การดัดแปลงนวนิยายเรื่อง “เพลิงบุญ” สู่ละครโทรทัศน์

ผู้แต่ง

  • เพ็ญนภา ศรีบรรจง วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

นวนิยาย, ละครโทรทัศน์, การดัดแปลง

บทคัดย่อ

        งานวิจัยเรื่อง “การดัดแปลงนวนิยายเรื่อง เพลิงบุญ สู่ละครโทรทัศน์” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ ระเบียบวิธีวิจัย การวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) การวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) และ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) โดยส่ิงที่นำมาศึกษาได้แก่ ละครโทรทัศน์เรื่องเพลิงบุญ ซึ่งออก อากาศ ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 ในปี พ.ศ.2560 และการวิเคราะห์นวนิยายเรื่องเพลิงบุญสำหรับวัตถุประสงค์ ของการวิจัยได้แก่ 1 ศึกษาการดัดแปลงนวนิยายเรื่องเพลิงบุญสู่ละครโทรทัศน์ 2 ศึกษาปัจจัยท่ีมีผลต่อการ ดัดแปลงนวนิยายเรื่องเพลิงบุญสู่ละครโทรทัศน์ ผลของการศึกษาวิจัยพบว่าการดัดแปลงนวนิยายเรื่อง เพลิงบุญสู่ละครโทรทัศน์มีกลวิธีที่สำคัญดังนี้คือ มีการปรับเปลี่ยนตัวเรื่องมีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของ นวนิยาย และ มีการปรับเปลี่ยนการพัฒนาเรื่อง ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการดัดแปลงนวนิยายเรื่องเพลิงบุญสู่ ละครโทรทัศน์นั้นประกอบด้วย ปัจจัยด้านยุคสมัยปัจจัยด้านเนื้อเรื่อง ปัจจัยด้านผู้ชมละครโทรทัศน์ ปัจจัยด้านความยาวสื่อและปัจจัยด้านผู้ผลิตหรือผู้สร้างสรรค์

References

จิรมน สังณ์ชัย. (2560). การดัดแปลงนวนิยายชุดผ้า ของ พงศกร เป็นบทละครโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

นราพร สังข์ชัย. (2552). บทละครโทรทัศน์ไทย : กระบวนการสร้างสรรค์และเทคนิค. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ปิยพิมพ์ สมิตดิลก. (2541). การเชื่อมโยงเนื้อหา “นวนิยาย” ในสื่อสิ่งพิมพ์และในสื่อละครโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พทัยนุช บุศน้ำเพชร. (2556). กลยุทธ์ของผู้จัดละครโทรทัศน์ในกระบวนการสร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3 กรณีศึกษา “คุณยศสินี ณ นคร” วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต

องอาจ สิงห์ลำพอง. (2557). กระบวนการผลิตละครโทรทัศน์. กรุงเทพ:สามลดา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-01