กลยุทธ์การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสื่อความหมายอัตลักษณ์และสโลแกน ชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนตามแนวโอทอปนวัตวิถี: กรณีศึกษาบ้าน คลองโยง ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • สุชาดา แสงดวงดี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, ตราสัญลักษณ์

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ สโลแกนชุมชน และกลยุทธ์การสื่อสารแบบมี ส่วนร่วมท่ีใช้ในการสื่อความหมายอัตลักษณ์และสโลแกนชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนตามแนวโอทอปนวัตวิถี: กรณีศีกษาบ้านคลองโยง ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม วิธีวิจัยที่นำมาใช้ได้แก่ วิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ เช่น ภาพถ่าย รายงานผล การศึกษา บทความวิจัยสารคดี ความเรียงหรือรีวิวต่างๆ ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ตามกรอบวิถีวัฒนธรรม 8 ด้าน ของกระทรวงวัฒนธรรม ได้แก่ อาหาร การแต่งกาย ที่อยู่อาศัย ประเพณี ภาษา อาชีพ ความเชื่อและ ศิลปะพื้นถิ่นการสังเกตการณ์แหล่งท่องเที่ยวชุมชน 16 แห่งเพื่อประเมินความพร้อมและศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว การสัมภาษณ์ ตัวแทนกรรมการบริหาร ผู้ประกอบการและผู้แทนชุมชนที่เกี่ยวข้อง 6 คน และ การจัดเวทีชุมชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องครั้งที่ 1 เพื่อกลั่นกรองและสกัดข้อมูลอัตลักษณ์ชุมชนที่เป็นเสน่ห์เฉพาะ ตัว ให้เหลือเพียง 3 มิติ คือ 1) สถานที่ท่องเที่ยวเด่น 2) กิจกรรมเด่น และ 3) เมนูเด็ด หรือสุดยอดผลิตภัณฑ์ และครั้งที่ 2 เพื่อร่วมกันค้นหาอัตลักษณ์และกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารตราสัญลักษณ์และสโลแกนเพื่อส่ง เสริมการท่องเที่ยวชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพได้แก่ การวิเคราะห์ความสอดคล้องของข้อความ (common theme analysis) ผลการศึกษาพบว่าอัตลักษณ์ชุมชนบ้านคลองโยงได้แก่ มนต์สเน่ห์ของท้องทุ่ง และวิถีเกษตรกรรมทั้งนาข้าวและนาบัว ทำให้สถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรมและเมนูเด็ดพื้นถิ่นเชื่อมโยงกับอัต ลักษณ์ชุมชนอย่างชัดเจน สามารถสะท้อนผ่านตราสัญลักษณ์และข้อความสโลแกนชุมชนด้วย ภาพการ์ตูน มาสคอตควายและสโลแกน “มนต์รักทุ่งคลองโยง” และสามารถนำไปใช้ผ่านนวัตกรรมส่ือเชิงสร้างสรรค์ ต้นแบบทุกประเภทที่พัฒนาขึ้นสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านคลองโยงตามแนวโอทอปนวัตวิถีได้ อย่างมีประสิทธิผล

References

กระทรวงมหาดไทย กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). การขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.[The Ministry of Interior, Department of Community Development, (2018). The Mobilization of OTOP NAWATWITHI Tourism Project. Bangkok: Department of Community Development, The Ministry of Interior.]

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2543). สื่อเพื่อชุมชน: การประมวลองค์ความรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย. [Kanjana Keawthep. (2000). Community Media: a systhesis of body of Knowledge. Bangkok: The Thailand Research Fund.]

ทิพย์วดี โพธิ์สิทธิพันธุ์. (2555). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. FEU Academic Review, 6(2) (ธันวาคม 2555-พฤษภาคม 2556). [Tipwadee Positthipun. (2012-2013). Creative Tourisma for Sustainable Tourism. FEU Academic Review. 6(2) (December, 2012- May, 2013).]

