กลวิธีการเล่าเรื่อง และการใช้ภาษาภาพยนตร์ ในภาพยนตร์ที่กำกับโดย หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล

ผู้แต่ง

  • ณัฐปคัลภ์ อัครภูริณาคินทร์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์, การเล่าเรื่อง, ภาษาภาพยนตร์

บทคัดย่อ

        การศึกษาคร้ังนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเล่าเรื่อง และการใช้ภาษา ภาพยนตร์ ในภาพยนตร์ที่กำกับโดยหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ภาพยนตร์ที่นำมาศึกษาคือภาพยนตร์ จำนวน 13 เรื่อง ประกอบด้วยเรื่อง เพลิงพิศวาส,ช่างมันฉันไม่แคร์,ฉันเป็นผู้ชายนะยะ,นางนวล,ความรัก ไม่มีชื่อ,มหัศจรรย์แห่งรัก,อันดากับฟ้าใส,ชั่วฟ้าดินสลาย,อุโมงค์ผาเมือง,จันดารา ปฐมบท,จันดารา ปัจฉิม บท,แผลเก่า และแม่เบี้ย

        ผลจากการศึกษาพบว่ามีกลวิธีการเล่าเรื่องดังน้ี1)โครงเรื่องพบว่าโครงเรื่องในภาพยนตร์ทั้ง13เรื่องนั้นใช้การลำดับเหตุการณ์ในการเล่าเรื่อง 5 ขั้นตอน คือการเริ่มเรื่อง (Exposition) การพัฒนาเหตุการณ์ (Rising Action) ภาวะวิกฤต (Climax) ภาวะคลีคลาย (Falling Action) การยุติเรื่องราว (Ending) การจบเรื่อง มี 4 แบบคือการจบเรื่องด้วยความสุขหรือความสำเร็จของตัวละคร(Happyending)การจบแบบโศกนาฏกรรม (Tragic ending) การจบแบบสมจริงในชีวิต (Realistic ending) และการจบแบบหักมุม (Surprise ending) 2) ตัวละคร พบว่า ลักษณะของตัวละครในภาพยนตร์ท้ัง 13 เรื่องนั้น มี 2 ประเภท คือ ตัวละครประเภทผู้ กระทำ และตัวละครประเภทผู้ถูกกระทำ 3) ฉาก พบว่า ฉากในภาพยนตร์ทั้ง 13 เรื่องน้ัน ฉากที่ใช้จะมีฉาก ที่เป็นธรรมชาติ ฉากที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ ฉากที่เป็นการดำเนินชีวิตของตัวละคร 4) มุมมองในการเล่าเรื่อง พบ ว่า มุมมองการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ท้ัง 13 เรื่องนั้น มี 2 ลักษณะ ได้แก่ มุมมองในการเล่าเรื่องแบบบุคคล ที่หนึ่ง และมุมมองการเล่าเรื่องจากมุมมองบุคคลท่ีสาม

        สำหรับผลจากการศึกษาเรื่องการใช้ภาษาภาพยนตร์ มีองค์ประกอบดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านแสงและ เงา พบว่า มีการใช้แสงที่เกิดจากธรรมชาติ (Natural Lights) และแสงจากแสงประดิษฐ์ (Artificial Lights) และมีการจัดแสงทั้งหมด 3 ลักษณะ คือจัดแสงแบบไฮคีย์ (High Key) จัดแสงแบบโลว์คีย์ (Low Key) และ จัดแสงแบบใช้ทิศทาง (Light Directionality) 2) องค์ประกอบด้านสี พบว่า มีการใช้องค์ประกอบด้านสีทั้งหมด 2 ลักษณะ คือ สีที่เกิดจากฉาก และสีที่เกิดจากการจัดแสง 3) องค์ประกอบด้านการถ่ายภาพยนตร์ (Cinema Photography) พบว่า มักมีการใช้ มุมกล้องแบบ Medium Shot เป็นส่วนใหญ่ 4) องค์ประกอบ ด้านเสียง (Sound) พบว่า มีการใช้เสียง บทสนทนา (Dialogue) เสียงประกอบ (Sound Effect) และเสียง ดนตรี (Music)

References

กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิณ; และ ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2542). จินตทัศน์แห่งเสรีชนและศิลปะการเล่าเรื่องในภาพยนตร์.ในจินตทัศน์ทางสังคมในภาษาสื่อมวลชน : ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ละครโทรทัศน์ มิวสิควีดีโอ ข่าวและโฆษณา. กรุงเทพฯ: โครงการสื่อสันติภาพ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

เขมิกา จินดาวงศ์ (2551). การวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ของอภิชาติพงศ์วีระเศรษฐกุล. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฉัตรีญาณ์ ทวีทุน (2555). อัตลักษณ์ของผี และความคิดเห็นของวัยรุ่น ที่มีต่ออัตลักษณ์ผีในสื่อภาพยนตร์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ปริญญา เกื้อหนุน. (2537). เรื่องสั้นอเมริกาและอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดี้ยนสโตร์.

พึงพิศ เทพปฏิมา. (2546). การถ่ายทอดความคิดเรื่องจิตวิญญาณในภาพยนตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน. บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2545). นักสร้าง สร้างหนังหนังสั้น. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนา จักกะพาก;และจิรยุทธ์ สินธุพันธุ์. (2545). จินตทัศน์ทางสังคมและกลวิธีการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ของ สัตยาจิต เรย์ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิสณฑ์ สุวรรณภักดี. (2555). ความเป็นประพันธกรในภาพยนตร์ของ อังเดร ทาร์คอฟสกี้. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการภาพยนตร์. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมสุข หินวิมาน; และคณะ. (2547). โครงการ เครือข่ายการสื่อสารกับศักยภาพการดำรงอยู่ของชุมชนศึกษากรณี ต.ทุ่งขวาง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เอกสิทธิ์ พันธุ์พูล. (2554). อัตลักษณ์ไทยในภาพยนตร์ของเชิดทรงศรี. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการภาพยนตร์. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-01