การจัดการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของชุมชนสุขภาวะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • นิยม ไกรปุย คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม, การลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชุมชนสุขภาวะภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับรางวัลในการลด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับชุมชนที่ไม่ได้รับรางวัลด้าน 1) การจัดการการสื่อสาร 2) การบริหารจัดการ ชุมชนขับเคลื่อนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม และ 3) รูปแบบการจัดการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม

        การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจาก 2 ตำบลๆละ 16 คน รวม32คนเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากกลุ่มผู้นำชุมชนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแกนนำภาคประชาสังคม ในตำบลสมุดท่ีได้รับรางวัล และตำบลทุ่งมนที่ไม่ได้รับรางวัล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดย การพรรณนาวิเคราะห์ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ ง่ายโดยการจับฉลาก ตำบลชุมชนสุขภาวะท่ีได้รับรางวัล 8 แห่ง และชุมชนที่ไม่ได้รับรางวัล 8 แห่ง ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือและสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มผู้นำชุมชนแห่งละ 15 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 240 คน และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการ ทดสอบค่าทีในการเปรียบเทียบของชุมชนสุขภาวะที่ได้รับรางวัลกับชุมชนที่ไม่ได้รับรางวัลและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

        ผลการวจิยัพบว่า 1) การจัดการการสื่อสารในการลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของชุมชนสุขภาวะได้รับรางวัล ประกอบด้วย การสร้างความรู้ที่เป็นธรรมนูญชุมชน การตั้งเป้าหมายการสื่อสารไปยัง ผู้ขาย ผู้ดื่ม และผู้ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการจัดกิจกรรม มีวัตถุประสงค์สื่อสารเพื่อลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน แล้วมาวางแนวทางการสื่อสารและการวางแผนการสื่อสารให้ปฏิบัติตามธรรมนูญชุมชน สู่การดำเนินการสื่อสารอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและการประเมินผลการสื่อสารของคนในชุมชนว่าสำนึกร่วมกันสื่อสารลด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แตกต่างจากชุมชนที่ไม่ได้รับรางวัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ0.05 2) บริหารจัดการชุมชนขับเคลื่อนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ การบริหารคนในชุมชนสร้างทีมแกนนำ การสื่อสารที่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริหารเงินในการรณรงค์ที่โปร่งใสไม่มีความขัดแย้งการบริหารวัสดุอุปกรณ์ ใช้ในการสื่อสาร การจัดการแบบมีส่วนร่วมในการสื่อสารโดยสร้างกลุ่มแกนนำ ร่วมสำรวจปัญหา วิเคราะห์ และคืนข้อมูลแก่ชุมชน สู่การสร้างธรรมนูญชุมชน แล้วติดตามประเมินการดำเนินงานสื่อสารลดการดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน ทำให้คนในชุมชนเกิดแรงจูงใจรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันในการสื่อสาร สำนึกดีต่อชุมชนโดยให้ความร่วมมือขายตามกฎหมายกำหนด ไม่ดื่ม ไม่ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้จัดการการสื่อสารและแกนนำ ภาคประชาสังคมต้องคลุกคลีอย่างใกล้ชิดตลอดเวลากับคนในชุมชนจึงนำไปสู่ความสำเร็จ 3) รูปแบบการจัดการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีความแตกต่างจากชุมชนที่ไม่ได้รับรางวัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ที่มีการสื่อสารเป็นบางช่วงและไม่สม่ำเสมอ โดยรูปแบบการจัดการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของชุมชนสุข ภาวะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถนำรูปแบบดังกล่าวไปใช้ในพื้นที่อื่นๆและขยายผลต่อไป

References

กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. (2552). การป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. [Kamontip Khungtumneam. (2009). Prevention of AlcoholConsumptionamong Adolescents. Doctor of Philosophy’s Thesis in Nursing Science Program:Graduate School Khon KaenUniversity.]

กาญจนา แก้วเทพ. (2551). การจัดการความรู้องต้น“การสื่อสารชุมชน” กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพการ พิมพ์. [Kanchana Kaewthep. (2008). Knowledge Management “Community Communication”: Bangkok: Parbpim: Design & Printing.]

