พฤติกรรมการใช้และการยอมรับนวัตกรรมสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการใช้, การยอมรับ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์และการยอมนวัตกรรมจากการใช้ประโยชน์สื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล (Questionnaire) ใช้วิธีการเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียว (One-Short Descriptive Study) โดยทำการศึกษากลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา สูงสุดในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีรายได้ต่อเดือนอยู่ท่ี 10,001-20,000 บาท และมีอาชีพปัจจุบัน คือ ข้าราชการ/พนักงานรัฐ/ข้าราชการบำนาญ มากที่สุด จำนวน 160 คน คิดเป็นร้อยละ 40.0 ข้อมูลท่ัวไปด้าน พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร พบว่ากลุ่มตัวอย่างนิยมใช้สื่อสังคม ออนไลน์ประเภท Facebook มากที่สุด จำนวน 168 คน คิดเป็นร้อยละ 43.3 ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ สื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มผู้สูงอายุใน กรุงเทพมหานคร พบว่า โปรแกรมสื่อออนไลน์ที่กลุ่มตัวอย่างใช้มาก ที่สุด คือ เฟสบุ๊ค (Facebook) จำนวน 185 คน คิดเป็นร้อยละ 46.3 ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ในการใช้สื่อ สังคมออนไลน์ของกลุ่มผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร พบว่า ประโยชน์ด้านสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้คนได้ อย่างสะดวก ประหยัด เงินและเวลาอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยท่ี 4.16 มีระดับการยอมรับนวัตกรรมสื่อ สังคมออนไลน์ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งานจริงมากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.86 การทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่าง ด้านเพศ ระดับการศึกษาสูงสุด รายได้/เดือน และอาชีพปัจจุบัน มีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกันมีเพียงลักษณะประชากรด้านสถานภาพเท่านั้นที่ไม่แตกต่างกัน 2) ลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่าง ด้านระดับการศึกษาสูงสุด รายได้/เดือน และอาชีพปัจจุบัน มีการยอมรับนวัตกรรมสื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกันมีเพียงด้านเพศและสถานภาพเท่านั้นท่ีไม่แตกต่างกันและ 3) พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครและการยอมรับนวัตกรรมสื่อ สังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์กัน
References
เยาวพา ชูประภาวรรณ. (2547). การยอมรับนวัตกรรมใหม่. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์. [Yaowapa Chuprapawan. (2004). New Innovation Acceptance. Bangkok: Odeanstore.]
วรทัย ราวินิจ. (2558). การยอมรับนวัตกรรมและความเชื่อถือต่อข้อมูลสื่อสารการตลาดในสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 21 (1), กรกฎาคม - ธันวาคม 2560. [Worrathai Rawinit. (2015). Innovation Adoption and Marketing Communication Credibility in Online Social Media of Elder. Journal of Communication Arts Review 21 (1).]
วรรณรัตน์ รัตนวรางค์. (2558). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. [Wannarat Rattanawarang. (2015). The internet usage behavior of elderly for searching health information. Behavioral Science Research Institute Srinakharinwirot University.]
ศิริพร แซ่ลิ้ม. (2558). พฤติกรรมการใช้ไลน์แอพพลิเคชั่นของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาสื่อสารมวลชน), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Siriporn Sae Lim. (2015). LINE application behavior of the elderly in Bangkok. (Master’s Thesis). Thammasat University.]
ศศิพร เหมือนศรีชัย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับ ERP Software ของผู้ใช้งานด้านบัญชี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Sasiporn Mueansrichai. (2012). Factors toward acceptance Enterprise Resource Planning (ERP) Software of Accountant. (Master’s Thesis). Thammasat University.]
สราวุธ ชมบัวทอง. 2547. การเปิดรับและการใช้ประโยชน์สื่อใหม่ของนักศึกษาปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏสวนดุสิต. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Sarawut Chombuathong. (2004). Exposure and uses of new media by graduate students of Rajabhat Institute Suan Dusit. (Master’s Thesis). Thammasat University.]
เว็บไซต์
สื่อสังคมออนไลน์. (2560). เข้าถึงได้จาก https://www.mindmeister.com/952405628/. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม, 2561. [Online Social Media.(2017) Retrieved : https://www.mindmeister.com/952405628/. October 12, 2018.]
สังคมผู้สูงอายุ. (2561)เข้าถึงได้จาก http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/05-01.html. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2561. [Older person society. (2018) Retrieved: http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/05-01.html. November 1, 2018.]
สถิติการลงทะเบียนกรมการปกครอง. (2561) แสดงจำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ.2560.เข้าถึงได้จาก http://www.dop.go.th/th/know/1. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2561, [Department of Older Persons. (2018) Retrieved: http://inter.mua.go.th/. November 1, 2018.]
สำนักงานพัฒนาสังคม.(2561) ข้อมูลชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่ 50 สำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร. เข้าถึงได้จาก http://www.bangkok.go.th/social/page/sub/. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2561. [Social Develop Department. (2018) Retrieved: http://www.bangkok.go.th/social/page/sub/. November 16, 2018.]