ตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศและดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมือง ในระบอบประชาธิปไตยระดับมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • นุดี หนูไพโรจน์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การรู้เท่าทันสื่อ, วัยมัธยมศึกษา, ตัวบ่งชี้, พลเมืองประชาธิปไตย, การรู้เท่าทันสื่อเพื่อความเป็นพลเมือง

บทคัดย่อ

        การวิจัยเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระบอบ ประชาธิปไตย ระดับมัธยมศึกษา (อายุระหว่าง 13 ถึง 18 ปี) มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาตัวบ่งชี้การรู้เท่า ทันสื่อฯ สำหรับเด็กในช่วงวัยมัธยมศึกษา ประกอบด้วยการศึกษาสถานการณ์การใช้สื่อของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อกำหนดสมรรถนะการรู้เท่าทันสื่อฯ เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยด้วยการวิจัย เอกสาร และนำไปสู่การพัฒนาตัวบ่งชี้ในขั้นตอนสุดท้ายจากการสนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมายและผู้เชี่ยวชาญ และนำเสนอผลการพัฒนาตัวบ่งชี้ต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการประเมินโดยผลการสำรวจสถานการณ์การใช้สื่อของกลุ่มเป้าหมายพบว่ามีการใช้สื่อออนไลน์มากที่สุดโดยเฉพาะไลน์และเฟซบุ๊กผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟน มี วัตถุประสงค์เพื่อสนทนาเรื่องทั่วไป เรื่องการเรียน มีการเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม เช่น ความรุนแรง การ พนัน และเนื้อหาลามกอนาจาร ซึ่งกระทำไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น ความบันเทิง ถูกชักชวน และเพราะ เป็นเนื้อหาที่ส่งต่อกันมา นอกจากนี้ยังพบว่ามีการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมด้วยเหตุผลหลักคือเพราะเป็นเนื้อหาที่เป็นไวรัลหรือเป็นเพราะความคึกคะนองและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ นอกจากนี้ยังกลุ่มเป้าหมายยังมี ความคิดเห็นว่าการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมทางสื่อออนไลน์เป็นสิทธิส่วนบุคคล และกระทำไปเพราะต้องการมีชื่อเสียง โอ้อวด เรียกร้องความสนใจ เลียนแบบ ระบายความรู้สึก ต้องการเงิน และขาดความอบอุ่นตาม ลำดับ เมื่อศึกษาโดยพิจารณาพฤติกรรมการใช้สื่อเหล่านี้ตามหลักพัฒนาการตามช่วงวัยพบว่ามีผลกระทบ ต่อพัฒนาการของช่วงวัย ทำให้เกิดการเสียโอกาสในการพัฒนาตนเอง การเสพติดสื่อ และการได้รับผลกระ ทบทางอารมณ์และมีความประพฤติที่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นหรือสังคมโดยรวม ในด้านสมรรถนะการรู้เท่าทัน สื่อฯเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยพบว่าเด็กระดับมธัยมศกึษาควรมสีมรรถนะการ รู้เท่าทันสื่อฯ 4 ด้าน คือ การเข้าถึงสื่อสารสนเทศและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัย การวิเคราะห์อย่าง มีวิจารณญาณและการประเมินค่า การสร้างสรรค์เนื้อหาและข้อมูลสารสนเทศ และการประยุกต์ใช้และ สร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลง ผลที่ได้จากการศึกษาขั้นตอนนี้ นำเข้าสู่การสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี่สำหรับสมรรถนะทั้งสี่ด้านเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเครื่องมือวัดระดับความรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยต่อไป

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2550). เพศศึกษา เรื่องไม่ลับสำหรับวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เพื่อนอักษร. [Kunlaya Tantipalacheewa. (2007). Sex Education: Not a Secret for Teens. Bangkok: Puen Aksorn.]

บุหงา ชัยสุวรรณ และพรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2558). “พฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ของวัยรุ่นอายุระหว่าง 10-19 ปี.” วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า. 1(1), น. 31-57. [Bu-nga Chaisuwan & Pornpun Prajaknate. (2015). “New Media Usage Behavior of Teenagers aged 10-19 years old.” Journal of Communication and Management NIDA. 1(1), PP.31-57.]