กมลรัฐ อินทรทัศน์. (2547). การสื่อสารเพื่อสุขภาพ: วิวัฒนาการและการก้าวสู่ความท้าทายในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : กมลรัฐ อินทรทัศน์, พรทิพย์ เย็นจะบก และสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. [Kamolrat Intaratat. (2004). Health Communication: The Evolution and Driving Challenges for 21st Century. Bangkok:Kamolrat Intaratat, Pornthip Yenjabok and Kasetsart University Research and Development Institute.]

กรรณิการ์ เพ็งปรางค์ และกาญจนา แก้วเทพ. (2548). การมีส่วนร่วมในการสื่อสาร: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติจริง. วารสารนิเทศศาสตร์, 23( 3-4), 62-81. (Kannikar Pengprang and Kanchana Kaewthep. (2005). “Participatory Communication: Action Learning.” Journal of Communication Arts, 23(3-4), 62-81.

ขนิษฐา นันทบุตร. (2552). การจัดการตำบลสุขภาวะ : 6 กรณีศึกษาระบบสุขภาพชุมชน.ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา). [Khanitta Nuntaboot. (2009). Sub-district Health Management: 6 Case Studies for Community Health. Khon Kaen. Faculty of Nursing Science, Khon Kaen University. (The document duplication).]

จีรศักดิ์ เจริญพันธ์. (2554). การจัดการสาธารณสุขในชุมชน. มหาสารคาม:สารคามการพิมพ์-สารคามเปเปอร์. [Cheerasak Charoenpan.(2011). Community Public Health Management. Maha Sarakham: Sarakham Printing – Sarakham Papers.]

ชาย โพธิวัฒน์. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้งติ้ง. [Chai Photiwat. (2009). The Art and Science of Qualitative Research. 4thed. Bangkok: Amarin Printing.]

ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์. (2555). การจัดการการสื่อสารภายในบุคลเพื่อการพัฒนาตน. ในการสัมมนาวิชาการเรี่องการสื่อสารเพื่อการพัฒนาวันที่ 29-30 มีนาคม 2555 โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์กำแพงเพชรมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร. [Titipat Iamnirun. (2012). The Management of interpersonal Communication for Self Development. Academic Seminar about Development Communication, March 29 – 30, 2012. Communication Arts Program, Kamphaeng Phet, Kamphaeng Phet Rajabhat University.]

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท ทริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด. [Natepanna Yawiratch. (2013). Modern Management. Bangkok: Triple Group Co.,Ltd.]

บุษบา สุธีธร. (2546).กระบวนการวางแผนงานประชาสัมพันธ์. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการวางแผน งาน ประชาสัมพันธ์ หน่วยที่ 3 หน้า124– 149.นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [Bussaba Sutteethon. (2003). Planning of Public Relation Process. Planning of Public Relation Textbook. Unit 3, P.124 - 149. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.]

ประเวศ วะสี. (2552).บนเส้นทางใหม่การส่งเสริมสุขภาพ: อภิวัฒน์ชีวิตและสังคมบนเส้นทางใหม่. กรุงเทพ: หมอชาวบ้าน. [Prawase Wasee. (2009). On the New Road of Health Promotio: Life and Society. Bangkok: Moh Chao Ban.]

ปาริชาต สถาปิตานนท์ และคณะ. (2546). การสื่อสารสุขภาพ: ศักยภาพของสื่อมวลชนในการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ภาพพิมพ์. [Parichart Sathapitanon et al. (2003). Health Communication: Health Communication to Promote the Well-being. Bangkok: Parbpim Design & Printing.]

ปาริชาติ สถาปิตานน์. (2548). “หน่วยที่ 7 การจัดการการสื่อสารเชิงประยุกต์” เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการจัดการการสื่อสาร นนทบุรี สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช [Parichart Sathapitanon. (2005). “Unit 7 Applied Communication Management” Communication Technology Textbook. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.]

