ประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชน ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง โรงพยาบาลเซกา จังหวัดบึงกาฬ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มติดเตียง โรงพยาบาลเซกา จังหวัดบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง คือ แกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชน จำนวน 172 คน และผู้ป่วย จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชน ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มติดเตียงกระบวนงานที่สำคัญเป็นวงรอบต่อเนื่องแบบ PDCA ศักยภาพการจัดการดูแลผู้ป่วยโดยรวมหลังพัฒนาอยู่ในระดับสูงกว่าก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ความพึงพอใจต่อการพัฒนาศักยภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง และผลลัพธ์การดูแล พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ดูแลแบบประคับประคอง (palliative Care) ร้อยละ 29.3 สถานภาพสมรส ร้อยละ 68.3 ดัชนีมวลกายผิดปกติ ร้อยละ 87.8 ฟันที่เหลือเคี้ยวได้ในผู้สูง อายุ 60 ปีขึ้นไป 20 ซี่ขึ้นไป ร้อยละ 31.7 ระยะเวลาที่เริ่มป่วยติดเตียง 1-5 ปี ร้อยละ 56.1 ป่วยมากที่สุดคือโรคมะเร็ง ร้อยละ 26.8 ระดับอาการผู้ป่วยโดยรวมอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 90.2 ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้ป่วย มากที่สุดคือ อาการนั่งหรือนอนเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.3
Article Details
References
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลาง Guideline for Intermediate care สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan). นนทบุรี: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด.
กิติพล นาควิโรจน์. (2562). วิธีการประเมินอาการต่าง ๆ โดยใช้แบบประเมิน Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.FamMed.mahidol.ac.th.
จอมมณี ศฤงคาร์นันต์. (2561). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านเครือข่ายโรงพยาบาลตะกั่วป่า. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(6), 1069-1080.
ฐิตารีย์ ธนสิริกาญจน์, พิชัย บุญมาศรี และ ระพีพรรณ นันทะนา (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เขตอำเภอเมืองเลย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 39(2), 127-136.
ดาริน จตุรภัทรพร. (2562). วิธีการประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยโดยใช้ Palliative Performance Scale (PPS) ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.FamMed.mahidol.ac.th.
พระครูเกษมอรรถากร และ สุเทพ เชื้อสมุทร. (2564). บทบาทประชาสังคมกับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 “วิถีพุทธ วิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่”, หน้า 717 – 727. วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เพ็ญศิริ อัตถาวงศ์, นิษฐนันท์ อนุสรณ์ประเสริฐ และ ฮารูน สาดหลี. (2560). ผลของระบบเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงประเภท 3 แบบ Home Nursing Care (HNC) ในหน่วยบริการปฐมภูมิ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 73-85.
พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ. (2558). 7 จังหวัดในเขตบริการสุขภาพที่ 8 จัดระบบการดูแลเชิงรุกผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และผู้ป่วยระยะสุดท้าย. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2560, จาก https://www.hfocus.org/content.
สายใจ จารุจิตร, ราตรี อร่ามศิลปะวร และ รณศิริ ประจันโน. (2562). รูปแบบการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงตามปัญหาและความต้องการของผู้ดูแล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 30(1), 54-68.
สุคนธ์ทิพย์ บุญยัง และ กาญจนา วิสัย. (2563). ผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะท้าย รวมทั้งความเครียดและภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลหลัก หลังใช้แนวปฏิบัติ การดูแลประคับประคองที่บ้านในเครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 16(2), 104-117.
สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ทัศนีย์ ญาณะ, พฤกษา บุกบุญ และ ปิยฉัตร ตระกูลวงษ์. (2558). รายงานผลการสำรวจสถานการณ์และความคิดเห็นต่อนโยบายทีมหมอประจำครอบครัว (Family Care Team: FCT). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
Ebrahimzadeh, M. H., Shojaee, B. S., Golhasani-Keshtan, F., Moharari, F., Kachooei, A. R., & Fattahi, A. S. (2014). Depression, anxiety and quality of life in caregiver spouses of veterans with chronic spinal cord injury. Iranian journal of psychiatry, 9(3), 133-136.
Heidari Gorji, M. A., Bouzar, Z., Haghshenas, M., Kasaeeyan, A. A., Sadeghi, M. R., & Ardebil, M. D. (2012). Quality of life and depression in caregivers of patients with breast cancer. BMC research notes, 5(1), 1-3.
Meyer, G. S., & Arnheim, L. (2002). The power of two: improving patient safety through better physician-patient communication. Family Practice Management, 9(7), 47-48.
Stephen Kemmis, S. K., & Robin McTaggart, R. M. (1988). The Action Research Planner. 3rd ed. Victoria, Australia: Deakin University Press.