การใช้การกิจกรรมคู่และกลุ่มโดยอิงการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การใช้การกิจกรรมคู่และกลุ่มโดยอิงการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

อารียา สุวรรณชมภู
ประยงค์ กลั่นฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การสอนการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กิจกรรมคู่และกลุ่มและเพื่อศึกษาเจตคติต่อการสอนการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันแบบคู่และกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 2 มุขมนตรี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 12 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ และแบบวัดเจตคติต่อการสอนการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันแบบคู่และกลุ่ม การดำเนินการทดลองใช้ระยะเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 24 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์ และการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระผลการวิจัยสรุปได้ว่า นักเรียนมีคะแนนความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 159.19 คิดเป็นร้อยละ 66.03 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 203.32 คิดเป็นร้อยละ 81.32 ซึ่งคะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 และเมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยพบว่าความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและนักเรียนมีเจตคติต่อการสอนการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันแบบคู่และกลุ่มอยู่ในระดับดีมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ประยงค์ กลั่นฤทธิ์

Graduate School, Udon Thani Rajabhat University, Udon Thani 41000

References

Burns, A. & Goh, C.M. (2012). Teaching speaking: A holistic approach.

New York: Cambridge University Press.

Burns, A. & Siegel, J. (2018). International Perspectives on Teaching the Four Skills in ELT Listening, Speaking, Reading, Writing. Palgrave: Macmillan.

Freniawati, L.A, Fora, N., & Huzairin, H. (2015). The Effectivness of Collaborative

Learning in Improving Students’ Speaking Skill. UNILA Journal of English

Teaching, 4(2), (1-13).

Harmer, J. (2005). How and when should teachers correct? Research News, 15(5), 38-39.

Karnchabachari, S. (2020). Promoting Communicative Self-efficacy and a Positive

Attitude towards English Language Learning through Collaborative Authentic

Task. LEARN Journal: Language Education and Acquisition Research Network

Journal, 13(1), 210-224.

Littlewood, W. (1981). Communicative Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press.

Oller, J. (1977). Attitude and attitude proficiency in ESL: A sociolinguistic study of

American in the Southwest. TESOL Quarterly, 11(10), 173-183.

Oxford, R. L. (2011). Cooperative Learning, Collaborative Learning, and Interaction: Three Communication Strands in Language Classroom. The Modern Language Journal, 81(4), 443-456.

Phan, T. L. (2020). Utilizing Group Work Effectively in EFL Class to Enhance

Students’ Speaking Ability. American Journal of Sciences and Engineering

Research, 3(6). 12-19.

Phoumilay, P. (2014). The Development of Learning Management Strategy

using Professional Learning Community Approach and Collaborative Learning in

Authentic Situations for Enhancing Professional Competencies of Vocational

Teachers in Loa PDR. Doctor Thesis in Learning Management Strategy, Udon

Thani Rajabhat University.