อรรถรสในภาพ : การวิเคราะห์องค์ประกอบ การสื่อสารทางอารมณ์ และยุคสมัยของภาพถ่ายอาหารที่กระตุ้นความต้องการของผู้บริโภค

Main Article Content

วรพรรณ สุรัสวดี

บทคัดย่อ

พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันนิยมใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social media) มากขึ้นใน
การแลกเปลี่ยนข้อมูล ค้นหาเรื่องราวทุกที่ทุกเวลาและหลากหลายช่องทาง เช่น Facebook, Instagram, Line เป็นต้น ทำให้รูปแบบการสื่อสารด้านการตลาดต้องเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้ตอบสนอง ให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค ทั้งในสื่อสังคมออนไลน์มีข้อมูลจำนวนมาก ผู้ประกอบการจึงต้องหาวิธีทำให้ผู้บริโภคเกิดความประทับใจได้อย่างรวดเร็ว โดยการมองเห็นเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการรับรู้ได้เร็วที่สุด


          เมื่อมีภาพอยู่ในสื่อจำนวนมากผู้ประกอบการโดยเฉพาะด้านอาหารจึงต้องพัฒนาการถ่ายภาพให้โดดเด่น น่าสนใจมากขึ้น ดังสุภาษิตที่ว่า “ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง” จากอดีตที่เคยนิยมถ่ายภาพแบบเน้นความงามของอาหาร รายละเอียด ความชัดเจนของอาหารแต่ละจาน วิธีการจัดวางตามรูปแบบศิลปะตะวันตก แต่ปัจจุบันนอกจากต้องถ่ายภาพให้ดูน่ากิน แปลกตาแล้ว ยังต้องสร้างบรรยากาศ
สร้างเรื่องราวมากขึ้น เพื่อกระตุ้นความต้องการและความสนใจของผู้บริโภค โดยการเล่าเรื่องเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้บริโภคเกิดการจดจำสินค้าหรือกิจการได้ดีมากขึ้น ทั้งนี้ผู้ถ่ายภาพต้องมีความรู้ด้านการจัดองค์ประกอบภาพและเข้าใจการใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพด้วย

Article Details

บท
บทความทางวิชาการ (Academic Article)

References

กนกรัตน์ ยศไกร. (2551). การถ่ายภาพเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

ฑิตาพร รุ่งสถาพร. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภคต่อการซื้อสินค้าบนช่องทางออนไลน์ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และพิษณุโลก (การค้นคว้าอิสระ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นจาก http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/4476

ณัฐกร สงคราม. (2557). การถ่ายภาพ : เทคนิคและการนำไปใช้เพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรพล ภูรัต. (2547). การสร้างสรรค์งานโฆษณา = Advertising creative strategy. กรุงเทพฯ: แผนกตำราและคำสอน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ผู้จัดการออนไลน์. (2564). Foodpanda ถ่ายภาพอาหารให้ฟรี เพิ่ม “ยอดชม-ออเดอร์-ยอดขาย”. สืบค้น 10 มกราคม 2565). จาก https://mgronline.com/business/detail/9640000087337.

พัชรพร เหลืองอุษากุลม. (2557). รู้ลึกพฤติกรมผู้บริโภค. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์บุ๊คส์.

วิมลพรรณ อาภาเวท. (2553). หลักการโฆษณาและประชาสัมพันธ์. พิมพ์คร้ังที่ 1. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ. (2564). สื่อออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกการท่องเที่ยวเชิงอาหารในประเทศไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 37-56. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/249504

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). ธุรกิจร้านอาหารปี 65 คาดพลิกกลับมาฟื้นตัวร้อยละ 5.0 – 9.9 การแพร่ระบาดของ Omicron และต้นทุนวัตถุดิบยังคงเป็นความท้าทายสำคัญ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3299). สืบค้น 10 มกราคม 2565. จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business /Pages/restaurant-z3299.aspx

กาลัญ วรพิทยุต. (2562). การโฆษณากับการปรับตัวเข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4. รายงานการวิจัย, คณะนิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

อภิวรรณ ศิรีนันทนา. (2558). การโฆษณาและพฤติกรรมผู้บริโภค. ตำราประกอบการเรียนหลักสูตรนิเทศศาสตร์, กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

เอกนฤน บางท่าไม้. (2556). การจัดองค์ประกอบสำหรับการถ่ายภาพ. นนทบุรี : ไอดีซี พรีเมียร์.

Nicole S. Young. (2556). Food Photography สูตรเด็ดเคล็ด (ไม่) ลับการถ่ายภาพอาหาร From Snapshots to Great Shots [Food Photography: From Snapshots to Great Shots] (ธันยาพร กฤษณพันธ์, แปล). กรุงเทพฯ: ทรู ดิจิตอล คอนเท้นท์ แอนด์ มีเดีย. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 2012).

Number24. (ม.ป.ป.). ประวัติศาสตร์การถ่ายรูปอาหารตั้งแต่ ค.ศ 1800 - ปัจจุบัน. สืบค้น 10 มกราคม 2565. จาก https://number24.co.th/article/history-of-food-photography-blog-thai.