การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล: “หลักการ” และ “เครื่องมือ” เพื่อเสริม สร้างเด็กและเยาวชนพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ
คำสำคัญ:
สารสนเทศ, สื่อบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางการใช้การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) ในการเสริมสร้างให้เด็กและเยาวชนไทยเป็นพลเมืองรู้เท่าทันสื่อที่มีความรับผิดชอบ มีส่วนร่วม และมุ่งเน้น ความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งเป็นภาพสะท้อนจากการดำเนินงานและผลกระทบที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของ เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และ ดิจิทัล ของสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ตั้งแต่พ.ศ. 2557-2561 โดยบทความนำเสนอการใช้ MIDL ใน เชิง“หลักการ” ที่มีเป้าหมายหรือผลลัพธ์ของกระบวนการ คือ เด็กและเยาวชนสามารถบริโภคสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน การใช้เป็น “เครื่องมือ” ในการขับเคลื่อนงานเชิงพื้นที่และเชิงประเด็น เพื่อผลักดัน สังคมไปสู่การเป็น “เมืองทั่วถึง” (inclusive city) และการใช้ทั้ง “หลักการและเครื่องมือ” ในการพัฒนาทักษะ MIDL ที่ผนวกรวมกับมิติด้านความเป็ นพลเมืองตื่นรู้โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิ ดขึ้นกับเด็กและเยาวชนตอกย้ำถึงคุณค่าของ MIDL ในการสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ใช้สื่ออย่างมีสำนึกและสติ (conscious awareness) อัน นำไปสู่การเกิดสำนึกรับผิดชอบ พลังในการสร้างสรรค์ และการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนสังคมประชาธิปไตยที่ให้ ความสำคัญกับการรับฟัง “เสียง” ของสมาชิกทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของความเป็น พลเมืองเชิงวิพากษ์ (critical citizenship)
References
นันทิยา ดวงภุมเมศ. (2561). รายงานการวิจัย “พื้นที่สร้างสรรค์”กับการสร้างความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยให้เยาวชนไทย (ระยะที่ 1). สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.
นันทิยา ดวงภุมเมศ. (2561). รายงานการวิจัย “พื้นที่สร้างสรรค์”กับการสร้างความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยให้เยาวชนไทย (ระยะที่ 2). สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.
นิธิดา แสงสิงแก้วและนันทิยา ดวงภุมเมศ. (2562). รายงานผลโครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ภายใต้โครงการขับเคลื่อนระบบสื่อสุขภาวะเด็กเยาวชน ของสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.
พนม คลี่ฉายา. (2559). “การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนมัธยม”. นิเทศศาสตรปริทัศน์ 20 (1) (กรกฎาคม-ธันวาคม), น. 46-57.
ปัณณพร ไพบูลย์วัฒนกิจ และปิยาพัชร เดชบุญ. (2562). รายงานผลโครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานสัปดาห์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ปี 2561 MIDL for Inclusive Cities:การสร้างเมืองของทุกคน. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.
ไทยรัฐออนไลน์. (2561). เด็กไทยติดเน็ตงอมแงม จับมือถือท่องออนไลน์แซงขึ้นอันดับโลก [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/news/business/1237244 , 23 ธันวาคม 2562
วิลาสินี อดุลยานนท์ (2554). “รู้เท่าทันสื่อ: พลังปัญญาที่จะนำพาสังคมออกจากวิกฤต” ใน ธาม เชื้อสถาปนศิริ (บรรณาธิการ). รู้ทันสื่อ. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท ครีเอชั่น. น. 304-307.
สถาบันสื่อเด็กแลเยาวชน และเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย. (ม.ป.ป.). กรอบแนวคิดพลเมืองประชาธิปไตย: เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล [เอกสารเผยแพร่]. กรุงเทพฯ: สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.
โสภิดา วีรกุลเทวัญ. (2562). รายงานโครงการศึกษาและวิเคราะห์การดำเนินงาน โครงการสัปดาห์รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ปี 2561 MIDL for Inclusive Cities: การสร้างเมืองของทุกคน. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.
Buckingham, D. (2003). Media education literacy, learning contemporary culture. UK: polity.
Celot, P. and Pérez Tornero, J.M. (2009). Study on assessment criteria for media literacy levels. Retrieved from https://ec.europa.eu/assets/eac/culture/library/studies/literacy-criteriareport_en.pdf, 25 December 2019
Center for Media Literacy. (2008). Literacy for the 21st Century: An Overview & Orientation Guide to Media Literacy Education. Retrieved from http://medialit.org/sites/default/ files/01a_mlkorientation_rev2.pdf, 23 December 2019
Collaborative for Inclusive Urbanism. (2019). What is an inclusive city?. Retrieved from http://www.inclusiveurbanism.org/, 25 December 2019
Choi, M. (2016). “A concept analysis of digital citizenship for democratic citizenship education in the internet age”. Theory and Research in Social Education, 44(4), pp. 1-43.
Gómez Galán, J. (2015). “Media education as theoretical and practical paradigm for digital literacy: an interdisciplinary analysis”. European Journal of Science and Theology, 11(3), pp. 31-44.
Hobbs, R. (1998). “Building citizenship skills through media literacy education” in M. Salvador and P. Sias, (Eds.) The public voice in a democracy at risk. Westport, CT: Praeger Press, pp. 57 -76.
Hobbs, R. & Moore, D. C., (2013). Discovering Media Literacy: Teaching Digital Media and Popular Culture in Elementary School. Thousand Oaks: Corwin Press.
Johnson, L. & Morris, P. (2010). “Towards a framework for critical citizenship education”. The Curriculum Journal. 21(1), pp. 77-96.
Katz, E. (1993). “The legitimacy of opposition: on teaching media and democracy”. in Media competency as a challenge to school and education: a German-North American dialogue Gutersloh, Germany: Bertelsmann Foundation Press, pp. 37-46.
Leaning, M. (2019). “An approach to digital literacy through the integration of media and information literacy”. Media and Communication, 7(2), pp. 4–13.
Livingstone, S. (2008). “Engaging with media–a matter of literacy?”. Communication, Culture & Critique, 1(1), pp. 51-62.
Masterman, L. (1990). Teaching the media. New York: Routledge.
Potter, J. (2016). Media literacy. 8th Ed. New Delhi: Sage.
Thornton, B. (2017). Media literacy: a foundation for citizenship. Retrieved from Literacy https://www.consortiumformedialiteracy.org/index.php?option=com_content&view=article&id=2&Itemid=32, 23 December 2019.
UNESCO (2013). Media and information literacy: policy and strategy guideline. The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization.
Westheimer, J. and Kahne, J. (2004). “Educating the “Good” citizen: political choices and pedagogical”. Political Science and Politics, 37 (2), pp. 241-247.