กลยุทธ์การจูงใจและวาทกรรมของป้ายโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งปี 2562 ในจังหวัดปัตตานี
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การจูงใจ, วาทกรรม, ป้ายโฆษณาหาเสียง, ปัตตานีบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การจูงใจ และวาทกรรมท่ีพบจากป้ายโฆษณาหาเสียง เลือกต้ังปี 2562 ในจังหวัดปัตตานี ใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากป้ายหาเสียงและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ถึงวันท่ี 22 มีนาคม 2562 ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อจูงใจด้านภาษาของป้ายโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งปี 2562 ในจังหวัดปัตตานีมีทั้งหมด 17 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์การใช้จุดจูงใจให้สิ่งตอบแทน การขอโอกาสจากประชาชน การใช้ภาษาแสดงถึงความเป็นพวกพ้องเดียวกัน การออกอุบาย การแนะนำ เตือนใจผู้รับสาร การให้คำสัญญา การอธิบายรายละเอียดข้อมูล การเร้าอารมณ์ผู้รับสาร การให้ความรู้สึกถึงการทำความดีเพื่อคนอื่น การใช้คำขวัญการใช้ชื่อเสียงส่วนตัวเป็นเครื่องจูงใจ การใช้ความเชี่ยวชาญของผู้ส่งสารชักจูงไปในทางบวก การสร้างความสัมพันธ์ท่ีดีในการสื่อสาร การ“ให้”ก่อนแล้วจึง“รับ กลยุทธ์ด้านศีลธรรม การเรียกร้อง โดยตรงไปยังผู้รับสาร และกลยุทธ์การเน้นจุดเด่นของพรรคการเมือง ลักษณะการใช้องค์ประกอบและการสื่อ่ความหมาย มี 5 ลักษณะ ได้แก่ หมายเลขผู้สมัคร ขนาดตัวหนังสือในป้ายโฆษณาหาเสียง ภาพประกอบบน ป้ายหาเสียง คำขวัญประจำพรรคการเมือง และการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้บนแผ่นป้ายหาเสียง
ส่วนวาทกรรมป้ายโฆษณาหาเสียง มีทั้งหมด 13 วาทกรรม ได้แก่ การปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น โน้มน้าวให้ประชาชนมีส่วนร่วม ลดอำนาจรัฐเพิ่มิอำนาจประชาชน ต่อต้านเผด็จการ การปฏิรูปประเทศไทย เรื่องตัวเลขและเศรษฐกิจ ความอยากจน คนรุ่นใหม่ นำประเทศไปสู่ประชาธิปไตยท่ียั่งยืน การสร้างความสุขความหวังให้ประชาชน การเป็นผู้มีความเข้าใจถึงต้นตอปัญหาของชุมชน-ประเทศ การเป็นตัวกลาง และในฐานะเป็นตัวแทน
References
กนกพร คำวงศ์ปิน. (2544).กลยุทธ์ในป้ายโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [Kanokporn Kamwonkpen. (2001). Campaign strategies used in electioneering Poster of the election in Chiang Mai Province. Chiang Mai University.]
กาญจนา แก้วเทพ. (2541). การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: อินฟินิตี้เพรส.[Kanjana Kaewthep.(1998). Media Analysis: Concepts and Technique. Bangkok: Infinity Press.]
ชัยอนันต์ สมุทวณิช.( 2523). การเมืองการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย 2411-2475. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ [Chaianan Samutwanit. (1980). Politics Political Changes from 1878-1932. Bangkok: Bunnakit.]
ชาย โพธิสิตา. (2549).ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ.พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ:อัมรินทร์พริ้นติ้ง.[Chai Podhisita.(2006) Science and Art of Qualitative Research. 2nd edition. Bangkok: Amarin Printing.]
พิริยาภรณ์ สรรพศรี. (2553). อิทธิพลของการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองที่มีต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.[Piriyaporn Suppasri. (2010). Impacts of Political News Exposure on Participation in Politics of People in Meuang District, Chiang Mai Province, Master Degree Thesis, Maejo University.]
มัทนา เจริญวงศ์. (2552). “ความลวงของความจริง เรื่องจริงของข่าวการเมือง”. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปีที่26,ฉบับที่1 (ม.ค.-เม.ย.2552):43-59 [MattanaJaroenwong.(2009).“Illutionof Truth: The True Story of Political News.” Journal of Humanities and Social Sciences, 26,(1) (Jan - Apr 2008): 43-59.]
หยดฟ้า ราชมณี, ธีรยุทธ ชะนิล , วีรภัทร กันประกอบ และ อุเทน ศรีอ่อน. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการเลือกตั้งของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารมนษุ ศาสตร์สังคมศาสตร์ 9,(2) (ต.ค.2557-มี.ค.2558): 121-134.[Yhodpha Ratmanee, Teerayut Chanil, Weeraphat Kunprakob and Uten Srion. (2015). Political Participations and Elections of Students in Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. Inthaninthaksin Journal, 9,(2) (Oct 2014-Mar 2015)
: 121-134.]
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2544). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์. [Orawan Piluntha-opas. (2001). Pursuasive Communication. 2nd Edition. Bangkok: Phimlak.]
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2547). วิวัฒน์วาทวิทยาสมัยใหม่ในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Orawan Piluntha-opas. (2004). The elevolution of modern discourse in Thai History. Edition. Bangkok: Chulalongkorn University Printing.]
Foucault,Michel. (1970). The Order of Things : An Archaeology of The Human Sciences. London: Tavistock Publications.
_______. 1976. Power Knowledge. New York: Harvester Wheatsheaf.
Fairclough, N. & Wodak, R. (1997). “Critical Discourse Analysis.” In T.A. Van Dijk.(ed.), Discourse as Social Interaction (pp. 258-284). London: Sage
Marcus, A. C., Heimendinger, J., Wolfe, P., Fairclough, D., Rimer, B. K., Morra, M.,& Julesberg, K. (2001). “A randomized trial of a brief intervention to increase fruit and vegetable intake: a replication study among callers to the CIS.” Preventive Medicine, 33(3), 204-216.
Van Dijk, T. A. (1998). Ideology: A Multidisciplinary Approach. London Sage.
Wiseman, R. L., & SchenckHamlin, W. (1981). “A multidimensional scaling validation of an inductively derived set of compliance gaining strategies.” Communication Monographs, 48(4), 251-270.