การเล่าเรื่อง ความหมาย และแก่นจินตนาการด้านเพศวิถีชายรักชาย ผ่านวรรณกรรมออนไลน์

ผู้แต่ง

  • กรวิชญ์ ไทยฉาย วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

วรรณกรรมออนไลน์, เพศวิถีชายรักชาย, การเล่าเรื่อง

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเล่าเรื่อง ความหมาย และแก่นจินตนาการด้านเพศวิถีชายรักชาย ผ่านวรรณกรรมออนไลน์ โดยจะศึกษาครอบคลุมถึงองค์ประกอบการเล่าเรื่องของวรรณกรรมออนไลน์เรื่อง จักรพรรดิวิปลาส ความหมายที่บ่งบอกถึงเพศวิถีชายรักชายในวรรณกรรมออนไลน์ และแก่นจินตนาการของ ผู้อ่านวรรณกรรมออนไลน์ประเภทชายรักชาย การศึกษาคร้ังนี้ใช้แหล่งข้อมูลประเภทวรรณกรรมออนไลน์ เรื่อง “จักรพรรดิวิปลาส” จากเว็บไซต์ fictionlog.co และทัศนะของผู้อ่านวรรณกรรมออนไลน์เรื่องนี้จากการ เก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบสนทนากลุ่ม ผลวิจัยพบว่า การเล่าเรื่องของวรรณกรรมออนไลน์ประเภทชาย รักชายมีองค์ประกอบการเล่าเรื่อง 6 องค์ประกอบคือ แก่นเรื่อง ตัวละคร มุมมองการเล่าเรื่อง ความขัดแย้ง ฉาก และโครงเรื่อง และวรรณกรรมออนไลน์ยังมีองค์ประกอบเพิ่มเติมคือ ลีลาของผู้แต่งหรือการใช้ภาษา และโครงเรื่องของวรรณกรรมเพื่อใช้เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ ความหมายที่บ่งบอกถึงเพศวิถีชายรักชาย ในวรรณกรรมออนไลน์พบความหมายท่ีแสดงออกถึงตัวตนและรสนิยมทางเพศ ความหมายที่แสดงออกถึง ความรัก และความหมายผ่านตัวละครที่แสดงออกถึงสังคมรอบข้างของเพศวิถีชายรักชาย แก่นจินตนาการ ของผู้อ่านวรรณกรรมออนไลน์ประเภทชายรักชายพบว่า ผู้อ่านมีแก่นจินตนาการถึงตัวตนและรสนิยมทาง เพศ แก่นจินตนาการความรัก และแก่นจินตนาการสังคมรอบข้างของเพศวิถีชายรักชาย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส โพรดักส์. [Kanchana Kaewthep. (1999). Media Analysis: Concepts and techniques (2st ed.). Bangkok: Edison Place Product]

กฤดา ศิริตันติกร. (2542). วาทวิเคราะห์เชิงจินตสาระกรณีการเข้าร่วมโครงการรณรงค์ขยะแห้งแลกต้นไม้ของประชาชนในชุมชนแออัดคลองเตย. กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [Krida Siritantikorn. (1999). A fantasy theme analysis of particpation in the campaign of exchanging dry garbage for plants of people in the Klongtoey Slum Community. Bangkok : Chulalongkorn University]

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2539). “วรรณกรรมวิจารณ์.” ใน เจษฎา ขัดเขียว. (2561). เพศวิถีในวรรณกรรมเกย์ออนไลน์. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น. [Tanya Sankapantanon. (1996). “Literary criticism.” In Jessada Kadkeow. (2018). Sexuality on Online Literature. Master of Arts, Khon Kaen University]

ธนิต ธนะกุลมาส. (2547). การวิเคราะห์ภาพยนต์ของจางอี้โหมวในเชิงบริบททางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและแนวคิดแบบอุดมคติเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [Thanit Thanakulmas. (2004). An analysis of Zhang Yimou’s films in historio-cultural contexts and idealistic thoughts for improving the quality of life. Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University]

Barthes, R. (1999). “Image Music Text.” In Stephen Health (Eds.), The Third Meaning. New York: Hill and Wang. pp.52-68.

Griffin, Em. (2012). A First Look at Communication Theory. New York, NY: McGraw Hill. pp. 247.

Griffin, Erin. (2006). A First Look At Communication Theory. McGraw Hill. pp. 39.

Larson, U. (1989). Persuasion Reception and Responsibility. California: Wadsworth Publishing Company.

เว็บไซต์

อรพินท์ คำสอน, สุชาติ ทองสิมา และจักรนาท นาคทอง. (2552). “รายงานผลการวิจัยกลุ่มกรณีศึกษาการ สร้างและการวิจารณ์วรรณกรรมในพื้นที่อินเทอร์เน็ต”. ใน สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. รายงานผลการ วิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562 แหล่งที่มา http://www.thaicritic.com/criticism-ebook/index.html. [Orapin Khamsorn, Suchart Thongsima, Jaknart Nakthong. (2009). “The research report of case study of creating and criticizing literature in the internet area.” In: Suwanna Kriengkriphech. Complete research report “Criticism as a Contemporary Phenomenon for Developing Social Science Knowledge. Retrieved : August 1, 2019 from http://www.thaicritic.com/criticism-ebook/index.html. ]

Dickerson, Arin Rose. (2008). Symbolic Convergence Theory. [Online]. Retrieved : August 1, 2019 from: http://search.credoreference.com/content/entry/sagepolcom/symbolic_ convergence_theory/0.

Goode. (1978). In: John P. De Cecco and Michael G. Shively. Deviant behavior: An interactionist approach. Bisexual and Homosexual Identities: Critical Theoretical Issues. Retrieved : August 1, 2019 from: https://goo.gl/Rxga7k.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-01