ไพสุดา ตรีเดซี. (2547). กระบวนทัศน์สุขภาพแบบใหม่ ในการพัฒนาองค์ความรู้การสื่อสารเพื่อสุขภาพ.กรงุ เทพฯ: โครงการการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการสื่อสารเพื่อสุขภาพ. [Paisuda Treedaesee. (2004). New Communication Paradigm for Health in the Academic Health Communication Development.Bangkok: The Academic Health Communication.]

ยุพา จิ๋วพัฒนกุล, (2556). การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของครอบครัวไทย: วารสารพยาบาลทหารบกปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (พ.ค. – ส.ค.) 2557 [Yupa Jewpattanakul. (2013). Thai Family Alcohol Consumption: Journal of The Royal Thai Army Nurses 2(15) (May - Aug) 2014.]

พวงชมพู ไชยอาลา แสงรุ่งเรืองโรจน์. (2556). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม: กลไกในขับเคลื่อนแนวคิดสู่การปฏิบัติภายใต้ กระบวนทัศน์การพัฒนาแบบทางเลือก. วารสาร มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ 30(2) [Phuangchomphu Chaiala Sangrungruengroj. (2013). Participatory Communication Management : A Mechanism For The Implementation of The Alternative Development Paradigm. Journal of Humanities and Social Sciences 30(2) ]

พิรินดร์ มุจรินทร์. (2553). ศึกษาทัศนคติต่อรูปแบบการสื่อสารภายในองค์กร : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารคณะบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสารมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์[PirunMujarin.(2010).TheAttitudeofCommunication Format in Organization: A Case Study of Nakhon Sawan Rajabhat University. School of Communication Management’s Thesis, Faculty of Business Administration, Economics and Communication, Nakhon Sawan Rajabhat University.]

ศรีธรณ์ โรจน์สุพจน์ ละคณะ. (2547).การสื่อสารเพื่อการมีส่วนร่วมจัดการป่าชุมชนของชาวบ้านห้วยแก้ว กิ่งอำเภอแม่ออน จ.เชียงใหม่. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.[Sritorn Rojanasupot. (2004). Communication for the Participation in Community ForestManagement of People in Huay Kaew Village, Mae OnSub-district, Chiang Mai Province. Thailand Research Fund.]

เว็บไซต์

กรมสนับสนุนบริการกระทรวงสาธารณสุข. (2009). นโยบายเมืองไทยแข็งแรง (Healthy Thailand). กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการ ทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat57.html 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.[Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. (2009). Healthy Thailand. Department of Provincial Administration, Ministry of Interior. “Announcement of the Bureau of Registration Administration, Ministry of Interiorabout the Population Number in the Kingdom Classified as Bangkok and Each Province from Civil Registration on March 31, 2014.” [Online]. Retrieved from http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_ stat57.html 2015. Retrieved on March 01, 2015.]

โกวทิ ย์พวงงาม.(2545).การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน.ม.ป.ท.สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2559 จาก https://www.gotoknow.org/posts/482092 [Kovit Puang-ngam. (2001). Community Empowerment.(N.P.). Retrieved on October 09, 2016. Retrieved fromhttps://www.gotoknow. org/posts/482092]

สถาบันนิติเวชวิทยาโรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2556). รายงานผลการศึกษาปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรประจำปี2556. ค้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2557,จากhttp://www.ifm.go.th/87-news/press-relation/105-pr01.html [Institute of Forensic Medicine in the office of Police General Hospital, Police Department. (2013). The Study Result of Alcohol quantity in Blood from People who Deaths from Traffic Accidents in 2013. Retrieved on July 21, 2014. Retrieved fromhttp://www.ifm.go.th/87-news/press-relation/105-pr01.html]

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2557). ท้องถิ่นชุนชนเข้มแข็งพัฒนาสังคมสุขภาวะยั่งยืน รายงาน ประจำปี2557.ค้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2559,http://thaipublica.org/2015/05/thaihealth-2015/ [Thai Health Promotion Foundation. (2014). Sustainable for Local Communities Development for Social Well – being. Annual Report 2014. Retrieved on July18,2016.Retrieved from http://thaipublica.org/2015/05/thaihealth-2015/]

สมบูรณ์ ธรรมลังกา. (2556). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็น ฐานในจังหวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 58-66. [Somboon Thamlangka. (2013).Local wisdom based-model of community empowerment in Chiang Rai province.Journal of Education, Naresuan University, 15(2), 58-66.]

