การเปิดรับสื่อ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจต่อสื่อกีฬาฟุตบอล ในยุค ดิจิทัล ของกลุ่ม Baby Boomer เพศชาย ในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ภัทรพล พานทอง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การเปิดรับสื่อ, การใช้ประโยชน์, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อกีฬาฟุตบอลในยุคดิจิทัล ของกลุ่ม Baby Boomer เพศชาย ในจังหวัดนนทบุรี (2) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากสื่อกีฬาฟุตบอลในยุคดิจิทัล ของกลุ่ม Baby Boomer เพศชาย ในจังหวัดนนทบุรี (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อสื่อกีฬาฟุตบอลในยุค ดิจิทัล ของกลุ่ม Baby Boomer เพศชาย ในจังหวัดนนทบุรี (4) เพื่อศึกษาความแตกต่างในการเปิดรับสื่อ กีฬาฟุตบอลในยุคดิจิทัล ของกลุ่ม Baby Boomer เพศชาย ในจังหวัดนนทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเปิดรับสื่อกีฬาฟุตบอล การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจต่อสื่อกีฬา ฟุตบอลในยุคดิจิทัล ของกลุ่ม Baby Boomer เพศชาย ในจังหวัดนนทบุรี

        การวิจัยคร้ังน้ี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง Baby Boomer เพศชาย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยแบบ T-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

        ผลการวิจัยพบว่ากลุ่ม Baby Boomer เพศชาย ในจังหวัดนนทบุรี มีการเปิดรับสื่อกีฬาฟุตบอล โดยเปิดรับสื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุดมีการใช้ประโยชน์จากสื่อกีฬาฟุตบอล ด้านความบันเทิงและการผ่อนคลายมาก ที่สุด และมีความพึงพอใจต่อสื่อกีฬาฟุตบอล ประเภทสื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่ม Baby Boomer เพศชาย ในจังหวัดนนทบุรี ที่มีอายุแตกต่างกัน มีการเปิดรับสื่อกีฬาฟุตบอล แตกต่างกัน การเปิดรับสื่อกีฬาฟุตบอล มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์จากสื่อกีฬาฟุตบอล และการ ใช้ประโยชน์จากสื่อกีฬาฟุตบอล มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อสื่อกีฬาฟุตบอล

References

กันตพล บันทัดทอง. (2557). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคนสูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. [Kantapon Buntadthong. (2014). Social Network Usage Behavior and Bangkok Older Person’s Satisfaction. Master of Arts, Strategic Communications, Bangkok University.]

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2543). สื่อเพื่อชุมชน: การประมวลองค์ความรู้. กรุงเทพ : สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพมหานคร. [Kanjana kaewthep and Others. (2000). Community Media: Knowledge Processing. The Thailand Research Fund : Bangkok.]

ณักษ์ลภัส ปั้นทิม. (2562). “ปัจจัยและระดับการยอมรับการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) ของกลุ่มเบบี้บูม เมอร์.” นิเทศศาสตรปริทัศน์, 24(1), 164-175. [Nuklapas Pantim. (2019). “Factors Affecting Baby Boomers’ Facebook Adoption and Adoption Level.” Journal of Communication Arts, 24(1), 164-175.]

ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2558).การสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. [Nutchuda Wijitjamaree. (2015). Communication in Organization. Bangkok : Kasetsart University Press.]

นิศารัตน์ จันทรประภา. (2540). แผนการประชาสัมพันธ์ของสำนักงานประกันสังคม ความรู้และการ ใช้ประโยชน์จากข่าวสารการประกันตน ในสถานประกอบการขนาดเล็กในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Nisarat Chandraprabha. (1997). Public relations plan of social security office, knowledge and utilization of social security information among the insured in small business enterprises in Bangkok Metropolis. Master of Arts, Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University.]

บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ. (2557).“พฤติกรรมการใช้(Facebook)ของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร.”วารสารร่มพฤกษ์, (2) กุมภาพันธ์-พฤษภาคม. มหาวิทยาลัยเกริก. [Boonyou Khorpornprasert. (2014). “The Behavior and Impacts of Using Facebook of University Students in Bangkok.” Romphruek Journal, (2) February-May.]

สถาพร สิงหะ. (2556). การเปิดรับสื่อการใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจกับการตัดสินใจเลือกท่อง เที่ยวแบบดำน้ำลึกของนักดำน้ำชาวไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. [Sathaporn singha. (2013). Media Exposure, Uses and Gratifications toward Decision Making on Scuba Diving among Thai Divers. Master of Arts, Strategic Communications, Bangkok University.]

Defleur, M. L., & Ball-Rokeach, S. J. (1989). Theories of mass communication 5 th ed. New York : Longman

Katz, E. (1973). “Uses and gratifications.“ Public Opinion Quarterly 37 (4): 509-523.

McCombs, M. E. and Becker, L. E. (1979). Using Mass Communication Theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

McQuail, D., and Michael, G. (1974). Explaining Audience Behavior: Three Approaches Considered. Beverly Hills, CA: Sage.

Shelly, Maynard W. (1975). Responding to Social Change. Pennsylvania: Dowden Huntchisam Press. Inc.

เว็บไซต์

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). รายงานสถิติจังหวัดนนทบุรี พ.ศ.2561. เข้าถึงได้จาก: https://www.nontburi.nso.go.th, 16 พฤศจิกายน 2561. [National Statistical Office Ministry of Information and Communication Technology. (2018). Nonthaburi Provincial Statistical Office: 2018. Retrieved : https://www.nontburi.nso.go.th, November 16, 2018 ]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-01