ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยในมุมมองของชาวอเมริกัน

ผู้แต่ง

  • อังศุมา เที่ยงประเทศ สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์, การรับรู้, การเปิดรับข่าวสาร, การท่องเที่ยวประเทศไทย

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศไทยของชาวอเมริกันในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย (2) การรับรู้ข่าวสารด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยของชาวอเมริกันในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย (3) ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยในมุมมองของชาวอเมริกันในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย (4) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรกับภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย และ (5) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารกับภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ประชาชนชาวอเมริกันที่อยู่ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย จำนวน 400 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน .ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และใช้สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบไคแสควร์

        จากผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยเปิดรับข่าวสารการท่องเที่ยวประเทศไทยจากโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล จากเพื่อน จากป้ายโฆษณา จากสื่ออินเทอร์เน็ต Facebook และจากกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ เช่น นิทรรศการมากที่สุด และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวมากที่สุด (2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวประเทศไทยอยู่ในระดับปานกลาง (3) ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยในมุมมองของชาวอเมริกันมลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (4) ประชาชนชาวอเมริกันที่อยู่ในมลรัฐแคลิฟอร์เนียที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และวัตถุประสงค์การท่องเที่ยวแตกต่างกันมีภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (5) การรับรู้ข่าวสารของประชาชนชาวอเมริกันที่อยู่ในมลรัฐแคลิฟอร์เนียมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กรมการท่องเที่ยว. (2557). สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยวธันวาคม 2558. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมการท่องเที่ยว. (2559). สถิตินักท่องเที่ยว. เข้าถึงได้จาก www.tourism.go.th/2010/th/statistic/tourism.php, สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2560.

ก่อกานต์ หมีทอง. (2557). ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการรับรู้ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร,คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2555). โครงการศึกษาภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยในสายตาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

จิรายุทธ์ สนดา. (2557). ภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยว และการรับรู้การประชาสัมพันธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อการกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รณชัย คงกะพันธ์. (2555). รายงานการวิจัย เรื่อง ภาพลักษณ์วิทยาลัยราชพฤกษ์ ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตในมุมมองของประชาชนจังหวัดภูเก็ต. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

อารยา วรรณประเสริฐ. (2542). ภาพลักษณ์ประเทศไทยในสายตานักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต), บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

Atkin, C. K., (1972). “Anticipated communication and mass media information-seeking” Public Opinion Quarterly, 36, 2 (Janaury) : pp. 188-199.

Becker, S. L., & Robert, C. L. (1983). Discovering mass communication. Glenview, Illinois : Scott, Foresman.

Belch, G. E., & Belch, M. A. (1998). Advertising and promotion: An integrated marketing communications perspective. (4th ed.). Irwin : McGraw-Hill.

Kim, H., & Richardson, S. L. (2003). “Motion picture impacts on destination images” Annals of Tourism Research, 30, 1 (January) : pp. 216-237.

Kotler, P (2000). Marketing management. Upper Saddle River, NJ. : Prentice Hall.

Kotler, P., Bowen, J., and Makens, J. C. (2003). Marketing for hospitality and tourism. New Jersey : Prentice Hall.

McCombs; M. E., & Becker, L. B. (1979). Using mass communication theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

State of California Department of Finance. (2016). Population statistic. Retrieved from www.suburbanstats.org, Accessed 11 March 2017.

Wang, Y., & Pizam, A. (2011). Destination marketing and management : Theories and applications. Cambridge : CAB International.

World Tourism Organization. (2013). UNWTO World Tourism Barometer. 11: pp. 1-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-01