การพัฒนาภาพยนตร์สั้นส่งเสริมการท่องเท่ียวในสังคมพหุวัฒนธรรม ย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ภาพยนตร์, การท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาภาพยนตร์สั้นส่งเสริมการท่องเที่ยวในสังคมพหุวัฒนธรรมย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา (2) เพื่อหาคุณภาพภาพยนตร์สั้นส่งเสริมการท่องเที่ยวในสังคมพหุวัฒนธรรมย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับชมภาพยนตร์สั้นส่งเสริมการท่องเที่ยวในสังคมพหุวัฒนธรรมย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นประชาชนผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้ารับชมสื่อภาพยนตร์สั้นส่งเสริมการท่องเที่ยวในสังคมพหุวัฒนธรรมย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา จำนวน 385 คน โดยใช้สูตรโดยใช้สูตรคอแครน หลังจากนั้นได้ทำการสุ่มตามสะดวก (Convenience Sampling) ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สื่อภาพยนตร์สั้นส่งเสริมการท่องเที่ยวในสังคมพหุวัฒนธรรมย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา แบบประเมินคุณภาพสื่อภาพยนตร์สั้นส่งเสริมการท่องเที่ยวในสังคมพหุวัฒนธรรมย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา แบบประเมินความพึงพอใจผู้รับชมสื่อภาพยนตร์สั้นส่งเสริมการท่องเที่ยวในสังคมพหุวัฒนธรรมย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐานหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x bar ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า (1) แบบประเมินคุณภาพสื่อภาพยนตร์สั้นส่งเสริมการท่องเที่ยวในสังคมพหุวัฒนธรรมย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการจัดองค์ประกอบภาพ ด้านเสียง และด้านเทคนิคการนำเสนอ พบว่า ผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย ( x bar ) เท่ากับ 4.19 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.64 (2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับชมที่มีต่อภาพยนตร์สั้นส่งเสริมการท่องเที่ยวในสังคมพหุวัฒนธรรมย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการจัดองค์ประกอบภาพ ด้านเสียงและด้านรายละเอียดของภาพยนตร์สั้น พบว่า ผู้รับชมสื่อภาพยนตร์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ( x bar ) เท่ากับ 4.30 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.58
References
จเร สุวรรณชาติ. ( 2562 ). เข้าถึงได้จาก www.tcdc.com 27 ตุลาคม 2562.
ธัญนพ เกสรสิทธิ์. (2556). การพัฒนาภาพยนตร์สั้นบนช่องทางสื่อใหม่เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย พระจอมเกล้าธนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี.
ธีรวุฒิ เอกะกลุ . (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
พรสิทธิ์ พัฒธนานุรักษ์. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาพนิ่งและภาพยนตร์ หน่วยที่ 1-7(พิมพ์ครั้งที่16). นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมราช.
เพ็ญนภา สมประกอบ. ( 2556 ). เข้าถึงได้จาก www.classroomacl.weebly.com 1 สิงหาคม 2562.
พิพิษณ์ สิทธิศักดิ์. ( 2556 ). ภาพยนตร์เบื้องต้น. นครปฐม : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล.
มณีกาญจน์ ไชยนนท์ และณัฐวุฒิ สุอินตา. (2558). การออกแบบภาพยนตร์ส่งเสริมการท่องเที่ยวบ้านหลวง ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม และคณะ. ( 2551 ). การเขียนบทภาพยนตร์สั้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เอกสารการสอนชุดวิชา การผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น . นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สืบสกุล ศรีสุข.( 2562). เข้าถึงได้จาก www.museumthailand.com 30 ตุลาคม 2562.