โวหารภาพพจน์เพื่อการสื่อสารธรรมของสวนโมกขพลาราม จังหวัด สุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
โวหารภาพพจน์, การสื่อสารธรรม, สวนโมกขพลารามบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งน้ี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงการใช้โวหารภาพพจน์เพื่อการสื่อสารธรรมของสวนโมก ขพลาราม จังหวัด สุราษฎร์ธานี ในประเด็นการทำตนให้เข้าถึงหัวใจศาสนาของตน การพยายามช่วยกัน ถอนตัวออกจากอำนาจของวัตถุนิยม การพยายามทำความเข้าใจระหว่างศาสนา และเพื่อให้เข้าใจถึงปัจจัย ความสำเร็จของการสื่อสารหลักธรรมของพระวิทยากรสวน โมกขพลาราม แนวคิดและทฤษฎีท่ีนำมาใช้ เป็นแนวทางในการเข้าสู่ปัญหานำวิจัยได้แก่ แนวคิดการสื่อสารธรรม แนวคิดโวหารภาพพจน์ แบบจำลอง การสื่อสารของเบอร์โล ทฤษฎีการเรียนรู้ แนวทางการศึกษาเชิงสัญญาณศาสตร์ และภาษาภาพจิตรกรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ภาพจิตรกรรม แยกตามปณิธาน ๓ ประการของท่าน พุทธทาสภิกขุในเรื่อง การทำตนให้เข้าถึงหัวใจศาสนาของตน การพยายามช่วย กันถอนตัวออกจากอำนาจ ของวัตถุนิยม และการพยายามทำความเข้าใจระหว่างศาสนา โดยวิเคราะห์ภาพจิตรกรรมจำนวน ๑๙ ภาพ และสัมภาษณ์พระวิทยากรที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยความสำเร็จของการสื่อสารหลักธรรมของพระวิทยากรสวน โมกขพลาราม ผลการวิจัยดังนี้
(๑) โวหารภาพพจน์เพื่อการสื่อสารธรรมผ่านงานภาพจิตรกรรม ประกอบด้วยกลวิธีทางภาพและภาษา ดังนี้ ก) อุปมา ข) อุปลักษณ์ ค) สัมพจนามัย ง) อติพจน์ จ) บุคลาธิษฐาน ฉ) ปฏิทรรศน์ ช) ปฏิปุจฉา ซ) การ อ้างถึง ฌ) อุปมานิทัศน์ และ ญ) การแฝงนัย
(๒) ปัจจัยความสำเร็จของการสื่อสารหลักธรรมของพระวิทยากรมีองค์ประกอบสำคัญ ๓ ด้าน ดังนี้ ๒.๑ คุณลักษณะของพระวิทยากร ประกอบด้วย ก) มีความมั่นใจในลีลาแบบฉบับเป็นของตัวเอง ข) เป็นคนช่าง สังเกต ค) เป็นผู้มีไหวพริบปฏิภาณในการแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้า ง) มีการวางแผนที่ดี จ) มีความ คิด สร้างสรรค์ ฉ) มีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ดี ช) เป็นกัลยาณมิตรที่ดี ซ) มีความจริงใจในการถ่ายทอด ความรู้ ๒.๒ การกำหนดแนวเนื้อหา ประกอบด้วย ก) การจัดการศึกษาเรียนรู้ตามปัญหาที่จุดเริ่มต้นจากผู้ เรียน ข) การจัดการศึกษาเรียนรู้ในรูปแบบที่ค้นพบ ค) การจัดการศึกษาตามความคาดหวังของผู้เรียน และ ง) การจัดการศึกษาเรียนรู้ในรูปแบบธรรมชาติ ๒.๓ เทคนิคการสอน ประกอบด้วย ก) ต้องถ่ายทอดเป็น ข) มี เทคนิคต่างๆในการอบรม ค) มุ่งประโยชน์ต่อผู้รับฟังและผู้เข้ารับการอบรมเป็นสำคัญ และ ง) สร้างแรงจูงใจ ในการเรียนรู้เพื่อการขัดเกลา
References
เจ้าอธิการชัยชนะ สุขวฑฺฒโน (ฤทธิ์บันเทิง). (๒๕๕๔). การประยุกต์ธรรมเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. [Jao-Athikarn Chaichana Sukhavattano (Ritbunroeng). (2011). An Application of Dhamma for Proclaiming Buddhism of Thai sangkha. Master of Arts Buddhist Studies, Graduate School, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.]
นันทวรรณ รัตติวัธน์. (๒๕๕๔). การขัดเกลาทางสังคมของเด็กวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์ : กรณีศึกษา สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหา บัณฑิต, สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์. [Nanthawan Rattivat. (2011). An Approach and Measures for Teenage’s Socialization : A Case Study in a Rajvithi Home for Girls Organization. Master of Public and Private Management, Graduate School of Public Administration, National Institute of Development Administration.]
ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. (๒๕๓๐). ปรัชญาเมธีกับพุทธทาสภิกขุ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นำ้ฝน. [Thawiwat Puntarikwiwat. (1987). Savant Philosophy and The Buddhadasa’s. Bangkok : Rainwater Publishing.]
พระประสาน อิสฺสโร (เสมียนรัมย์). (๒๕๕๘). ศึกษาพฤติกรรมการรักษาศีล ๕ ที่มีผลต่อความ เครียดและความสามารถของนักเรียนโรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ ราษฎร์บูรณะ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. [Phra Prasan Isaro (Semiynramy). (2015). A study of Five precepts Observing whit Inflences to Tensions and Abilities of Students at Rattanajina Utit School, Ratburana, Bangkok : Mahachulalongkornrajavidyalaya University.]
พระมหาจิระศักดิ์ ธมฺมเมธี (สังเมฆ). (๒๕๔๔). การศึกษาวิเคราะห์เรื่องปัญหาภาษาในพระพุทธ ศาสนา : ศึกษาเฉพาะกรณีแนวคิดเรื่องภาษาคนภาษาธรรมของพุทธทาสภิกขุ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. [PhraMaha Jirasak Thammamethi (Sungmek). (2001). A Critical Study of The Language Proplem In Buddhism with The Special Reference to The Buddhadasa’s Concept of Everyday Language and Dhamma Language. Master of Arts Philosophy. Graduate School, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.]
พระสมัคร มุลทากุล. (๒๕๕๕). วิธีการใช้อุปมาในการสอนของพระพุทธเจ้า. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [Phra Samak Multagul. (2012). The Application of Metaphor in Buddha’s Teaching. Master of Arts Buddhism Studies. Graduate School, Chiang Mai University.]
อำนวย ยัสโยธา. (๒๕๔๖).ภมูปิญัญาการนำทางสู่เนื้อธรรมของท่านพุทธทาส.สงขลา:มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา. [Amnuay Yussayotha. (2003). The guiding wisdom of Buddhadhase for comprehending of Dhamma Virtue. Songkhla : Songkhla Rajabhat University.]
Barthes, Roland.(1999). Image Music Text. Translatedby Stephen Heath. New York : Hill and Wang.
Berlo, K. (1960). The Process of Mass Communication. New York : Hoit, Rinehart and Winston.
Lacey, Nick. (1998). Image and representation : Key concepts in Media Studies. London : Macmillan Press.
Pakpoom Hannapha and Grit Thonglert (2011). “The integration of image and text for communication in the mural paintings of Potharam temple in Nadoon district, Maha Sarakham province”. Procedia-Social and Behavioral Sciences 30 : 53-5.