 11.47 คิดเป็นร้อยละ 28.67 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 33.67 คิดเป็นร้อยละ 83.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 และเมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยพบว่า ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีเจตคติต่อการสอนภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านอยู่ในระดับดีมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Alptekin, C. (2003). Cultural familiarity in inferential and literal comprehension in L2 reading. System, 34(6), 494-508.

Bergmann, J. & Sams, A. (2012). Flip your classroom: Reach every student in every class every day. Washington, DC: International Society for technology in Education.

Brown, H. D. (2001). Teaching by principles: An interactive approach to language pedagogy. San Francisco: San Francisco Public University.

Campbell, D. T. & Stanley, J. C. (1963). Experimental and quasi-experimental design for research. Boston: Houghton Mifflin.

Gunderson, L., D’Silva, R., & Chen, L. (2010). Second language reading disability: international themes. In Handbook of reading disability research (pp. 13-24). New York: Routledge.

Kachru, Y. & Smith, L. E. (2008). Cultures, context, and world Englishes. New York: Routledge.

Karimi, M. (2017). The effect of flipped model of instruction on EFL learners’ reading comprehension: Learners’ attitudes in focus. Advances in Language and Literary Studies, 8(1), 95-103.

Khamchoo, U. (2018). The development of English reading comprehension ability using the flipped classroom approach of Matthayomsuksa 6 students. Master of Arts Thesis in Teaching English to Speakers of Other Languages, Udon Thani Rajabhat University.

Khan, S. (2011). Khan Academy. Retrieved September 20, 2021, from http://www.khanacademy.org/abou.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140(8), 155.

Luehan, T. (2020). Using flipped classroom to improve Matthayomsuksa 1 students’ English reading comprehension ability. Master of Arts Thesis in Teaching English to Speakers of Other Languages, Udon Thani Rajabhat University.

Pyzdrowski, L. & Shambaugh, N. (2014). Promoting active learning through the flipped classroom model. Hershey: Information Science Reference.

Ruddell, M. (1997). Teaching model of reading ability. Marianas: Northern Marianas College.

Saiyos, L., & Saiyos, A. (2000). Educational research techniques. 6th ed. Bangkok: Suviriyasarn.

Savignon, S. J. (1983). Communicative competence: Theory and classroom practice. Boston: Addison Wesley.

Sroinam, S. (2012). Teaching principle. Udon Thani: Udon Thani Rajabhat University.

Walker, Z., Tan, D. & Koh, N. K. (2020). Flipped classroom with diverse international perspectives. Gateway East: Spring Nature.

Zwiers, J. (2010). Building reading comprehension habits in Grade 6-12. Newark, DE: International Reading Association, Inc.