ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางที่มีต่อความรู้ด้านคำศัพท์และความสามารถด้านการฟัง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ฮ่าว เฉิน
สุภัทรา วันเพ็ญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาจีนและความสามารถด้านการฟังภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอุดรวิทยา จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง 2) แบบวัดความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาจีน และ 3) แบบวัดความ สามารถในการฟังภาษาจีน ดำเนินการวิจัยจำนวน 24 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent samples t-test และ Pearson correlation ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้


1. ความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2. ความสามารถด้านการฟังภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียน
โดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3. ความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาจีนและความสามารถด้านการฟังภาษาจีนหลังเรียนมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลระดับความ สัมพันธ์มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลนรี นุกิจรังสรรค์ และ กรองจันทน์ จันทรพาหา. (2564). การศึกษาเบื้องต้นว่าด้วยนักศึกษาจีนในไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

ดารุณี คำมูล. (2552). การศึกษาความสามารถด้านการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยวิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธัญลักษณ์ ทุมพิลา, นฤภรณ์ วุฒิพันธุ์ และ นารีนารถ กลิ่นหอม. (2562). การพัฒนาความ สามารถด้านการฟังภาษาจีน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง Total Physical Response (TPR) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนครขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42(4), 79-88.

ยุกตะนันท์ ดีนาน. (2563). การพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอน แบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต.

สุทธิดา ชัยประสิทธิ์ และ ชวลิต เกตุกระทุ่ม. (2565). การพัฒนาความสามารถในการจำคำศัพท์วิชาภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 9(1), 146-153.

หยุนหนิง หยาง. (2563). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดคำศัพท์ภาษาจีนโดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต.