ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนกับบทอาขยานภาษาไทย ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

Main Article Content

สุภัทร แก้วพัตร
จรรยวรรณ เทพศรีเมือง
พรจรัส สิรินาวากุล
สุมาลี ทิพย์จักร
ภูวเนตร จันทร์เต็ม

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนกับบทอาขยานภาษาไทยในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จำนวน 63 บท ประกอบด้วยบทหลัก 25 บท และบทเลือกจำนวน 38 บท โดยแบ่งกลุ่มข้อมูลออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน คือ 1) ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น 2) ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 3) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 4) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย


ผลการวิจัยพบว่า บทอาขยานมีเนื้อหาเหมาะสมกับระดับชั้น มีความน่าสนใจและให้ข้อคิด สอดคล้องกับชีวิตจริง ช่วยขยายความรู้และส่งเสริมประสบการณ์ ผู้เรียนสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ และเนื้อหาสามารถตรวจสอบได้ด้วยหลักฐานต่างๆ ทำให้บทอาขยานมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และในด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่ปรากฏในบทอาขยานภาษาไทยพบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่กระทรวงศึกษาธิการมุ่งเน้นให้เกิดกับผู้เรียนคือ ด้านมุ่งมั่นในการทำงาน และด้านใฝ่เรียนรู้ ซื่อสัตย์สุจริต รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อยู่อย่างพอเพียง รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ และมีวินัย ตามลำดับ ซึ่งบทอาขยานที่นำมาศึกษานี้สัมพันธ์กับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สังคมต้องการให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของการมุ่งมั่นในการทำงาน เป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนได้ใฝ่เรียนรู้เพื่อที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่เติบโตอย่างมีคุณภาพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ อโนนาม. (2564). บทอาขยาน: ภาษาจินตภาพและการนำเสนออุดมการณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย บทอาขยานภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). บทอาขยานภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

กฤษณา คงทน. (2548). บทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา: ลักษณะทางจริยธรรมและกลวิธีนำเสนอ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จิรัสชยาณ์ ปกรณ์คุณารักษ์. (2557). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ปรากฏในหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิราพร จิรบุญดิลก. (2531). ศึกษาการวิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของเด็กในแผน พัฒนาแห่งชาติ จากหนังสือสำหรับเด็กที่ชนะการประกวด. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิชัย ไกรสร. (2554). คุณค่าของบทอาขยานภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิสันต์ สุขวิสิทธิ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทย ตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2503 – 2544 : การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สันติ ดาวเรือง. (2552). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับนักศึกษา โรงเรียนสงขลา เทคโนโลยี อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

อำนวย ใจหวัง. (2545). คุณค่าในบทอาขยานภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.