โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความภักดีในการติดตาม เพจเฟซบุ๊กเอฟซีบาเยิร์น มิวนิค ที เอช ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธวลิตร พชรพิสิฐโชติ วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

เพจเฟซบุ๊ก, ความภักดี, บาเยิร์นมิวนิค, โมเดลสมการโครงสร้าง

บทคัดย่อ

        งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความภักดีในการติดตามเพจเฟซบุ๊ก เอฟซี บาเยิร์น มิวนิค ทีเอชในประเทศไทยและเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่กดถูกใจและกดติดตามเพจเฟซบุ๊ก เอฟซี บา-เยิร์น มิวนิค ทีเอช ในประเทศไทย จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และโมเดลสมการโครงสร้างใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเพื่อหาเส้นทางอิทธิพลเชิงสาเหตุของตัวแปร ประกอบด้วย 5ด้าน ได้แก่ 1) ด้านประสบการณ์ 2) ด้านความไว้วางใจ 3) ด้านคุณค่าเชิงสุนทรียรส  4) ด้านคุณค่าเชิงอรรถประโยชน์ทางเนื้อหา  5) ด้านความภักดี ผลการวิจัยพบว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ 0.77 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความภักดีในการติดตามเพจเฟซบุ๊ก เอฟซี บาเยิร์น มิวนิค ทีเอชในประเทศไทย ได้ร้อยละ 77 พบว่า ด้านคุณค่าเชิงสุนทรียรสมีอิทธิพลมากที่สุดต่อความภักดีในการติดตามเพจเฟซบุ๊ก เอฟซี บาเยิร์น มิวนิค ทีเอชในประเทศไทย ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า คุณค่าเชิงสุนทรียรส ที่ได้แก่ความเพลิดเพลิน ความรู้สึกชื่นชอบที่ได้รับจากการติดตามเพจเฟซบุ๊ก เป็นปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อความภักดีในการติดตามเพจเฟซบุ๊ก เอฟซี บา-เยิร์น มิวนิค ทีเอชในประเทศไทย ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้เพื่อเป็นแนวทางการนำเสนอเนื้อหาผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊กอื่นๆ เพื่อให้ผู้ที่กดติดตามเพจเกิดความจงรักภักดี

References

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก:โพรเจ็คท์ ไฟฟ์-โฟว์ จำกัด.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พีรพัฒน์ ตุลยาเดชานนท์. (2555) การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความพึงพอใจ และความภักดีต่อตราสิน ค้าของสมาชิกเฟซบุ๊กแฟนเพจธุรกิจสินค้าในประเทศไทย คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้า 111

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2018.html

อรรถญา พิกุลพารุ่งโรจน์ และ ธนทรัพย์ สันทัดค้า. (2562). ปัจจัยสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดี ของแฟนบอลที่มีต่อสโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด มหาวิทยาลัยรังสิต หน้า 1538-1542

Berkman, H.W., Lindquist, J.D. & Sirgy, M.J. (1996). Consumer Behaviour.Lincolnwood,IL: NTC Business Books.

Delgado-Ballerster & Munuera-Aleman, (2005), “Does Brand Trust Matter to Brand Equity?”, Journal of Brand Management Vol.11, pp. 187-196

Kim, R., Yoon, D. H., Chao, Y., & Dang, N. (2015). Effects of brand experience and product involvement on brand loyalty for Vietnamese consumers. DLSU Business & Economics Review, 25(1), pp. 1-15.

Sahin, Zehir & Kitapçı, (2011), “The effects of brand experience and service quality on repurchase intention: The role of brand relationship quality”, African Journal of Business Management Vol.6 (45), pp. 11190-11201

Simon Kemp.(2019) : Digital 2019 : Thailand : Top google search queries in 2018. Retrieved from https://datareportal.com/reports/digital-2019-thailand

Yoo, Chul Woo, (2012), ”The Power of Trust in the Relationship between Online Shopping Experience and Perceived Shopping Value”, Asia-Pacific Journal of Business Venturing and Entrepreneurship”, Vol.7, No.1 pp. 47-56

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-01