การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อ และการรู้เท่าทันสื่อของผู้ปกครองนักเรียน ระดับประถมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ผู้ปกครอง, พฤติกรรมการใช้สื่อ, การรู้เท่าทันสื่อบทคัดย่อ
การวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อ ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อ และ ระดับการรู้เท่าทันสื่อของผู้ปกครองนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร จากโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร 6 กลุ่มเขตพื้นที่จำนวน 400 คน รูปแบบการวิจัยในการศึกษาครั้งน้ี เป็นการวิจัยเชิง สำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือท่ีใช้ในการวิจัย ประยุกต์ข้อคำถามเก่ียวกับพฤติกรรมการใช้สื่อจาก งานวิจัยของอนงค์นาฏ รัศมีเวียงชัย ประยุกต์ข้อคำถามเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจจากงานวิจัยของสุขใจ ประเทืองสุขเลิศและประยุกต์ข้อคำถามเกี่ยวกับระดับการรู้เท่าทันสื่อจากงานวิจัยของปกรณ์ ประจันบาน ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) แสดงผลในรูปแบบตารางแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage )ค่าเฉล่ีย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviatio) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 36-45 ปี มีแนวโน้มพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร โดยผ่านสื่อดั้งเดิมได้แก่ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และนิตยสาร ตามลำดับ และมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร จากสื่อสังคมออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ ไลน์ เฟสบุ๊ก อินสตาแกรม เว็บไซต์ ตามลำดับ ช่วงเวลาที่ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้สื่อประเภท โทรทัศน์ เว็บไซต์ อินสตาแกรม เฟซบุ๊ก และไลน์ คือช่วงเวลา18.00 – 21.00 น. ใช้วิทยุ หนังสือพิมพ์มากที่สุด คือช่วงเวลา6.00 – 9.00 น. และใช้สื่อประเภท ไลน์มากที่สุดคือช่วง เวลา 12.00 – 15.00 น. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะสนใจข้อมูลประเภทข่าวสารมากกว่าข้อมูลประเภทอื่นๆและเผยแพร่ข้อมูลของตนเองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยทักษะ การเข้าถึงสื่ออยู่ในระดับสูง แต่ค่าเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อในเรื่อง ผลกระทบของสื่อ เนื้อหาของ สื่อ อุตสาหกรรมสื่อ และการแยกแยะความแตกต่างของโลกสื่อกับโลกในชีวิตจริงนั้นอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะในส่วนการแยกแยะความแตกต่างของโลกสื่อกับโลกในชีวิตจริงนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.63 ซึ่งอยู่ใน ระดับตำ่ งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการลงพื้นที่เพื่อวางแผนทั้งในเชิงอบรมให้ความรู้ ปฏิบัติจริงและประเมินผลเป๊นระยะ ในสถานการณ์จริงตามสภาพแวดล้อม กลุ่มอาชีพและศักยภาพของผู้ปกครอง มีการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในวัยต่างๆรวมไปถึงบคุคลที่มีความต้องการพิเศษประเภทต่างๆโดยมีแนวทางการ ส่งเสริมระดับการรู้เท่าทันสื่อให้กับผู้บริโภคสื่อที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ และศักยภาพร่วมดัวยเพื่อเป้าหมายคือการรู้เท่าทันสื่อของทุกคน
References
นิศารัตน์ รอดบุญคง. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการเรียนการสอน DACIR ที่มีต่อการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร [Nisarat Rodbunkhong. (2016). Effects of Social Studies Learning Organization Using DACIR Instructional Process on Media Literacy of Sixth Grade Students. Thesis of the Master of Education, Curriculum and Teaching Methods Department.Faculty of Education, Silpakorn University.]
พรทิพย์ เย็นจะบก. (2560). เบญจทัศน์การรู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท ครีเอชั่น. [Pornthip Yenjabok. (2006). Five Visions of Media Literacy. Bangkok: Offset Creation.]
ภัทริกา วงศ์อนันต์นนท์. (2560). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและเยาวชน. พยาบาลทหารบก.[Patrika Wong-anunnon. (2017). Behavior of Internet Usage by Children and Youth. Thai Army Nurses.]
ยุพา สุภากุล. (2559). การสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. [Yupa Supakul. (2017). Mass Communications. Bangkok: Odeon Store.]
สาวิตรี ชีวะสาธน์,ชาญ เดช อัศวนร วิมลพรรณ อาภาเวท. (2554). พฤติกรรมการสื่อสารในเฟสบุ๊ก ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย เทคโนโลยรี าชมงคลพระนคร. [Savitri Chivasat, Charndej Assavanorn. Vimonpan Apavet. (2011). Behavior of Communications in Facebook by Students of Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. Faculty of Mass Media Technology, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon.]
สุขใจ ประเทืองสุขเลิศ. (2549). การรับรู้ของคนไทยเกี่ยวกับความสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อในยุคโลกาภิวัฒน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาวารสารสนเทศคณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Sookjai Pratheungsooklert. (2006). Perception of Thai People on Importance of Media Literacy in the Globalization Era. Thesis of the Master Degree in Journalism, Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University.]
สุนทร พรหมวงศา. (2553). พฤติกรรมการใช้และการรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ตตามการรับรู้ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการสิ่อสารมหาวทิยาลัยราชภัฎอุดรธานี. [Soonthorn Promwongsa. (2010). Behavior of Internet Use and Literacy according to Perception of Senior High-school Students. Thesis of the Master Degree in Communication Technology. Udon Thani Rajabhat University.]
สุภารัตน์ แก้วสุทธิ. (2553). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตการรู้เท่าทันสื่อและพฤติกรรมการป้องกันตัวเอง จากการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทางอินเทอร์เน็ต.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Suparat Kaewsut. (2010). Internet usage behavior Media literacy And self-defense behavior From privacy violations on the internet. Master Thesis. Development Communication Program Department of Public Relations Faculty of Communication Arts. Chulalongkorn University.]
อนงค์นาฏ รัศมีเวียงชัย. (2553). การรู้เท่าทันสื่อโฆษณาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียน ชุมชนประชาธิปัตย์วิทยาคาร. โครงการวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Anongnat Rassameewiengchai. (2010). Advertising Media Literacy of High-school Students in Prachathipat Vittayakarn Community Schoo. Research Project of Thammasat University.]
อนุชา กอนพ่วง ปกรณ์ ประจัญบาน. (2558). การวิจัยและพัฒนาแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. โครงการวิจัยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. [Anucha Konpuang, Pakorn Prachanban. (2015). Research and Development of Skill Inventories in the 21th Century in respect with Media Literacy of High-school Students. Research Project of the Faculty of Education, Naresuan University.]
Potter, W. James. (2013). Medialiteracy. Thousand Oaks, CA: Sage.