การแก้กรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท Kamma Rectification in Theravada Buddhist Philosophy

Main Article Content

กรฤทธ์ ปัญจสุนทร
สกุล อ้นมา
บุญเลิศ ยองเพ็ชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องกรรมและการแก้กรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท และ 2. เพื่อวิพากษ์แนวคิดเรื่องการแก้กรรมในสังคมไทย โดยสืบค้นข้อมูลจาก พระไตรปิฎก อรรถกถา รวมถึงหนังสือ วารสาร บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า “กรรม” หมายถึง การกระทำที่เกิดจากเจตนา แล้วแสดงออกทางกาย และทางวาจา และให้ผลตามแต่ปัจจัย และกำลังของกรรม ทำให้เราต้องเวียนวายตายเกิด ตราบเท่าที่เรายังไม่ “สิ้นกรรม” หรือ “ดับกรรม” ด้วยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 จนสิ้นกิเลส ในขณะที่วิธีการแก้กรรมที่ปรากฏ ในสังคมไทยก็จะเป็นการทำบุญด้วยการบริจาคทาน เข้าวัด ปฏิบัติธรรม บูชาเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ สวดมนต์คาถา หรืออาศัยผู้ทำพิธีเป็นคนกลางสื่อสารกับเจ้ากรรมนายเวร แนวคิดแบบนี้ของคนไทยนั้นมีทั้งส่วนที่ขัดแย้งและสอดคล้องกับหลักคำสอนเรื่องกรรมในพุทธศาสนา ในส่วนที่ขัดแย้ง คือ มองว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับตนเองเป็นผลจากการกรรมเก่า รวมถึงมีการบูชาเทพเจ้าเพื่อแก้กรรม แต่อย่างไรก็ตาม คนไทยก็ยังเชื่อในการทำบุญตามหลัก คำสอนในพุทธปรัชญาเถรวาท และการแก้กรรมด้วยการทำบุญหรือทำความดีนั้น ไม่ขัดกับหลักคำสอนเรื่องกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท โดยอาศัยผลของกรรมดีที่ได้ทำในปัจจุบันแก้ผลของกรรมในอดีต  

Downloads

Article Details

บท
บทความ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 13. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 18. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 20. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 22. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2537). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหามกุฎราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). ปฏิกรรม (ตอนที่2) คนที่แก้กรรมจะงอกงามก้าวหน้า. วันที่สืบค้นข้อมูล14 ธันวาคม
2559, จาก https://www.openbase.in.th/node/6803.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 18). นนทบุรี: โรงพิมพ์
เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). เชื่อกรรม-รู้กรรม-แก้กรรม (พิมพ์ครั้งที่ 42). นครปฐม: บริษัท จ.เจริญ อินเตอร์พริ้น (ประเทศไทยจำกัด) จำกัด.

พระไพศาล วิสาโล (2552). เชื่อกรรมอย่างไรไม่ให้ตกต่ำ (ออนไลน์). วันที่สืบค้นข้อมูล 29 มีนาคม 2560, จาก https://www.budnet.org/article/?p=221.

พจนานุกรมธรรมของท่านพุทธทาส. (ม.ป.ป.). กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

วีระวัฒน์ ชลสวัสดิ์. (2559). แก้กรรม ตามคำพระพุทธเจ้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ กรีน ปัญญาญาณ.

สุชาดา วสุธาร. (2553). ความเชื่อเรื่องการแก้กรรมในสังคมไทยปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชา
พุทธศาสน์ศึกษา, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อำนาจ ยอดทอง. (2557). “การแก้กรรม” ตามนัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา. วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย,9 (2),
1-44.

“หมอปลา” แนะวิธีกรวดน้ำที่ถูกต้อง ควรกรวดให้ตัวเองก่อน เพื่อเป็นกำแพงบุญ. (2560). วันที่สืบค้นข้อมูล 31 สิงหาคม 2560, จาก
https://horoscope.sanook.com/113493/.