การเปรียบเทียบกลวิธีการสร้างคำเรียกสีไม่พื้นฐานในภาษาล้านนา 5 ช่วงสมัย A Comparison of Strategies in Constructing Non-Basic Color Terms in the Lanna Language in 5 Periods
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบกลวิธีการสร้างคำเรียกสีไม่พื้นฐานในภาษาล้านนา 5 ช่วงสมัย ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์เป็นข้อมูลจากจารึก และเอกสารภาษาล้านนาที่ปริวรรตเป็นภาษาไทยมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าภาษาล้านนา พ.ศ. 1898-2100 ไม่ปรากฏข้อมูลคำเรียกสีไม่พื้นฐาน ส่วนภาษาล้านนา พ.ศ. 2101-2316, พ.ศ. 2317-2474, พ.ศ. 2475-2503 และ พ.ศ. 2504-2560 มีคำเรียกสีไม่พื้นฐาน 277 คำ พบกลวิธีการสร้างคำเรียกสีไม่พื้นฐาน 4 กลวิธี ได้แก่ 1) การรวมคำเรียกสีพื้นฐานกับคำเรียกสีพื้นฐาน 2) การขยายคำเรียกสีพื้นฐาน 3) การขยายคำเรียกสีไม่พื้นฐาน และ 4) การนำคำเรียกสิ่งของเฉพาะมาสร้างเป็นคำเรียกสี จากการเปรียบเทียบการใช้กลวิธีการสร้างคำเรียกสีไม่พื้นฐานทั้งกลวิธีหลักและกลวิธีย่อยพบว่า กลวิธีที่ใช้มากที่สุด คือ กลวิธีการขยายคำเรียกสีพื้นฐานด้วยคำบอกลักษณะหรือคุณสมบัติและกลวิธีที่ใช้น้อยที่สุด คือ กลวิธีการรวมคำเรียกสีพื้นฐาน 7 คำ และกลวิธีการนำคำเรียกสิ่งของเฉพาะมาสร้างเป็นคำเรียกสีและขยายคำเรียกสิ่งของเฉพาะด้วยความเปรียบ
Downloads
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น
References
ธีระ รุ่งธีระ. (2554). ภาพสะท้อนทางสังคมและวัฒนธรรมจากคำเรียกสีในภาษาฝรั่งเศส. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร, 33(2), 271-291.
วิพาที ทิพย์คงคา. (2553). คำเรียกสีในภาษาไทยสมัยอยุธยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาศาสตร์ประยุกต์,
บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศุภมาส เอ่งฉ้วน. (2543). คำเรียกสีและมโนทัศน์เรื่องสีของคนไทยสมัยสุโขทัยและสมัยปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2557). ประวัติศาสตร์ล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สาริสา อุ่นทานนท์. (2550). คำเรียกสีในภาษาลาว. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 24(1), 33-46.
อภิญญา เพชรวิชิต. (2545). การสร้างคำเรียกสีในภาษาไทยและภาษาลาว. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2538). คำเรียกสีและการรับรู้สีของชาวจ้วงและชาวไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2524). ระบบการเขียนอักษรลานนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2546). วรรณกรรมล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Berlin, B. & Kay, P. (1969). Basic Color Terms: Their Universality and Evolution. Berkeley and Los Angeles: University of California Press.
Crawford, T. D. (1982). Defining “Basic Color Terms”. Anthropological Linguistics, 24(3), 338-343.
Kay, P. & McDaniel, C. K. (1978). The Linguistic Significance of the Meanings of Basic Color Terms. Language,
54(3), 610-646.