ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยวซ้ำเชิงจิตวิญญาณของนักท่องเที่ยวชาวจีน กรณีศึกษาพระพรหมเอราวัณ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พรทิรา ดาราจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้น ที่จะศึกษาเรื่องปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการเดินทางท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ ของนักท่องเที่ยวชาวจีน กรณีศึกษาพระพรหมเอราวัณ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้1)  เพื่อศึกษาปัจจัยผลักดันทางการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยดึงดูดทางการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีอิทธิพลต่อการตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Approach)ซึ่งมีประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณชาวจีน ที่เดินทางมาท่องเที่ยวพระพรหมเอราวัณกรุงเทพมหานคร จำนวน 160 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวบข้อมูล และใช้สถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูลหาอิทธิพลของแรงจูงใจที่มีต่อความพึงพอใจและความพึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำการศึกษาครั้งนี้มีผลประโยชน์ต่อทางด้านวิชาการ ได้แก่ ช่วยเติมเต็มช่องว่างทางการศึกษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ ในฝั่งอุปสงค์ (Demand) เกี่ยวกับปัจจัยแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณต่อความพึงพอใจและการตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ สำหรับทางด้านการปฏิบัติการได้แก่ผู้ประกอบการสามารถนำผลการวิจัยไปปรับใช้ในการเติมเต็มความ ต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต้องการเฉพาะด้าน รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว คือ จุดหมายปลายทาง ให้ตอบสนองต่อความต้องการอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความพึงพอใจและ ตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำอีก


          ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยผลักดัน ด้านการผ่อนคลาย ด้านความสมบูรณ์ทางกายภาพ และด้านการตอบสนองต่อตนเอง มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ กรณีศึกษา พระพรหมเอราวัณ กรุงเทพมหานคร 2) ปัจจัยดึงดูด ด้านสิ่งดึงดูดใจของสถานที่ท่องเที่ยว และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ กรณีศึกษา พระพรหมเอราวัณ กรุงเทพมหานคร และ 3) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีน มีอิทธิพลต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ กรณีศึกษา พระพรหมเอราวัณ กรุงเทพมหานคร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว (Tourism

Economic Review). กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

นวพร บุญประสม, เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา, ศุภลักษณ์ สุริยะ, อติ เรียงสุวรรณ, ประวีร์ เหวียน

ระวีและ วัลยา ชูประดิษฐ์. (2564). แรงจูงใจและการรับรู้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาเที่ยวซ้ำ กรณีศึกษา: วัดสำคัญใน

จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ใน

พระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 27(1), 113-127.

ชื่นนภา นิลสนธิ. (2559). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะด้านการพัฒนาการฟื้นฟูจิตวิญญาณ:

ปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและการตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ

กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตมหาบัณฑิต สาขาการ

จัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

เลิศพร ภาระสกุล. (2559). อิทธิพลของแรงจูงใจปัจจัยผลักที่มีต่อแรงจูงใจปัจจัยดึงของ

นักท่องเที่ยวชาวจีนที่ เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(96),

-92.

อธิป จันทร์สุริย์. (2564). HOTEL + HOSPITAL = HOSPITEL: กลยุทธ์การปรับตัวของธุรกิจ

โรงแรมภายใต้สถานการณ์โรคระบาด COVID-19. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการ

จัดการ, 8(2), 114-115

Chompton, J. L. (1979). Motivations of pleasure vacations. Annals of Tourism

Research, 6(4), 408-424.

Feng, B. (2022). The impact of trip value perception and perception of

Thailand’s culture on Chinese tourists’ intention to revisit Thailand

after COVID-19. Master Thesis in Hospitality and Tourism Industry

Management, Graduate School, Bangkok University