การพัฒนาวิธีคั่วข้าวเม่าด้วยเครื่องคั่วไฟฟ้าแบบปรับความเร็วรอบต้นแบบ สำหรับการผลิตข้าวเม่าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนกลุ่มข้าวเม่าบ้านหนองผักตบ จังหวัดนครพนม

Main Article Content

กฤตภาส วงค์มา
วัสยษฏิ์ อนันต์ปรีชากร
ธีรวุฒิ สำเภา
สันติ ผิวผ่อง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและสร้างเครื่องคั่วพลังงานไฟฟ้าแบบปรับความเร็วรอบต้นแบบสำหรับการพัฒนาวิธีคั่วข้าวเม่าในการผลิตข้าวเม่าของชุมชนกลุ่มข้าวเม่าบ้านหนองผักตบ จังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องคั่วข้าวเม่าพลังงานไฟฟ้าต้นแบบ และ 3) ศึกษาการยอมรับเครื่องคั่วข้าวเม่าพลังงานไฟฟ้าต้นแบบของกลุ่มข้าวเม่า งานวิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนกลุ่มข้าวเม่า ดำเนินงานวิจัยโดยการเก็บข้อมูลการสร้างเครื่องคั่วข้าวเม่าต้นแบบ และการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องคั่วข้าวเม่าต้นแบบ ซึ่งพบว่า เครื่องคั่วต้นแบบลดระยะเวลาการใช้แรงงานคน คิดเป็นร้อยละ 85.7 เมื่อเทียบกับการคั่วข้าวเม่าแบบใช้แรงงานคนหรือแบบดั้งเดิม และยังลดเวลาในการคั่วลงจากเดิมใช้เวลา 56 นาที เหลือ 40 นาที สำหรับการคั่ว 4 รอบ ทำให้การคั่วข้าวเม่าเร็วขึ้นร้อยละ 28.6 สามารถลดค่าแรงงานประมาณ 3,300/เดือน/คน ในการประเมินการยอมรับโดยใช้วิธี 9-point Hedonic scale พบว่าชุมชนกลุ่มข้าวเม่ายอมรับ เรื่องสี กลิ่น รสชาติ และเนื้อสัมผัสของข้าวเม่าที่ได้จากการคั่วโดยเครื่องคั่วต้นแบบเทียบเท่ากับการคั่วแบบดั้งเดิม และให้การยอมรับเครื่องคั่วข้าวเม่าพลังงานไฟฟ้าต้นแบบโดยมีระดับการยอมรับอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ซึ่งผลการวิจัยนี้จะนำไปสู่การขยายผลจนเกิดความน่าเชื่อถือจากชุมชนกลุ่มข้าวเม่าบ้านหนองผักตบและชุมชนข้างเคียง ทำให้เกิดการแพร่กระจายนวัตกรรมที่สร้างขึ้นโดยชุมชนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารินี ม้าแก้ว และ ณัฐวุฒิ พจน์ปริญญา. (2561). เครื่องคั่วข้าวเม่ากึ่งอัตโนมัติ. วารสารราชภัฏบุรีรัมย์, 12(2), 1-10.

เชาว์ อินทร์ประสิทธิ์. (2557). การพัฒนากระบวนการผลิตและการออกแบบเครื่องผลิตข้าวเม่าเพื่ออุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดย่อม. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2566, จาก https://tarr.arda.or.th/preview/item/C-npBtzKF4GwirUWr1coN?isAI=true.

เดชรัต สุขกำเนิด. (2564). ราคาข้าวตกต่ำที่สุดในรอบ 14 ปี: ปัญหาการส่งออกและแนวทางการพัฒนาข้าวตลาดเฉพาะของไทย. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2566, จาก https://think.moveforwardparty.org/article/economy/1742/.

นิยม เวชกามา. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบบประชาธิปไตยของประชา ชนชาวสกลนครตามแนวพุทธจิตวิทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

วัฒนาภรณ์ โชครัตนชัย และ สุกัญญา กล่อมจอหอ. (2560). การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวโป่งให้ได้คุณภาพมาตรฐานของการผลิตอาหารสู่เชิงพาณิชย์ที่ยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 9(1), 8-22.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 17-23 พฤษภาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2566, จาก https://www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด/สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ปี%202564/36702/TH-TH.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2567). ดัชนีราคาสินค้าเกษตร. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2567, จาก https://www.oae.go.th/view/1/ดัชนีราคาและผลผลิต/TH-TH.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2567, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/258/T_0001.PDF.

สุธี วรประดิษฐ์. (2553). การมีส่วนร่วมของชุมชนงานสารสนเทศสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตราด. ตราด: สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตราด.

สุภางค์ จันทวานิช. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Keith, D. D. (1972). Human behavior at work: human relations and organization behavior. New Planner, 35, 216–224.

Lim, J., & Fujimaru, T. (2010). Evaluation of the labeled Hedonic scale under different experimental conditions. Food Quality Prefer, 21, 521–530.