กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถาบันการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

รชนีกร มัคคสมัน
อุมาพร ไชยจำาเริญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน แนวทาง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ผู้บริหารและครูสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 38 คน และครูผู้สอน จำานวน 267 คน รวมทั้งสิ้น 305 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) แบบลิเคอร์ท (Likert’ Scale Type) วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการผู้นำา ด้านการควบคุมและติดตาม ด้านการปรับปรุงและพัฒนา 2) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ เป้าหมาย กลยุทธ์ และตัวชี้วัด โดยมี 6 เป้าหมาย 20 กลยุทธ์ ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร พบว่า กลยุทธ์ส่วนใหญ่มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ความเหมาะสมในระดับมาก ความเป็นไปได้ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด จึงควรนำกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นนี้สู่การปฏิบัติ และควรมีการนิเทศติดตามการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมของกลยุทธ์อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). การติดตามและประเมินผลการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12.กรุงเทพมหานคร : สำานักนายกรัฐมนตรี.

สำานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2554).ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติของสำานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นโยบาย ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำาลังคนอาชีวศึกษา ในระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2555-2569). กรุงเทพมหานคร : สำานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. (2552). [ออนไลน์]. ข้อเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) ด้านการพัฒนาอาชีวศึกษา. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2562].จาก http://v-cop.net/file/develop.pdf.

อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล. (2556). [ออนไลน์]. อาชีวศึกษากับการพัฒนาประเทศ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2559]. จาก http://www.bme.vec.go.th

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น.(พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : บริษัท สุวีริยาสาส์นจำากัด.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 10).กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์.

จิรวิทย์ มั่นคงวัฒนะ. (2555). [ออนไลน์].การบริหารงานวิชาการ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2559]. จาก https://www.gotoknow. org/posts/344746.

ทัศนี วงศ์ยืน. (2561). [ออนไลน์]. การบริหารงานวิชาการ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2562]. จาก https://mystou.files.wordpress.com/2012/02/23503-4-k.pdf.

สุนีย์ ชัยสุขสังข์. (2557). กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนทางเลือก.ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2549). การจัดการสมัยใหม่ (Modern Management). กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

Gulick L., & Urwick., L. (1973). Paper on the science of ministration. New York : McGraw-Hill.

Bovee, L. C., Thill. J.V., Wood, M.B. and Dovel, G. P. (1993). Management. New York : McGraw-Hill.

Koontz, H. and O’Donnell. (2001). Essentials of management. (3rd). New Delhi : TATA.

นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. (2551). คิดกลยุทธ์ด้วย SWOT. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

จารุณี ไกรแก้ว. (2557). [ออนไลน์]. การจัดทำแผนกลยุทธ์. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2562]. จาก http://www.oaep.go.th/images/news/20120214113850.pdf.

ปณตนนท์ เถียรประภากุล. (2559). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. สาขาวิชาบริหารการศึกษา. วิทยาลัยการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.

สิริมนต์ นฤมลสิริ. (2557). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2560). กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2. 193-195.