ปัจจัยพยากรณ์การกระทำด้านส่ิงแวดล้อมของคนไทยต่างเจนเนอเรชั่น ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ ชุมพลบัญชร สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

เจนเนอเรชั่น, ปัจจัยพยากรณ์การกระทำด้านสิ่งแวดล้อม, สื่อ

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยพยากรณ์การกระทำด้านสิ่งแวดล้อม (ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการเป็นผู้นำ) ของคนไทยโดยรวมและแต่ละเจนเนอเรชั่น (Gen-B Gen-X Gen-Y และ Gen-Z) ในเขต กรุงเทพมหานคร โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ประชาชนไทยที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร 400 คน แบ่งเป็นเจนเนอเรชั่นละ 100 คน ผลการวิจัยพบ ว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย และมีการศึกษาอยู่ในระดับตำ่กว่าปริญญาตรี มากที่สุด 2) Gen-B, Gen-X และ Gen-Z มีการเปิดรับข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ โทรทัศน์ และเว็บไซต์สูงที่สุด และ Gen-B มีความคิดเห็นว่า เว็บไซต์ และโทรทัศน์นำเสนอด้านสิ่งแวดล้อม ได้เหมาะสมที่สุด ในขณะที่ Gen-X และ Gen-Z มีความเห็นว่าทั้ง 3 สื่อเป็นสื่อที่นำเสนอได้เหมาะสมที่สุด สำหรับ Gen-Y มีการเปิดรับข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์สูงที่สุด และมีความเห็นว่า สื่อสังคมออนไลน์ โทรทัศน์ และเว็บไซต์นั้นนำเสนอได้เหมาะสมที่สุด 3) Gen-B มีโลกทัศน์ผู้ดูแล โลกทัศน์ สติปัญญาด้านสิ่งแวดล้อม และปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นอันดับแรก ส่วน Gen-X และ Gen-Y มีโลกทัศน์สติปัญญาด้านสิ่งแวดล้อม เป็นอันดับแรก และ Gen-Z มีโลกทัศน์ผู้ดูแล โลกทัศน์สติปัญญาด้าน สิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านองค์กร ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นอันดับแรก 4) ทุกเจนเนอร์เรชั่นมีความถี่ของการกระทำด้านสิ่งแวดล้อมในด้านการมีส่วนร่วมอยู่ระดับน้อย และด้านการ เป็นผู้นำ อยู่ระดับน้อยที่สุด 5) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยพยากรณ์การกระทำ ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ปัจจัยที่ ส่งผลต่อการกระทำด้านสิ่งแวดล้อมในด้านการมีส่วนร่วม ของ Gen-B คือ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม และปัจจัยด้านองค์กร Gen-X คือ ปัจจัยด้านองค์กร Gen-Y คือ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม และโลก ทัศน์สติปัญญาด้านสิ่งแวดล้อม และ Gen-Z คือ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งทั้งหมดมีผลในทางบวก สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำด้านสิ่งแวดล้อมในด้านการเป็นผู้นำของ Gen-B คือ โลกทัศน์สติปัญญา ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลในทางลบ ส่วน Gen-Y คือ โลกทัศน์การจัดการโลก ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม และโลกทัศน์สติปัญญาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลทางบวก ในขณะที่ Gen-X และ Gen-Z ไม่มีปัจจัยใดเลยที่ มีอิทธิพลต่อการกระทำด้านสิ่งแวดล้อมในด้านการเป็นผู้นำ

References

กมลวรรณ วนิชพันธุ์. (2556). รูปแบบการดำเนินชีวิต ลักษณะบุคลิกภาพ ของกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอร์เรชั่น X และผู้บริโภคเจนเนอร์เรชั่น Y ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านทางออนไลน์. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะบริหารธุรกิจ. [Kamonwan Wanichphan. (2013). Lifestyle and Personality trait of Generation X and Y consumers when deciding to buy fashion products online. (Independent Study, Master’s Degree). Bangkok University, Faculty of Business Administration.]

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2558). คนเราตัดสินใจเพื่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: ส.ไพบูลย์การพิมพ์. [Department of Environmental Quality Promotion. (2015). How do people make decisions for the environment. Bangkok: S. Paibun Printing.]

กาญจนา แก้วเทพ. (2556). “บันทึกเรื่อง สิ่งแวดล้อม” ในสื่อสารศึกษา. ใน กาญจนา แก้วเทพ (บ.ก.), สื่อสาร-สิ่งแวดล้อม (น. 10-269). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์. [Kanchana Kaewthep. (2013). Notes on “Environment” in Communication Studies. In Kanchana Kaewthep (Ed.), Communication - Environment (p. 10-269). Bangkok: Graphic Arts.]

นิคม ชัยขุนพล. (2561). “ลักษณะปฏิสัมพันธ์การสื่อสารจากพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์ของ คนไทย.” วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27(2), 55-65. [Nikom Chaikhunphon. (2018). Characteristics of communication interaction from online social media behavior of Thais. Journal of Payap University, 27(2), 55-65.]

