ปัจจัยพยากรณ์ความสำเร็จในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน: กรณีศึกษาจังหวัดชายแดนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถอดบทเรียนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนต้นแบบ 2) พัฒนา และตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลองเชิงสาเหตุปัจจัยพยากรณ์ความสำเร็จในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของตัวแปรต่าง ๆ ในแบบจำลอง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ (1) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่มกับผู้นำและสมาชิกวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการรวมกลุ่ม จำนวน 2 ชุมชน และไม่ประสบความสำเร็จ 1 ชุมชนของจังหวัดเชียงราย และ (2) การวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีการสำรวจประชาชนในเขตชายแดนภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครพนม และภาคใต้ จังหวัดสงขลา จำนวน 424 คน ผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า องค์ประกอบด้านธรรมชาติ คน สังคม การเมือง/นโยบายการค้า การค้า โครงสร้างพื้นฐาน ศิลปวัฒนธรรม การเงิน และการสื่อสารเป็นปัจจัยที่ทำให้วิสาหกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง และคนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกชุมชน ในขณะที่ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ปัจจัยด้านการเมือง/นโยบายการค้า ด้านการค้าและด้านการสื่อสาร มีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชน ในขณะที่ปัจจัยด้านการเงินมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงลบต่อระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชน
Downloads
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น
References
กรมการปกครอง. (2556). วิสาหกิจชุมชน: กลไกเศรษฐกิจฐานราก (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2558). กระทรวงเศรษฐกิจประสานมือบูรณาการนโยบายสร้างความเข้มแข็ง SMEs ขับ เคลื่อนเศรษฐกิจไทยจากภายในสู่ภายนอก. วันที่ค้นข้อมูล 7 กรกฎาคม 2560, จาก https://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=13687
กาญจนา แก้วเทพ. (2552). สื่อเล็ก ๆ ที่น่าใช้ในงานพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์.
คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจฐานราก. (2559). การส่งเสริมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานราก (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
ณัฐกานต์ บุญอยู่. (2559). การสื่อสารการตลาดสําหรับสินค้าชุมชน. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 12(5),153-162.
ณัฐนันท์ วิริยะวิทย์. (2559). การวิจัยเรื่องการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์อย่างมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 6(2), 99-109.
ไตรรัตน์ ยืนยง. (2558). รอบรู้เรื่องประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
ทอแสงรวี ถีถะแก้ว. (2555). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนวัฒนธรรม เศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ฝั่งตะวันออก จังหวัดปทุมธานี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 4(8), 39-52.
เปิดพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ. (2559). วันที่ค้นข้อมูล 15 ตุลาคม 2560, จาก https://www.realist.co.th/blog/เขตเศรษฐกิจพิเศษ/
พัชนี เชยจรรยา. (2560). ปัจจัยการสื่อสารและความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประชาชนในเขตชายแดน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พัชราภา สิงห์ธนสาร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เขตตำบลแม่วงก์ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(1), 57-69.
พิทยา ว่องกุล. (2556). เงิน มิใช่เป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. ใน ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ และพิทยา ว่องกุล. (บรรณาธิการ), วิสาหกิจชุมชน: กลไกเศรษฐกิจฐานราก (หน้า 41-70). กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง.
เพ็ญพร ปุกหุต, พิเชษฐ์ พรหมผุย, และดุจรพี เนตรสาย. (2555). สภาพและปัญหาในการดำเนินงานกิจการวิสาหกิจชุมชน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 8-20.
ยุทธ์ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติสำหรับงานวิจัยหลายตัวแปร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมการปกครอง. (2559). สถิติประชากร. วันที่ค้นข้อมูล 16 มิถุนายน 2560, จาก https://stat.dopa.go.th/stat/
รังสิตา บุญโชติ, และอาแว มะแส. (2559). การมีส่วนร่วมในวิสาหกิจชุมชนกับคุณภาพสังคมของประชาชนในชุมชนท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการบริหารการพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร ประจำปี 2559 (หน้า 106-119). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศิริพร ยอดกมลศาสตร์. (2556). การผลิตอุตสาหกรรมดอกไม้และผลไม้ประดิษฐ์ของหมู่บ้านไทยกับเศรษฐกิจพึ่งพา. ใน ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ และพิทยา ว่องกุล. (บรรณาธิการ), วิสาหกิจชุมชน: กลไกเศรษฐกิจฐานราก (หน้า 71-88). กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง.
สมาคมสโมสรนักลงทุน. (2559). รัฐบาลออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนท้องถิ่น ตั้งเป้าพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก หนุนลงทุนแปรรูปเกษตร ต่อยอดนวัตกรรม OTOP ส่งเสริมการตลาด สร้างความยั่งยืนจากภายใน. วันที่ค้นข้อมูล 10 ตุลาคม 2560, จาก https://ic.or.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=794&catid=12&Itemid=238
สังวรณ์ งัดกระโทก. (2557). โมเดลสมการโครงสร้างสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (เอกสารประกอบการสอน). ม.ป.ท.
สัญญา เคณาภูมิ. (2558). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2(3), 68-85.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: หจก. สามลดา.
สุธิดา แจ้งประจักษ์. (2560). กระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างมีส่วนร่วม: กรณีศึกษากลุ่มซอสพริกป่าพุ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(47), 95-121.
“อาเซียน” โอกาสสำคัญ พลิก “เชียงราย” สู่เบอร์หนึ่งภาคเหนือ! (2556). วันที่ค้นข้อมูล 10 ตุลาคม 2560, จาก https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1383129488
Beard, V. A. (2005). Individual determinants of participation in community development in Indonesia. Environment and Planning C: Government and Policy, 23(1), 21-39.
Fey, S., Bregendahl, C., & Flora, C. (2006). The measurement of community capitals through research. Journal of Rural Research & Policy, 1(1), 1-28.
Flora, C. B., Flora, J. L., & Gasteyer, S. P. (2015). Rural communities: Legacy + Change: Avalon Publishing. Grey-Felder, D. (2001). Making wave: Stories of participatory communication for social change. New York, NY: The Rockefeller Foundation.
Onyx, J. & Bullen, P. (2000). Measuring social capital in five communities. The Journal of Applied Behavioral Science, 36(1), 23-42.
Suggs, L. S. & Ratzan, S. C. (2012). Global e-health communication. In R. Obregon & S. Waisbord (Eds.), The handbook of global health communication (pp. 250-260). UK: Wiley-Blackwell.