จุฑามาศ แหนจอน. (2558). “สมองกับอารมณ์: มหัศจรรย์ความเชื่อมโยง.” วารสารราชพฤกษ์. 13(3). น. 9–19. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. [Juthamas Haenjohn. (2015). “Brain & Emotions: A Miracle Connection.” Ratchaphruek Journal. 13(3). PP. 9-19]

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2538). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม: การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. [Duangduen Bhanthumnavin. (1995). Ethical tree theory: research and development. Bangkok: National Institute of Development Administration.]

ธนกฤต ดีพลภักดิ์. (2558). “การเปิดรับสื่อ พฤติกรรม และผลกระทบจากการเล่นเกมออนไลน์ประเภท MMORPG (Massively Multiplayer Online Role Playing Game) ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร.”วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(ฉบับพิเศษ),น.63-75.[ThanakridDeepolpak. (2015). “Exposure Behavior and the Impact of Online Gaming Genre MMORPG (Massively Multiplayer Online Role-Playing Game) among High School Students in Bangkok.” Panyapiwat Journal. 5 (special edition), PP.63-75.]

นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์. (2558). วัยรุ่นใช้สื่อออนไลน์อย่างไรในการหาคู่. ความหลากหลายทาง ประชากรและสังคมในประเทศไทยณปี2558.กรุงเทพฯ:สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล. [Niphon Darawuttimaprakorn. (2015). How Teens Use Social Media to Find Sexual Partners. Bangkok: Institute for Population and Social Research, Mahidol University]

ภัทริกา วงศ์อนันต์นนท์. (2557). “พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและเยาวชน.” วารสารพยาบาลทหาร บก. 15(2). น.173-178. [Pattariga Wonganantnont. (2014). “Excessive Internet Usage Behavioral in Adolescents.” Journal of The Royal Thai Army Nurses. 15(2). PP.173-178.]

ภาณุวัฒน์ กองราช. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. Unpublished. [Kongrach, Panuwat. (2011). Study of Teenagers’ Behaviors in Using Social Networking Sites (SNSs) in Thailand: A Case Study of Facebook. Master’s thesis, Faculty of Technology Management, Graduate School, Thammasat University.]

สุชา จันทร์เอม. (2542). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช. [Sucha Chan-ame. (1999). Adolescent Psychology. Bangkok: Thai Watana Panich Publishing.]

เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร. (2559). “พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี.” วารสารสุทธิปริทัศน์ 30(93). น.116-130. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. นนทบุรี. [Saowaphark Lampetch. (2016). “Behavior and Impact of Using Social Network of Secondary School Students in Nonthaburi Province.” Suthiparithat Journal 30(93). PP.116-130. Dhurakij Pundit University. Nonthaburi.]

อมร โต๊ะทอง. (2555). พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. [Amorn Tothong. (2012). Internet Usage Behaviors and The Impact of Using Internet Via Mobile Phones Among Youths in Bangkok. Master of Science thesis, Graduage School, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.]

Bandura, A. (1977). Social learning theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Goleman, D. (1998). Working with Emotional Intelligence. Bloomsbury Publishing, London.

Hobbs, R. (2010). “Digital and Media Literacy: A Plan of Action.” Journal of Adolescent & Adult Literacy, 52(6), 471-481.

Nupairoj, N. (2015). “Media Literacy Needs Assessment for Thai Generation Y.” Dhurakij Pundit Communication Arts Journal. 9(2), pp.147-179.

Nupairoj, N. (2016). The Ecosystem of Media Literacy: A Holistic Approach to Media Education. Communicar, 24(49), 29-37. DOI: https://doi.org/10.3916/C49-2016-03

Przybylskia, A. K., Murayama, K., DeHaan, C. R., & Gladwell, V. (2013). Motivational, emotional, and behavioral correlates of fear of missing out. Computers in Human Behavior, 29(4), 1841-1848.doi: https://doi.org/10.1016/j.chb.2013.02.014

UNESCO. (2013). Global Media and Information Literacy Assessment Framework: Country Readiness and Competencies. Paris: United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO).

