การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพ เรื่องการทอเสื่อลายควาย กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ศศิพงษ์ ศรีสวัสดิ์
จุฬาวดี มีวันคำ
ชารีณัฏฐ์ วุฒิเบญรัศมี
อุษนีย์ ศรีสารคาม
ลภัสรดา อู่เจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพ เรื่องการทอเสื่อลายควาย กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใชในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) หลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพ 2) แบบประเมินความรู้และความสามารถ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานํามาวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการทดสอบทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพเรื่องการทอเสื่อลายควาย กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี มีองค์ประกอบของหลักสูตร ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผลของหลักสูตร 2) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 3) เนื้อหาสาระของหลักสูตร 4) โครงสร้างของหลักสูตร 5) กิจกรรมการฝึกอบรม 6) สื่อ/วัสดุประกอบการฝึกอบรม และ 7) การวัดและการประเมินผล มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 2. ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพ มีคะแนนหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีระดับความสามารถอยู่ในระดับดี 3. ความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ธนชาติ โชติธนนันท์ และ กฤชวรรธน โลห์ชรินทร์. (2562). ศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากขององค์ดารปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี. Journal of Buddhist Education and Research, 5(2), 112-128.

ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ในระดับประถม ศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธีระยุทธ์ เพ็งชัย และ พนาดร ผลัดสุวรรณ. (2561). การออกแบบและพัฒนาชุดแต่งกายจากผ้าทอวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองสวรรค์ จังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(2), 163-177.

มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี. (2562). อำนาจและหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. อุดรธานี: งานสารบรรณ.

เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2560). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(35), 33-44.

ธนพนธ์ ครองสระน้อย และ สุทธิพร บุญส่ง. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลโพรงอากาศ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(6), 255-267.

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุดรธานี. (2564). อุดรธานีขับเคลื่อนหมู่บ้านอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย. อุดรธานี: เครือข่ายการประชาสัมพันธ์ ส.ปชส.อด.

สุธน วงค์แดง, ภาณุมาส เศรษฐจันทร์ และ วีระพงษ์ สิงห์ครุฑ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(37), 75-90.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. 3rd ed. New York: Harper & Row.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M, (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp.90-95). New York: Wiley & Son.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(2), 49-60.

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World.