บรรณาธิการข่าวออนไลน์ กับกฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ ศรีสุวรรณ สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ออนไลน์, บรรณาธิการข่าวออนไลน์, พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

บทคัดย่อ

        งานวิจัยเรื่อง “บรรณาธิการข่าวออนไลน์ กับกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในประเทศไทย” มุ่งศึกษากรณีการฟ้องร้องบรรณาธิการข่าวออนไลน์ หลังมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระ ทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ 2550 เพื่อชี้ให้เห็นถึงการนำเสนอข่าวสาร ที่เข้าข่ายความผิดตามพ ระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน โดยทำการ ศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผลการวิจัย สรุปเป็น 3 ประเด็น คือ หนึ่งจุดยืนเกี่ยวกับบทบาทในการรายงานข่าวออนไลน์ พบว่าสำนักข่าวออนไลน์ มีจุดยืนในการทำงานแตกต่างกัน สอง บรรณาธิการข่าวออนไลน์ที่ตกเป็นจำเลยคดีความเกี่ยวกับความ ผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีทั้งแอดมินเพจ ผู้สื่อข่าว บรรณาธิการข่าวออนไลน์ ผู้ให้บริการเว็บไซต์ ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ส่วนโจทย์ที่ฟ้องบรรณาธิการข่าวออนไลน์มี ทั้งบุคคล บริษัท หน่วยงานราชการ รวมทั้งสื่อฟ้องร้องสื่อกันเอง ข้อหาท่ีฟ้องร้องคือ หมิ่นประมาท กระทบ ต่อความมั่นคง เผยแพร่ส่งต่อข้อความละเมิดกฏหมาย จงใจสนับสนุนยินยอมให้เผยแพร่ข้อความละเมิด กฎหมาย และสามมุมมองเกี่ยวกับพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2560 พบ ว่าแม้จะตัดปัญหาฟ้องหมิ่นประมาท แต่เพิ่มข้อหาใหม่ซึ่งยังเป็นเครื่องมือในการเอาผิดจากการแสดงความ คิดเห็น หรือเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะในโลกออนไลน์

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2545). สื่อสารมวลชน : ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศาลาแดง.

ชาตรี ส่งสัมพันธ์. (2552). อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ : ศึกษาวิเคราะห์การเข้าถึงโดยมิชอบ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิชยุตม์ คูณทอง. (2550). การดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดบนอินเทอร์เน็ต:ศึกษาเฉพาะกรณีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาลี บุญศิริพันธุ์. (2550). วารสารศาสตร์เบื้องต้น: ปรัชญาและแนวคิด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุทธนา ศรีงาม. (2557). สิทธิเสรีภาพในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนไทยในสื่อใหม่ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สกุลศรี ศรีสารคาม. (2554). สื่อสังคม (social media) กับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อข่าว. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2545). การสื่อข่าว หลักเทคนิค. กรุงเทพมหานคร:ศูนย์หนังสือสวนสุนันทา.

Bellia, Patricia L. et al. (2004). Cyberlaw: Problems of Policy and Jurisprudence in the Information Age. 2nd ed. MN: Thomson West

Griffin Em (2012). A First Look at Communication Theory. New York: McGraw-Hill.

Lieb, T. (2009). All the News : Writing And Reporting for Convergent Media. Boston, MA: Pearson Education, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-01