ทิพย์สุดา ปานเกษม และพรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2559). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดน่าน. ประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติประจำปี2559หัวข้อ “นวัตกรรมนิเทศศาสตร์และการจัดการ” คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (1 ก.ค. 2559), (หน้า 156-176). [Tipsuda Pankasem & Pornpun Prajaknate. (2019). Participatory Communication for Promoting Creative Tourism in NAN. Paper Contribute to the National Coference 2016th entitled “The Innovation of Communication Arts and Management” Graduation School of C ommunication Arts and Management Innovation. National Institute Development Administration. (September,1st , 2016) (pp 156-176).]

พวงชมพู ไชยอาลา แสงรุ่งเรืองโรจน์. (2559). การศึกษาอัตลักษณ์และการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านสระบัว. วารสาร มรม.(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(3) (กันยายน-ธันวาคม), 121-138.[ Phuangchomphu Chaiala Sangrung ruengroj. (2016). Identity Study and Meaning Communication for Promoting Tourism in Ban Srabua. Rajabhat Maha Sarakham University Journal Humanities and Social Sciences. 10(3) (September-December), pp. 121-136.]

รัญจวน ประวัติเมือง. (2558). แนวทางการยกระดับภูมิปัญญา อัตลักษณ์ วัฒนธรรมล้านนาสู่การบริหารธุรกิจโรงแรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่ง ประเทศไทย (สสอท.), 21 (1) (พฤษภาคม ), 9-21. [Runjun Prawatmuang. (2015). The Strategies for Local Wisdom, Identity and Lanna Culture for Self – Sufficiency Economy Hotel Business Management. 21(1). (May), pp.10-21.]

วิโรจน์ ศรีหิรัญ. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนท้องถิ่น อำเภอบางคนที จ.สมุทรสงคราม ใน การสื่อสารภาพลักษณ์และตราสินค้าบางคนทีเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์,23(3) (กนั ยายน-ธนั วาคม2562),112-121.[WirojSrihirun.(2019).Participation of People in Local Communities in Bang Kontee District, Samut Songkram Province to Communicate Image and Brand for Developing a Sustainable Tourism. Communication Arts Review Journal. 23(3) (September-December 2019), pp.112-121.]

สุชาดา แสงดวงดี และคณะ. (2562). อัตลักษณ์และกลยุทธ์การสื่อสารตราสัญลักษณ์และสโลแกนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุนชนตามแนวโอทอปนวัตวิถี: กรณีศึกษาบ้านแก่งสะเดาตำบลทุ่งมหาเจริญอำเภอวังน้ำเย็นจังหวัดสระแก้ว. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 6(1) (มกราคม- มิถุนายน), 121-137. เรียกใช้เมื่อ 30 พฤศจิกายน 2562. [Suchada Saengduangdee et al. Identity and Communication strategy of Logo and slogan to promote OTOP Nawatwithi community-based tourism: a case of Ban Kangsadao, Thung Mahajareon Sub-district, Wang Nam Yen District, Sa Kaeo Province. Nakhon Pathom Rajabhat University Journal of Management Science. 6(1) (January-June), pp. 121-137.]

สุรพล มโนวงศ์, เพ็ญศรี จุลกาญจน์, เกษตร แก้ภักดี และสิริกานต์ มีธัญญากร. (ม.ป.ป.). การออกแบบ อัตลักษณ์และการผลิตสื่อสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการประชุมสืบเนื่อง นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12 วิจัยและนวัตกรรมกับ การพัฒนาประเทศ, (หน้า 1883-1891). [Suraphon Manowong, Phensri Chunlakan, Kased Kaewphakdee, and Sirikan Meetanyakorn. Identity and Media Participatory Design For Communication tourism of Tumbon Keudchang Chiang Mai. Naresuan Research National Conference12th Proceeding entitled “Research & Innovation and National Development. (pp.1883-1891).]

อินทิรา พงษ์นาค, และศุภกรณ์ ดิษฐพันธ์. (2558). อัตลักษณ์ชุมชนเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 8(3) (กันยายน-ธันวาคม), 511-523. [Intira Pongnak Suppakorn Disatapunahu. (2015). The Community Identity of the Ancient Town of U-Thong Suphanburi Province. Veridian E-Journal, Slipakorn University (Humanities and Social Science). 8(3) (September-December), pp.511-523]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-01