เว็บไซต์

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2558). เอกสารหลักการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชน. สืบค้นจาก http://dcy.go.th/webnew/main/ [Department of Children and Youth. (2015). Main Document: Children and The Youth’s Social Media Literacy. Retrieved from http://dcy.go.th/webnew/main/]

นิด้าโพล. (2560). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต. กรงุเทพฯ: สถาบันบันฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สืบค้น เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 จาก http://nidapoll.nida.ac.th/index.php?op=polls-detail&id=318 [Nida Poll. (2017). Internet Usage Amongst Thais. Bangkok: National Institute of Development Administration. Retrieved May 23, 2018 from http://nidapoll.nida.ac.th/index.php?op=polls- detail&id=318]

ปณชัย อารีเพิ่มพร. (2561). สรุปข้อมูลโซเชียลมีเดียไทยปี 2017 วัยรุ่นหนีพ่อแม่มาเล่นทวิตเตอร์ มากขึ้น เฟซบุ๊กแตะ 49 ล้านราย อันดับ 8 โลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2561 จาก https://thestandard.co/thailand-social-media-statistics-2017/ [Panachai Aripermporn. (2018). Summary of Social Media Usage in Thailand 2017: Teens Migrate to Twitter to Avoid Parents, Facebook Hit 49 million Users Rank World No. 8. Retrieved May 10, 2018 from https://thestandard.co/thailand-social-media-statistics-2017/]

ประกายดาว แบ่งสันเทียะ. (2557). ส่องคนเสพสื่อปี’ 57 ยุคสารพัดแพลตฟอร์ม. หนังสือพิมพ์กรุงเทพ ธุรกิจออนไลน์ ฉบับวันที่ 13 มกราคม 2557. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/555156. [Prakaidao Bengsantia. (2014). Media Consumption 2014: The Age of Multiplatform. Bangkok Bisnews, January 13, 2557. Retrieved from https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/555156]

สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม. (2556). “ถูกรังแกออนไลน์”ภัยไซเบอร์ของเด็กที่ครอบครัวต้องจับตา.”สืบค้นเมื่อวันที่20กันยายน2560จาก https://www.m-culture.go.th/surveillance/ewt_news.php?nid=832&filename=index [Culture Surveillance Bureau. (2013). “Cyberbullying, Children’s Harm from Cyber that Family Should Monitor.” Retrieved September 20, 2017 from https://www.m-culture.go.th/surveillance/ewt_news.php?nid=832&filename=index]

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). เอกสารการแถลงผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2560. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2017-slide.html [Electronic Transactions Development Agency. (2017). Thailand Internet User Profile 2017. Retrieved from https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2017-slide.html]

สุริยเดว ทรีปาตี. (ป.ป.ด.). พัฒนาการและการปรับตัวในวัยรุ่น. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและ ครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://bit.ly/2WQvBa5 [Suriyadeo Tripathi. (n.d.). Adolescents Development and Adjustment. National Institute Development of Children and Families. Retrieved February 23, 2018 from https://bit.ly/2WQvBa5]

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ฉบับวันที่ 21 สิงหาคม 2556, ไทยใช้ ‘สมาร์ทโฟน-แท็บเล็ต’ พุ่ง 3 เท่า. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 จาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130821/524515. [Bangkok Bisnews August 21, 2013. “Thais’ Smartphones-Tablet Usage Sees Tripple Increase.” Retrieved May 23, 2018 from http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130821/524515]

หนังสือพิมพ์หอข่าว หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ. (2560). พฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโซเชียลมีเดียของ เด็ก. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561 เว็บไซต์ https://drmana.wordpress.com/2017/02/09 [Hor Khao, Student Newspaper. (2017). Social Media Cyberbullying Among Children. Bangkok: School of Communication Arts, University of the Thai Chamber of Commerce. Retrieved January 20, 2018 from https://drmana.wordpress.com/2017/02/09]

Westheimer, J. & Kahne, J. (2004). “What Kind of Citizen? The Politics of Educating for Democracy. “ American Educational Research Journal. 41(2). pp. 237–269.

อนงค์นาฏ รัศมีเวียงชัย และ กิติมา สุรสนธิ. (2556). การรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ในโรงเรียนชุมชนประชาธิปัตย์วิทยาคาร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2560 จาก https://goo.gl/JrSRc9 [Anongnat Rusmeeviengchai. (2013). Media Literacy Among High School Students in Chumchon Prachathipat Wittayakhan School. Thammasat University. Retrieved September 20, 2013 from https://goo.gl/JrSRc9]

piyawan-on. (7 มิถุนายน 2556). พบเด็กไทย 1 วันอยู่กับมือถือมากขึ้นร้อยละ 40. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สืบค้นจาก https://goo.gl/j559KI [piyawan-on. (June 7, 2013). Thai Children Found Spend 40 Percent more Time On Mobile Phone. Thai Health Promotion Foundation. Retrieved from https://goo.gl/j559KI]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01