นิพนธ์ ชาญอัมพรและธาตรีใต้ฟ้าพลู. (2558).“รูปแบบการดำเนินชีวิตและความคิดเห็นต่อรายการโทรทัศน์ ของเด็กเจนเนอเรชั่นแซด.” วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 8(2), 73-92. [Nipon Charnamporn and Thatree Taifahpool. (2015). “Lifestyle and opinions of television programs of Generation Z.” Journal of Public Relations and Advertising, 8 (2), 73-92.]

ปฐมาพร เนตนินัทน์. ( 2 5 6 1 ) . “ การศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่กับพฤติกรรมการบริโภคของเจนวายในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. ”วารสารการจัดการสมัยใหม่, 16(2). [Pathamaporn Naetinun. (2018). “A comparative study of the relationship between traditional and new media exposure and consumption behavior of Gen Y in Bangkok and its vicinity.” Journal of Modern Management, 16 (2).]

Barrow G.M. & Smith, P. A. (1979). Aging, Ageism and society. St. Paul, Minn: West.

Dunlap, R. E., Van Liere, K. D., Mertig, A. G., & Jones, R. E. (2000). “New trends in measuring environmental attitudes : measuring endorsement of the New Ecological Paradigm : a revised NEP scale.” Journal of Social Issues, 56(3), 425-442

Hines, J. M., Hungerford, H. R., & Tomera, A. N. (1986–87). “Analysis and synthesis of research on responsible pro-environmental behavior: a meta-analysis.” The Journal of Environmental Education, 18(2), pp. 1–8.

Kollmuss, A., & Agyeman, J. (2002). “Mind the Gap: Why do people act environmentally and what are the barriers to pro-environmental behavior?.” Environmental Education Research, 8(3), 239-260.

Park, S., & Smardon, R. C. (2009). “Intergenerational differences in values and dioxin risk perceptions in South Korea.” Management of Environmental Quality, 20(5), 522-537.

Stern, P. C., Dietz, T., Kalof, L., & Guagnano, G. A. (1995). “Values, beliefs, and proenvironmental action: Attitude formation toward emergent attitude objects.” Journal of Applied Social Psychology, 25(18), 1611-1636.

Wiernik, B. M., Ones, D. S., & Dilchert, S. (2013). “Age and environmental sustainability: a meta-analysis.” Journal of Managerial Psychology, 28(7), 826-856.

เว็บไซต์

กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. (2560). จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามอายุ เพศ และ จังหวัด พ.ศ. 2560. เข้าถึงได้จาก http://www.bangkok.go.th/ [Strategic Management Division. (2017). Population by registration, by age, gender and province, 2017. Retrieved at http:// www.bangkok.go.th/]

นัฐวุฒิ เวชกามา. (2554). การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติในโลก. เข้าถึงได้จาก https://etcgeography.wordpress.com [Natthawut Wetchakama. (2011). Natural change in the world. Retrieved from https://etcgeography ]

ปณิชา นิติพรมงคล. (2555). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัยทำงานในเขตกรุง เทพมหานคร. เข้าถึงได้จาก https://www.spu.ac.th/ [Panicha Nitipornmongkol. (2012). Behavior of using online social networks of working people in Bangkok. Retrieved from https://www.spu.ac.th/]

สถานการณ์ทะเลไทย เสื่อมโทรมจนน่าใจหาย!. (20 กุมภาพันธ์ 2561). ไทยโพสต์. เข้าถึงได้จาก https://www.thaipost.net/main/detail/3526 [The Thai sea situation Decay to the dismay! (20 February 2018). Thai Post. Retrieved from https://www.thaipost.net/main/detail/3526.]

Hootsuite & We Are Social. (2562). Digital 2019 Thailand (January 2019) v01. Retrieved from https://www.slideshare.net/DataReportal/digital-2019-thailand-january-2019-v01

LIFEANDHOME. (2560). “สื่อเดิม สื่อใหม่ การเสพผันไปตาม Gen แต่ความเชื่อมั่นยังคงเหมือนเดิม.” The Leader Bilingual Magazine, สืบค้นจาก https://lifeandhome mag.com [LIFEANDHOME. (2017). Original media, new media, addictions change according to Gen, but confidence remains the same. The Leader Bilingual Magazine, Retrieved from https://lifeandhome mag.com]

Miller G. T., Jr., & Spoolman, S. E. (2009). Essentials of Ecology (5th ed.). Retrieved from https://sangu.ge/images/EssentialsofEcology.pdf

Thpanorama. (2019). ลักษณะภาวะผู้นำข้อดีข้อเสียและตัวอย่างจริง. เข้าถึงได้จาก https://th.thpanorama.com/articles/psicologa/liderazgo-natural-caractersticas-ventajas-desventajas-y-ejemplos-reales.html [Thpanorama. (2019). Leadership characteristics, advantages, disadvantages, and real examples. Retrieved from https://en.thpanorama.com/articles/psicologa/liderazgo-natural-caractersticas-ventajas-desventajas-y-ejemplos-reales.html]

VZMART. (2559). ความแตกต่างของคนในแต่ละยุคแต่ละสมัย. เข้าถึงได้จาก http://blog.vzmart.com [VZMART. (2016). The differences of people in each generations. Retrieved from http://blog.vzmart.com]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-01