สุมนทิพย์ จิตสว่าง. (2553). ความสัมพันธ์ของการเสพสุรากับอาชญากรรม: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุนวิจัย กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช กรุงเทพ [Sumonthip Chitsawang. (2010). The Relationship Between Alcohol and Crime: Chulalongkorn University, Grant for Research, Ratchadaphiseksomphot Endowment Fund. Bangkok.]

สุขศึกษา, กอง. (2552). มาตรฐานงานสุขศึกษาโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป พ.ศ.2552. [Health Education Division. (2009). Standard of Health Education in Regional Hospital and General Hospital in 2009.]

สินศักดิ์ ชนม์อุ่นพรมมี. (2556). พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข.นนทบุรี:กองสุขศึกษา กรมสนับสนุน บริการ สขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสขุ . [Sinsakchon Aunprom-me. (2013). Milestones in Health Promotion. Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development, Ministry of Public Health, Nonthaburi: Health Education Division, Department of Hearth Service Support, Ministry of Public Health.]

สำนักสื่อสารความเสี่ยงบและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานการสำรวจการรับทราบข้อมูลข่าวสารและความรู้ของประชาชนไทยปี2556[BureauofRisk Communication and Health Behavior Development, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2013). The Survey Report to Explore Awareness, News and Knowledge of Thai People in 2013.]

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2555). การสำรวจพฤติกรรมการ สูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2554.กรุงเทพฯ:สำนักงานสถิติสังคม [Government Strategic Information Center, Ministry of Information and Communication. (2012). The Smoking and Drinking Behaviour Survey 2011. Bangkok: Strategic Information Center.]

วันชัย วัฒนศัพท์. (2556). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจชุมชน. ขอนแก่น. หจก โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา [Vanchai Vatanasapt. (2013). Public Deliberation Manual for Community Decision. Khon Kaen. Klangnana Vittaya Press.]

สุรพล เหลี่ยมสูงเนินและคณะ. (2554). แนวทางการพัฒนาทักษะการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับบุคลากรทีมงานสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตไบลในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุม โรคที่ 5,6และ7(คู่มือพี่เลี้ยง ). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) [Surapol Liemsoongnern, et al. (2011). Improvement Approach of Personnel Health Skills for Subdistrict Administrative Organization’s Health Care Team of Office of Diseases Prevention and Control 5, 6 and 7 (Mentor Guide). Thai Health Promotion Foundation.]

ณัฐพล สงวนทรัพย์. (2554). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อสังคมเชิงเครือข่ายในโครงการรณรงค์เพื่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารนิเทศศาสตร์ 29,(2) [Nuttapon Sanguansub. (2011). Networking social marketing communication strategy in alcohol reduction campaigns of Thai Health Promotion Foundation. Journal of Communication Arts 29,(2)]

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2552).การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์. [Ungsinun Intarakamhang. (2009). Changing Health Behavior. Bangkok: Sukhumvitprinting.]

Argenti, Paul. (1998). Corporate Communication.Boston: Irwin/McGraw Hill.

Argan off.Robert. andMcguire. Michel. (2003) . Collaborative Public Management. Washington: Georgetown University.

Becker,M.(1974).The Health Belief Model and personal health havior.Thorofare,NJ:harles B. Slack

Bovee, L.C. ,& Others. (1993). Management.New York: McGraw-Hill.

Mercado, Cesar. M.(1991). “Development communication management.” The Journal of Development Communication, 12(2), 13-25

Roger EM.( 1995). Diffusion of Innovations (4th Edition). New York, N.Y.: Free press.

Geneva: WHO Press.World Health Organization.(2010). Global status report on alcohol and health2010.Geneva:

Green LW, Kreuter MW.( 1999). Health Promotion Planning: An Educational and Ecological Approach (3rd edition). New York : McGraw-Hill.

white A, Shirley (1994).ParticipatoryCommunication Working for change and development. New Delhi :Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-01