บทบาทของรายการเลขอวดกรรมในการสื่อสารความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม

ผู้แต่ง

  • ภัททราวรดา วิไลลอย สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

บทบาทหน้าที่, รายการโทรทัศน์, การสื่อสาร, ความเชื่อเรื่องกรรม

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์บทบาทของรายการเลขอวดกรรมในการสื่อสาร ความ เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิเคราะห์ ตัวบท (Textual Analysis) ในรายการเลขอวดกรรมที่ออกอากาศในปี พ.ศ.2562 จำนวน 10 เทป โดยวิเคราะห์ ผ่านองค์ประกอบรายการโทรทัศน์ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ โครงสร้างการนำเสนอรายการ เนื้อหาในรายการ ผู้ดำเนินรายการ ผู้ร่วมรายการ ฉากและสัญลักษณ์พิเศษทางภาพและเสียง

        การวิเคราะห์การสื่อสารความเช่ือเรื่องกฎแห่งกรรมในรายการเลขอวดกรรมผ่านองค์ประกอบรายการ โทรทัศน์ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบด้านโครงสร้างการนำเสนอรายการ มี 5 ช่วงย่อย ได้แก่ 1) ช่วง แนะนำผู้สร้างกรรมและผู้ถอดรหัสกรรม 2) ช่วงถอดรหัสกรรมผ่านตัวเลขวันที่เกิด 3) ช่วงเล่าเรื่องกรรม 4) ช่วงสรุปผลของกรรม โดยผู้ถอดรหัสกรรม และ 5) ช่วงฝากข้อคิดเกี่ยวกับกรรม องค์ประกอบด้านเนื้อหาใน รายการประกอบด้วย ความเชื่อเรื่องตัวเลข ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม และความเชื่อด้านอื่นๆ องค์ประกอบ ด้านผู้ดำเนินรายการ ได้แก่ ผู้ดำเนินรายการในภาพรวม และผู้ดำเนินรายการที่ทำหน้าที่ถอดรหัสกรรม องค์ประกอบด้านผู้ร่วมรายการที่เป็นผู้มาถ่ายทอดเรื่องราวเหตุการณ์กรรมที่เกิดขึ้น องค์ประกอบด้านฉาก เป็นพื้นที่ทางพิธีกรรมการสื่อสาร และองค์ประกอบด้านสัญลักษณ์พิเศษทางด้านภาพและเสียง เป็นส่วนเสริม ให้เกิดอารมณ์คล้อยตามความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมในรายการ

        ผลการวิจัยด้านบทบาทของรายการเลขอวดกรรมในการสื่อสารความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม พบว่าได้ทำหน้าท่ีตามบทบาทของสื่อมวลชนด้านวัฒนธรรมเพื่อสืบทอดความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ได้แก่ การทำหน้าที่ ในการประกอบสร้างความหมาย การทำหน้าที่ในการสื่อสารความเชื่อเรื่องกรรม การทำหน้าที่ในการปลอบ ประโลมและให้ความมั่นคงทางจิตใจ การทำหน้าที่ในการแนะแนวทางในชีวิตการทำหน้าที่ในการสร้างความ สัมพันธ์ครอบครัวและเครือญาติ การทำหน้าที่ในการสร้างความกลัวและละอายต่อกรรม การทำหน้าที่ในการ ขัดเกลาทางสังคม การทำหน้าที่ในการสร้างจิตสำนึกที่ดี และการทำหน้าที่ในการให้กำลังใจ

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2545). สื่อมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศาลาแดง. [Karnjana Keawthep.(2002). Mass Media, Theories and Study Guideline. Bangkok: Saladaeng.]

กาญจนา แก้วเทพ. (2557). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์. [Karnjana Keawthep.(2014). Media Methodology and Cultural Studies. Bangkok: Infinitypress.]

ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์. (2557). ปรัชญานิเทศศาสตร์ กระบวนทัศน์ในการพัฒนาทฤษฎีและศึกษาวิจัยการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์. [Thiranun Anawatsiriwong. (2014). Communication Philosophy, Paradigm of Theory Development and Communication Research. Bangkok: Charansanitwong printing.]

นัทวัญ สวัสดีมงคล. (2555). ความเชื่อด้านเลขศาสตร์ในการเลือกใช้งานหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของลูกค้าเอไอเอสในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร. [Nathawan Sawasdeemongkol. (2012). A study of numberology belief in the filtration uses mobile telephone number of AIS customer in Nakhonpathom area. Graduate School. Silpakorn University.]

ลัดดา จิตตคุตตานนท์. (2552). การวิเคราะห์การสื่อสารเชิงวัฒนธรรมเพื่อการดำรงอยู่และการสืบทอด ประเพณีบูชาอินทขิล.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Ladda Jittakuttanont. (2009). Analysis of cultural communication for existence and transmission of Inthakin Festival. Graduate School. Thammasart University.]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-01