สัมฤทธิผลการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบโครงงานเป็นฐาน ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ แบบกลุ่มสัมฤทธิ์ ในรายวิชาเขียนแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลด้วยคอมพิวเตอร์

Main Article Content

ประพรรณ เกษหอม
สุนทร ก้องสินธุ
ณัฐวิชช์ สุขสง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสัมฤทธิผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มสัมฤทธิ์วิชาเขียนแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลด้วยคอมพิวเตอร์ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสัมฤทธิผลการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มสัมฤทธิ์วิชาการเขียนแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินสัมฤทธิผลการจัดการเรียนการสอนและ แบบประเมินความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 แผนกช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี จำนวน 36 คน ด้วยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินภาพรวมของสัมฤทธิผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มสัมฤทธิ์ในรายวิชาเขียนแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลด้วยคอมพิวเตอร์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี ทั้งด้านกระบวนการเรียนการสอนและด้านความรู้ เนื้อหา และความพึงพอใจที่มีต่อสัมฤทธิผลการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มสัมฤทธิ์วิชาการเขียนแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลด้วยคอมพิวเตอร์ พบว่า ครูผู้สอนต้องบริหารปัจจัยด้านกระบวนการเรียนการสอน ในเรื่องของแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ที่จัดเตรียมให้กับนักเรียนให้สามารถนำความรู้ไปใช้งานได้จริงในขณะเรียน รวมทั้งเนื้อหาในการเรียนการสอนต้องมีความต่อเนื่อง ความชัดเจน และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด

ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (2562 ). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร :สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

กฤษฎา ทองเชื้อ. (2560). การพัฒนาการเรียนรู้แบบผสมผสานผ่านบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่องการทำางานแบบมีเงื่อนไขและวนซ้ำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ภานุวัฒน์ ศรีไชยเลิศ และกฤช สินธนะกุล.(2560). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน ร่วมกับการจัดแผนการสอนแบบฐานสมรรถนะในรายวิชา การบริหารและการบริการอินเทอร์เน็ตสำาหรับนักศึกษาสาขาวิชา

คอมพิวเตอร์ศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. ฉบับที่ 3

ชูศรี สนิทประชากร. (2534). หลักการสอน. คณะวิชาครุศาสตร์.ภาควิชาหลักสูตรและการสอน. คณะวิชาครุศาสตร์. วิทยาลัยครูจันทรเกษม

ดุษฎี โยเหล่า และคณะ. (2557). [ออนไลน์]. การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน ที่ปรับจากการศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำาเร็จของโรงเรียนไทย.[สืบค้นวันที่ 5 มกราคม 2563]. จาก https://candmbsri.wordpress.com/2015/04/08/การจัดการเรียนรู้แบบใช-2

สมลักษณ์ เทศประสิทธิ์. (2553). [ออนไลน์].การจัดการเรียนรู้แบบ STAD. [สืบค้นวันที่ 8 มกราคม 2563]. จาก https://sites.google.com/site/khunkrunong/3-1.

รวีวรรณ ชินะตระกูล, (2542), [ออนไลน์], วิธีการประมวลผลค่าทางสถิติ, [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563], จาก http://service.nso.go.th/statstd/method3_01.html

พัฒน์ชนน คงอยู่ และคณะ. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมโครงงานเป็นฐาน เรื่อง งานและพลังงาน กรณีศีกษา : โรงเรียนมัธยมวัดเขาสุกิม. วารสารแสงอีสาน มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ปีที่ 16.ฉบับที่ 2

เกียรติศักดิ์ วจีศิริ. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบนำาตนเองบนเว็บเพื่อเสริมสร้างความสามารถใน การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สิทธิพล อาจอินทร์ และธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์.(2554). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี.วารสารวิขัย มข : ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 หน้า 1-16